ผลของการใช้รูปแบบการบูรณาการทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ต่อศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ชนิดาภา ขอสุขวรกุล วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
  • ทัตติยา นครไชย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • พุทธิพร พิธานธนานุกูล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • จาริณฒา ศุภวัชระสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ศักยภาพ, คุณภาพชีวิต, ทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคม, ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทนำ: ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพและมีศักยภาพในการดูแลตนเองต่ำจะมีความต้องการพึ่งพิงสูง หากได้รับการดูแลด้วยรูปแบบที่ดี จะช่วยส่งเสริมให้มีศักยภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าและลดภาระของสังคม

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และศึกษาผลของรูปแบบต่อศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 พัฒนารูปแบบการบูรณาการทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการวิจัยเชิงคุณภาพและพัฒนา และระยะที่ 2 ศึกษาผลของรูปแบบ โดยการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในตำบลโพธิ์ จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการบูรณาการทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพชีวิตและศักยภาพของผู้สูงอายุ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .91 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired sample t-test และ MANOVA

ผลการวิจัย: รูปแบบการบูรณาการทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2) แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนา 3) หลักการส่งเสริมศักยภาพและคุณภาพชีวิต 4) กระบวนการส่งเสริมศักยภาพและคุณภาพชีวิต และ 5) ผลลัพธ์ของรูปแบบผลการใช้รูปแบบพบว่าผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีศักยภาพและคุณภาพชีวิตสูงกว่าก่อนการทดลอง (M = 89.07, SD = 6.35 และ M = 106.30, SD = 11.21) ตามลำดับ และสูงกว่ากลุ่มควบคุม (M = 106.30, SD = 11.21) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)  

สรุปผล: รูปแบบการบูรณาการทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นมีผลทำให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพและคุณภาพชีวิตสูงขึ้น

ข้อเสนอแนะ: นำรูปแบบการบูรณาการทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นไปขยายผลในชุมชนอื่น ๆ

References

Department of health. Bureau of Elderly Health annual report 2020. Bangkok: Bureau of Elderly Health; 2020. (in Thai)

Ratana-Ubol A. Proposal for operational improvement regarding senior citizen’s potential enhancement. Silpakorn Educational Research Journal 2019;11(1):26-46. (in Thai)

United Nation (UN). Goal 3: ensure healthy lives and promote well-being for all at all age [Internet]. 2021 [cited 2022 Sep 12]. Available from: https://www.un.org/sustainabledevelopment/health/

Ministry of Natural Resources and Environment. Community philosopher: inheriting local Thai wisdom, restoring natural resources and the environment sustainably [Internet]. 2005 [cited 2022 Sep 10]. Available from: http://lib.mnre.go.th/lib/book/padchomchon.pdf

National Health Commission Office. Strategy for developing Thai wisdom, Thai way of health Issue 3 (2017-2021). Nonthaburi: USA Printing; 2016. (in Thai)

Phon-ngam P. A development of healthy promotion model by E-SAN folk healer’s wisdom. Journal of Social Sciences (COES&RJ-JSS) [Internet]. 2013 Jan 1 [cited 2024 Mar.29];2(1):5-14. Available from: https://centreofexcellence.net/index.php/JSS/article/view/jss.2013.2.1.5.14 (in Thai)

Demaio A. Local wisdom and health promotion: barrier or catalyst. Asia Pacific Journal of Public Health 2011;23(2):127-32.

Framework AP. Active Ageing. Population. 2000;2025:2050. Available from: https://extranet.who.int/agefriendlyworld/wp-content/uploads/2014/06/WHO-Active-Ageing- Framework.pdf

The WHOQOL group. The development of the world health organization quality of life assessment instrument. Geneva: WHO; 1995.

Leekitwattana P. Educational research methods. 11th ed. Bangkok: Mean Service Supply; 2017. (in Thai)

Mahattanirundonkul S, Suwattan R, Tantipiwattanasakul W, Poompaisalchai V. World Health Organization quality of Life-BREF Thai version (WHOQOL-BREF-THAI) [Internet]. 2002 [cited 2024 Apr 3]. Available from: https://dmh.go.th/test/whoqol/ (in Thai)

Theamthong N, Junlata J, Chaigaru S. Model development for promoting the quality of life of elderly in elderly club Ubon Ratchathani Province. UMT-Poly Journal 2018;15(2):321-34. (in Thai)

Tawkratoke S. Guidelines for quality of life development for the elderly of subdistrict administrative organizations in the area of Chakkarat District, Nakhon Ratchasima Province. NRRU Community Research Journal 2017;11(1):158-70. (in Thai)

Rujiranukul P, Donviset T. Guideline to improve the elderly’s quality of life in Chantaburi province. Rajabhat Rambhai Barni Research Journal 2014;10(1):60-9. (in Thai)

Pruansuk P. Guidelines for quality of life development for the elderly of local administrative organizations in Phrae Province. Journal of Graduate School, Pitchayatat 2015;10(1):77-87. (in Thai)

Touhy TA, Jett KF. Gerontological nursing & healthy aging. 4th ed. Missouri: Mosby Elsevier; 2014.

Winstead V, Yost EA, Cotton SR, Berkowsky RW, Anderson WA. The impact of activity interventions on the well-being of older adults in continuing care communities. Journal of Applied Gerontology 2014;33(7):888–911. doi: 10.1177/0733464814537701.

Mungsakul W. The concept of active ageing and capacity development of ageing living alone. Journal for Social Sciences Research 2014;38(2):93-112. (in Thai)

Beltz S, Gloystein S, Litschko T, Laag S, Vandenberg N. Multivariate analysis of independent determinants of ADL/IADL and quality of life in the elderly. Biomed Central Geriatrics 2022;22(1):894. doi: 10.1186/s12877-022-03621-3.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-22