ผลของการใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชันภาษาม้ง เรื่อง โรคไข้หวัดใหญ่ในเด็ก ต่อความรู้ของผู้ปกครองที่ดูแลเด็กชนเผ่าม้งที่อายุต่ำกว่า 5 ปี โรคไข้หวัดใหญ่ โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • อาภัสรา หอมนาน โรงพยาบาลเชียงคำ
  • วิสิฏฐ์ศรี เพ็งนุ่ม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โรคไข้หวัดใหญ่ในเด็ก , สื่อการ์ตูนแอนิเมชัน, ผู้ปกครองเด็กชนเผ่าม้ง

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อของระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน ที่พบมากในกลุ่มชนเผ่าม้ง อายุ 0 - 5 ปี การเตรียมผู้ปกครองที่มีข้อจำกัดในการสื่อสารภาษาไทยให้มีความรู้ และความพร้อมในการดูแลเด็กจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนความรู้ของผู้ปกครองเด็กชนเผ่าม้ง ที่ดูแลเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี และป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ ก่อนและหลังใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชัน และ 2) ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองหลังใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชัน

ระเบียบวิธีวิจัย: วิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชัน (ภาษาม้ง) เรื่อง โรคไข้หวัดใหญ่ในเด็ก และศึกษาความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองเด็กชนเผ่าม้ง จำนวน 25 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) สื่อการ์ตูนแอนิเมชันภาษาม้ง เรื่อง โรคไข้หวัดใหญ่ในเด็ก 2) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชันภาษาม้ง และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t - test

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ในเด็กหลังใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชัน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t - 7.129(24), p < .001) และความพึงพอใจในสื่อการ์ตูนแอนิเมชัน อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.51, SD = .68)

สรุปผล: สื่อการ์ตูนแอนิเมชันภาษาม้ง สามารถเพิ่มความรู้แก่กลุ่มตัวอย่างได้

ข้อเสนอแนะ: ควรนำสื่อการ์ตูนแอนิเมชันไปใช้ในการให้ความรู้กับผู้ปกครองชนเผ่าม้ง เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถป้องกันการเกิดโรค ลดอัตราการป่วย และภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากโรคไข้หวัดใหญ่ในเด็กได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization. Influenza (seasonal) [Internet]. 2022 [cited 2023 Sep 1]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/influenza-(seasonal)

Department of disease control. Report on the Influenza situation in Thailand 2021-2023 [Internet]. 2023 [cited 2023 Sep 1]. Available from: https://ddc.moph.go.th/doe/pagecontent.php?page=607&dept=doe (in Thai)

Chiang Kham hospital information center. Report on statistics on Influenza patient data from 2017-2022. Chiang Kham hospital information center, Phayao province; 2022. (in Thai)

Chiang Kham hospital information center. Report on statistics on Influenza patient data from 2017-2022. Chiang Kham hospital information center, Phayao province; 2023. (in Thai)

Punthmatharith B, Kongsang L, Kongpet J, Khamchan P, Prateepchaikul L, Pulpraphai P. Predictive factors of preventive and control communicable diseases behaviors among guardians at home. Songklanagarind Journal of Nursing 2019;39(2):23-36. (in Thai)

Jantana P. Factors related to behavior promoting prevention of Influenza infection among parents of children receiving admitted at Koh Samui hospital. Academic Research and Innovation 2024;1(1):1-15. (in Thai)

Knapp P, Benhebil N, Evans E, Moe-Byrne T. The effectiveness of video animations in the education of healthcare practitioners and student practitioners: A systematic review of trials. Perspectives on Medical Education 2022;11(6):309-315. doi: 10.1007/s40037-022-00736-6.

Tirakoat S, Hiruncharoenvate C. Factors affecting the use of animation in students’ learning. The Journal of Social Communication Innovation 2018;6(2):32-39. (in Thai)

Soonthorn S, Sutthisai W, Simmonds P, Saiyaros R, Noichareon P. Concepts and paradigm in sample size with G*Power. Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies 2019;8(2):29-39 (in Thai)

Rangsitsethian K. Knowledge for the public: Influenza and Influenza vaccines. [Internet]. [cited 2023 Sep 1]. Available from: https://pidst.or.th/A709.html (in Thai)

Bloom, B.S. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York:McGraw-Hill;1971.

Prabmeechai S, Rueangworaboon S. The effect of animation media on knowledge and self-care behavior of school-age children with Thalassemia. Nursing Journal of the Ministry of Publish Health 2017;27(2):96-109. (in Thai)

Centers for Disease Control and Prevention. What is health literacy? 2023. [Internet]. [cited 2023 Sep 1]. Available from: https://www.cdc.gov/healthliteracy/learn/index.html

Manotham M. Knowledge and behaviors for healthcare of Akha Ethnic group in Mae Suai district, Chiang Rai province, Thailand. The Public Health Journal of Burapha University 2019;14(1):69-80. (in Thai)

Prapakorn Y, Chintanawat R, Tamdee D. Health literacy and health promoting behaviors among Karen older persons. Nursing Journal CMU 2021;48(1):67-79. (in Thai)

Wiriyanupappong W, Watcharasit R, Wannaphak T, Suttirungrueang N. The effect of animated learning media on nursing for pediatric patients with ventricular septal defect of 3rd years air force student nurse academic year 2023. Journal of Environmental and Community Health 2023;8(3):779-86. (in Thai)

Maiprasert D, Muangmai A. Development of two dimension animation for acute myocardial infarction. Journal of Applied Information Technology 2020;6(1):99-109. (in Thai)

Ruxyingcharoen K, Somkong A, Supanam S. Effects of using the ABCs concept video teaching in caring for patients with increased intracranial pressure on self-confidence in nursing practice for brain injury and satisfaction of nursing student St Theresa international college. Journal of Health and Nursing Research 2023;39(3):161-71. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26