คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศิริราช QUALITY OF LIFE IN WORKPLACE OF REGISTERED NURSES AT SIRIRAJ HOSPITAL

ผู้แต่ง

  • ธิดารัตน์ ศรีกันทา
  • ภูษิตา อินทรประสงค์
  • สุขุม เจียมตน

คำสำคัญ:

พยาบาลวิชาชีพ, คุณภาพชีวิตการทำงาน, ความพึงพอใจในการทำงาน, ความเหนื่อยหน่าย, REGISTERED NURSES, QUALITY OF LIFE IN WORKPLACE, JOB SATISFACTION, BURN-OUT

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และความเหนื่อยหน่าย และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการปฎิบัติงาน และความเหนื่อยหน่ายที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศิริราช โดยใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพที่ทำงานในโรงพยาบาลศิริราชอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 240 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าแฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

     ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลโรงพยาบาลศิริราช ภาพรวมคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนภาพรวมความพึงพอใจในการทำงานอยู่ในระดับต่ำ ภาพรวมความเหนื่อยหน่ายอยู่ในระดับสูง และความพึงพอในการทำงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศิริราช (r = 0.203, p-value = 0.002) ส่วนความเหนื่อยหน่ายมีความสัมพันธ์เชิงลบกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศิริราช (r = - 0.507, p-value = 0.000)

     จากผลการวิจัย ผู้บริหารทางการพยาบาลของโรงพยาบาลศิริราชควรกำหนดนโยบายเพื่อเพิ่มระดับความพึงพอใจในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศิริราชให้เหมาะสมกับภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบ และกำหนดบทบาทหน้าที่และขอบเขตในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพแต่ละตำแหน่งให้ชัดเจน  กำหนดนโยบายสำรวจสภาพแวล้อมในที่ทำงานให้น่าอยู่และมีความปลอดภัยเป็นประจำทุกปี ส่งเสริมให้พยาบาลศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ส่งผลให้พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศิริราชมีคุณภาพชีวิตการทำงานสูงขึ้น

ABSTRACT

     This research aimed to describe and determine the relationship of job satisfaction, level of burn-out, and quality of life in work place of registered nurses at Siriraj Hospital.  Two hundred and forty registered nurses worked at lesst 1 year at Siriraj Hospital responded to questionnaires .  Descriptive statistics (e.g., frequency, percentage, mean, and standard deviation) and inferential statistics (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) were used to analyze data.  The results revealed that registered nurses’ quality of life in work place at Siriraj Hospital was moderate.  In addition, Their level of job satisfaction was low with a high level of burn-out.  Quality of life was positively related to job satisfaction in workplace (r=0.203, p-value -0.002) but negatively related to level of burn-out (r=0.-507, p-value -0.000)

      The findings of this research study suggested that administers getting involved might need to design clear policies regarding appropriate compensation specific to nurses at different positions and a survey of the safety environment in order to help increase job satisfaction and the quality of life in workplace for nurses.                        

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-01-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย