ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของสามีในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัย เป็นความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร จันดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ณัฐธิดา ปัญญาธนคุณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • พัชราภรณ์ อนุพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ศิรินภา แก้วพวง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

หญิงตั้งครรภ์ , ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ , การมีส่วนร่วมในการดูแลของสามี

บทคัดย่อ

บทนํา: ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์เป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ที่พบได้บ่อย ส่งผลเพิ่มอัตราทุพพลภาพ และการเสียชีวิตของมารดาและทารกในครรภ์

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของสามี และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของสามี ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง สามีของหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 85 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 5 แบบสอบถาม และ 1 แบบทดสอบ ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของสามี 3) แบบสอบถามทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ 4) แบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส 5) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถ และ 6) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคในส่วนแบบสอบถามที่ 2 - 5 เท่ากับ .95, .73, .87 และ .94 ตามลำดับ ส่วนแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ใช้วิธีการหาค่าความเชื่อมั่นแบบคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 (KR - 20) เท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในการดูแลร้อยละ 100 จำแนกเป็นมีส่วนร่วมในการดูแลระดับปานกลาง ร้อยละ 23.50 และระดับสูง ร้อยละ 76.50 ส่วนผลการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า ทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ (ß = .527, p < .001) มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการดูแล โดยสามารถทำนายการมีส่วนร่วมของสามีในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 27.80 (R2 = .278, p < .001)

สรุปผล: การมีส่วนร่วมของสามีในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ อยู่ในระดับปานกลางถึงสูง และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมคือทัศนคติต่อการตั้งครรภ์

ข้อเสนอแนะ: ควรพัฒนาโปรแกรมทางการพยาบาลที่ช่วยกระตุ้น และส่งเสริมทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ เพื่อให้สามีมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์มากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Spong CY, Dashe JS, Hoffman BL, et al. Williams Obstetrics (24nded). New York: McGraw-Hill; 2014.

Maternal Child Health, Department of Health, Ministry of Public Health. Public health statistics Maternal mortality ratio 2023. (in Thai)

Sysavath S, Rujiraprasert N. Risk factors for hypertensive disorders in pregnancy in Lao people’s democratic republic. Journal of Nursing Science & Health 2020;43(2),45-54. (in Thai)

Salam S, Elawam N. Risk factors of early and late onset preeclampsia. Journal of Dental and Medical Research 2023;7(2):167-70.

Chantanamongkol K. Nursing care for women pregnancy with diseases. Bangkok: Sun Packaging; 2017. (in Thai)

Nuansiri D. Effect of the development of a model of care for pregnant women with induce hypertension from the antenatal period to the postpartum period in Chom Thong hospital.Lanna Journal of Health Promotion & Environmental Health 2020;9(1):1-15. (in Thai)

Sansiriphun N, Baosuang C, Klunklin A, Kantaruksa K, Liamtrirat, S. Experience of first time father during labor and delivery period. Nursing Journal 2014;41:143-57. (in Thai)

Spanier GB. Measuring dyadic adjustment: New scales for assessing the quality of marriage and similar dyads. Journal of Marriage and the Family 1976;38(1):15-28.

Logsdon MC, Davis DW. Social and professional support for pregnant and parenting women. American Journal of Maternal and Child Nursing 2003;28(6):371-6.

Maitrijit D, Seang-in S, Siriarunrat S. Relationships between health care behaviors, anxiety, social support and quality of life among pregnant women with pregnancy induced hypertension. Chulalongkorn Medical Bulletin 2020;2(1):39-47. (in Thai)

Lamb ME. Paternal Involvement (4thed). New York: John Wiley and Sons; 2004.

Cohen J. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.

Seangjinda K, Siriarunrat S, Tachasuksri T. Factors related to maternal tasks of unplanned adolescent pregnant women. Journal of Nursing Siam University 2017; 18(34):6-20. (in Thai)

Privijarn J, Tachaboonsermsak P, Nanthamongkolchai S, Chamroonsawasdi K. Factors influencing happiness among primigravidae who attend antenatal care at the health promotion center. Journal of Public Health 2010;4(2):182-93. (in Thai)

Srisatidnarakul B. The Methodology in Nursing Research. Bangkok: Faculty of Nursing, Chulalongkorn University;2001. (in Thai)

Tohpa H, Pakdee S, Chunuan S. Survey of husband participation in caring for pregnant muslim teenagers. Academic Services Journal, Prince of Songkla University 2018;29(1):125-32. (in Thai)

Nuntapong P, Sansiriphun N, Baosoung Ch. Factors related to father Involvement among first time expectant fathers. Nursing Journal 2017;44(1):96-106. (in Thai)

Tuntipivattanasakun P, Seetalapinan A. Guide to create happiness at the provincial level. Bangkok: Creativeguru; 2011. (in Thai)

Phumonsakul S, Pongrua P, Wattanapaisi K. Factors predicting family well-being of women with pregnancy-Induced hypertension. Ramathibodi Nursing Journal 2011;17(3):382-95. (in Thai)

Schachman KA, Lee RK, Lederman RP. Baby boot camp: Facilitating maternal role adaptation among military wives. Nursing Research 2004;53(2):107-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-22