การวิเคราะห์องค์ประกอบของความสมดุลชีวิตและการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ลักขณา ศิรถิรกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จารุวรรณ สนองญาติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เนติยา แจ่มทิม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ดารินทร์ พนาสันต์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบ, ความสมดุลชีวิตและการทำงาน , พยาบาล

บทคัดย่อ

บทนำ: ความสมดุลชีวิตและการทำงานมีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของพยาบาล การเข้าใจองค์ประกอบของความสมดุลชีวิตและการทำงานจะทำให้สามารถช่วยส่งเสริมการจัดการความสมดุลสำหรับพยาบาลได้ดีขึ้น

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของความสมดุลชีวิตและการทำงานของพยาบาล โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ

ระเบียบวิธีวิจัย: กลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จำนวน 330 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามความสมดุลชีวิตและการทำงานของพยาบาล ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .94 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .96  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สกัดองค์ประกอบ การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม เทคนิคย่อยวิธีแกนหลักและหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉากด้วยวิธีแวริแมกซ์

ผลการวิจัย: พบว่า องค์ประกอบความสมดุลชีวิตและการทำงานของพยาบาล ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านความขัดแย้งในบทบาทระหว่างงานและนอกเหนือจากงาน 13 ตัวแปร อธิบายได้ 19.22% 2) ด้านการสนับสนุนจากครอบครัว 5 ตัวแปร อธิบายได้ 9.16% 3) ด้านการสนับสนุนจากหัวหน้างาน 5 ตัวแปร อธิบายได้ 9.14% 4) ด้านการมีเวลาเพียงพอ 5 ตัวแปร อธิบายได้ 8.87% 5) ด้านการมีส่วนร่วมของครอบครัว 4 ตัวแปร อธิบายได้ 6.95% 6) ด้านการมีส่วนร่วมในการทำงาน 3 ตัวแปร อธิบายได้ 5.63% และองค์ประกอบที่ 7 ด้านความพึงพอใจในชีวิตและการทำงาน 3 ตัวแปร อธิบายได้ 5.46% องค์ประกอบทั้ง 7 ด้าน สามารถอธิบายความสมดุลชีวิตและการทำงานของพยาบาล ได้ 64.46%

สรุปผล: การศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมความสมดุลชีวิตและการทำงานของพยาบาลอันส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของพยาบาล

ข้อเสนอแนะ: ผลจากศึกษาองค์ประกอบความสมดุลชีวิตและการทำงานของพยาบาลที่ได้จากงานวิจัยนี้ เป็นข้อมูลให้กับผู้บริหารทางการพยาบาลวางแผนนโยบายและสร้างแนวทางการส่งเสริมความสมดุลชีวิตและการทำงาน เพื่อพยาบาลมีความสมดุลชีวิตและการทำงานที่ดีตรงกับความต้องการของพยาบาลต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

Poulose S, Sudarsan N. Work life balance: A conceptual review. International journal of advances in management and economics 2014;3(2):1-17. Available from: https://www.managementjournal.info/index.php/IJAME/article/view/324 (in Thai)

Clark SC. Work/family border theory: A new theory of work/family balance. Human Relations 2000;53(6):747-70. Available from: https://doi.org/10.1177/0018726700536001

Rattikarnsuka J, Oumtanee A. Nursing management of head nurses receiving the outstanding award. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2014;15(2):179-86. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/25176/21436 (in Thai)

Pukuang T, Pensirinapa N, Geerapong P. Organizational climate, burnout and retention of professional nurses in a private hospital chain in Bangkok. The Journal of Boromarjonani College of Nursing Suphanburi 2022;5(2):79-91. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/260539/177952 (in Thai)

Kaewtawee A, Oumtanee A. Relationships between work-life balance, safety climate and organizational commitment of professional nurses, private hospitals, southern region. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2014;15(3):313-320. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/30706/26522 (in Thai)

Greenhaus J H, Collins K M, Shaw J D. The relation between work-family balance and quality of life. Journal of Vocational Behaviour 2003;63(3):510-531. Available from: https://doi.org/10.1016/S0001-8791(02)00042-8

Siratirakul L, Sanongyard J. Work-life balance experience of professional nurses at the tertiary care hospital. The Journal of Boromarjonani College of Nursing Suphanburi 2022;5(2):79-91. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/259075/176019 (in Thai)

Clark S C. Work cultures and work/family balance. Journal of Vocational Behaviour 2001;58(3):348-365. Available from: https://doi.org/10.1006/jvbe.2000.1759

Strategy and Planning Division, Permanent Secretary Offices, Ministry of Public Health. Public health resource concerning the public health in the year 2023. Available from: http://spd.moph.go.th. (2023, April. 10).

Comrey A L, Lee H B. A first course in factor analysis. 2nd ed. Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associated; 1992.

Comrey A L. First course in factor analysis. New York: Academic Press; 1973.

Angsuchoti S, Wijitwanna S, Pinyopanuwat R. Statistical analysis for social and behavioral science research: Techniques for using LISREL software. Bangkok: Charoen Dee Mungkong Printing; 2009. (in Thai)

Kaiyawan Y. Multivariate statistical analysis for research. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2013. (in Thai)

Ahmad A. Job, family and individual factors as predictors of work-family conflict. The Journal of Human Resource and Adult Learning 2008;4(1):57-65. Available from: https://url.in.th/mmUzk

Ketpratum P, Abhicharttibutra K, Chitpakdee B. Work-family conflict of nurses in thoen hospital, Lampang province. Nursing Journal 2020;47(4):408-18. Available from: https://url.in.th/Nihom (in Thai)

Holumyong C, Kittisuksatit S, Kanlek M. Work, family, and society: A work-life balance that involves more than just time management of workers in the Industrial production sector. Kasetsart Engineering Journal 2017;19(2): 87-102. Available from: https://url.in.th/NUGLG (in Thai)

Saengrotkittikhun W, Choochom O. Personal and social environmental factors related to school work-life balance of graduate students in bangkok. Warasan Phuettikammasat 2021;27(2):63-77. Available from: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/249132/169411 (in Thai)

Pitaksa P, Sirichotiratana N, Kittipichai W, Duangbubpha S. Nursing professional’s work-life balance in an Autonomous University Hospital. Public Health Policy & Laws Journal 2020;6(Supplement):83-94. Available from: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/journal_law/article/view/243237 (in Thai)

Singlaw T. Work life balanceof provincial waterworks authority region 3’s employee. [master’s thesis]. Silpakorn University; 2020. (in Thai)

Khunkamut J. The antecedents and consequences of work life balance of information technology generation Y employees in private company in Bangkok. [master’s thesis]. Bangkok: Silpakorn University; 2022. (in Thai)

Dex S, Bond S. Measuring work-life balance and its covariates. Work, Employment and Society 2005;19(3):627-637. doi: 10.1177/0950017005055676

Hyman J, Summers J. Lacking balance? Work-life employment practices in the modern economy. Personnel Review 2004;33(4):418-429. Available from: https://doi.org/10.1108/00483480410539498

Kaewkiattikun K. Work-family interaction of registered nurses. Thai Human Resource Research Journal 2009;4(1):13-31. Available from: http://www.journalhri.com/pdf/0401_02.PDF (in Thai)

Pianthong K, Sarakan K, Aksornwong R. A factor analysis of work life balance of psychiatric nurses. The Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health 2017;31(2):109-119. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/105157/83596 (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-21