ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรัง ของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ในชุมชนเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ สุวรรณวงษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวินเทิร์ส บุรีรัมย์
  • จิตรประภา รุ่งเรือง คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ตฤน ทิพย์สุทธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

ปัจจัยนำ, ปัจจัยเอื้อ , ปัจจัยเสริม , พฤติกรรมการป้องกันโรค , ชุมชนเขตอำเภอเมือง

บทคัดย่อ

บทนำ: ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมมีความสำคัญในการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคเรื้อรัง

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมที่สามารถใช่ในการป้องกันโรคเรื้อรังในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ในชุมชนเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์  

ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ในชุมชนเขตอำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 422 คน โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย: ปัจจัยนำและปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรังทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านปัจจัยนำ เพศ มีความสัมพันธ์เชิงลบต่ำ (r = -.043 , p < .05 ) ขณะที่ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวก (r = .84, p < .05) และระดับความเครียด มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่ำ (r = .075, p < .05) กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรัง เช่นเดียวกับปัจจัยเสริมในการดูแลสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงบวก (r = .30, p < .05) กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรัง ในด้านปัจจัยเอื้อ รายได้มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(r = .049, p < .05) กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรัง

สรุปผล: ระดับการป้องกันโรคเรื้อรังของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยนำ ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา และความเครียด ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ รายได้ และปัจจัยเสริม คือ การดูแลสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรังของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ในชุมชนเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ข้อเสนอแนะ: พยาบาลสามารถใช้ข้อมูลในการศึกษานี้เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันโรคเรื้อรังด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

Downloads

Download data is not yet available.

References

Strategy and Planning Division. Public health statistics A.D. 2019. Bangkok: Ministry of Public Health; 2019. Available from: https://dmsic.moph.go.th/index/detail/8297 (in Thai)

Royal Gazette. Announcement of the Cabinet Secretariat regarding the organization of information systems of the Cabinet Secretariat 2022. Bangkok: Cabinet Secretariat; 2022. Available from: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/201/T_0044.PDF (in Thai)

Iamsa-ad W, Waewwab P. Factors related to preventive behaviors in Aedes mosquito-borne diseases among population aged over 15 years in Rayong province. Dis Control Journal 2022;48(2):263-77. (in Thai)

Mongkolmoo S, Toonsiri C, Homsin P. Factors related to health literacy for Hypertension prevention among high-risk individuals in Nadee district, Prachinburi province. Thai Pharmceutical and Health Science Journal 2022;17(2):168-75. (in Thai)

Khanaroek S, Chanpet U. Health behavior of the working age population aged 15-59 in health regional 5 area. Chophayom Journal 2019;30(1):153-64. (in Thai)

Thongmak B. Health literacy and health behavior according to the national health recommendations in grade 8 student at school in Samut Sakhon province. Journal of Health Research and Development Nakhon Ratchasima Public Health Provincial Office 2022;7(2):50-61. (in Thai)

Sasang U, Krongyuth S, Chananin Y. Factors associated with self-care behaviors of patients with non-communicable diseases. Journal of Nursing and Education 2022;14(4):45-58. (in Thai)

Green LW, Kreuter MW. Health program planning: An educational and ecological approach. 4th ed. New York: Emily Barrosse; 2005.

Ministry of Labor, fiscal year 2023, Buriram province. General knowledge about medicine. Buriram: Buriram Provincial Labor Office; 2023. Available from: http://buriram.go.th/labour/doc/labour-3-66.pdf (in Thai)

McKee G, Codd M, Dempsey O, Gallagher P, Comiskey C. Describing the implementation of an innovative intervention and evaluating its effectiveness in increasing research capacity of advanced clinical nurses: using the consolidated framework for implementation research. BMC Nurse. 2017;16-21.

Department of Mental Health, Ministry of Public Health. Stress assessment form, department of Mental Health STSP 20. 2007. Available from: https://dmh.go.th/test/ (in Thai)

Best JW. Research in education. New Delhi: Prentice Hall; 1981. Available from: https://url.in.th/zwklO

Getchinda N, Junprasert S, Rattanagreethakul S. Factors predicting preventive behavior for chronic illness among middle-aged persons. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University 2018;26(4).30-9. (in Thai)

Bandura A. Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall; 1986.

Korissaranuphab N, Samrannet W, Arsa P. Factors related to self protective behaviors for Coronavirus disease 2019 infection among type 2 Diabetic patients. Journal of Sakon Nakhon Hospital 2022;25(1):43-55. (in Thai)

Layanan P, Pusapukdepop J, Khemthong A. Factors related to Hypertension preventive behaviors according to 3E.2S. of the risk group in a Sub-District Kabinburi district Prachinburi province. The Public Health Journal of Burapha University 2023;18(2):45-59. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26