ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในพื้นที่ตำบลบ้านปึก อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • จุฑาทิพย์ เอมเปีย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์
  • อรรัตน์ หวั่งประดิษฐ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์
  • โนรฟีรเดาห์ สี่สตางค์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์
  • ประภัสสร ไทยนอก วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภคอาหาร , โรคความดันโลหิตสูง , ความเชื่อด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

บทนำ: ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ การค้นหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารจึงมีความสำคัญ

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่ตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย เป็นการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในพื้นที่ตำบลบ้านปึก จำนวน 213 คน สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ด้วยแบบสอบถามการรับรู้ตามแนวคิดความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบประเมินพฤติกรรม การรับประทานอาหารเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราคเท่ากับ .79 และ .71 ตามลำดับ และแบบสอบถามความรู้ที่มีค่าความเที่ยงด้วยวิธีของคูเดอร์-ริชาร์ด (KR-20) เท่ากับ .58 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Multiple linear regression

ผลการวิจัย: พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับปฏิบัติเป็นบางครั้ง ร้อยละ 99.50 โดยปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ได้แก่ ความรู้เรื่องการรับประทานอาหาร การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ อุปสรรคของโรคความดันโลหิตสูง และการรับรู้ถึงประโยชน์ของการรับประทานอาหารเฉพาะโรค โดยทุกปัจจัยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้ร้อยละ 23.50 (R square = .235, p<.001)

สรุปผล: ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยการรับรู้ตามแนวคิดความเชื่อด้านสุขภาพสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้

ข้อเสนอแนะ: เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรสาธารณสุขควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการรับรู้ทางสุขภาพแก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพื่อให้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization. A global brief on hypertension, silent killer, global public health crisis [Internet]. 2013 [cited 2022 Jul 14]. Available from: http://www.thaiheartfound.org/category/details/food/272

The Chonburi Provincial Health Office. Morbidity rate hypertension. Chonburi province [Internet]. 2020 [cited 2022 Jul 14]. Available from: http://www.cbo.moph.go.th.

Puengsema R. Hypertension: the important role of nurses. Thai Red Cross Nursing Journal 2022;15(1):40-9. (in Thai)

Somjainuk J, Suwanno J. Relationships between age with elevated blood pressure and hypertension in the transitional aged of late-adolescent to early adulthood. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing 2020;13(2):63-78. (in Thai)

Yingyong N, Yongphet P, Somkong K, Virojrut T. Behaviors that are related to customers purchasing decisions and new trends of business after the COVID-19 crisis in the next normal marketing context. Management Sciences Valaya Alongkorn Review 2022;3(2):64-76. (in Thai)

Becker MH. The health belief model and preventive health behavior. Health Education Monographs 1974;2(4):354-85.

Hanarong A, Toonsiri C, Rattanagreethakul S. Factors affecting eating behaviors among hypertensivepatients. Nursing Science Journal of Thailand 2017;25(3):52-65. (in Thai)

Luenam A, Ngamkham N. Sangsawang D., Pengpanich W., Rattanasuwannachai K., Wacharadon S., et al. Predictive factors of self-care behavior for prevention of hypertension among population group at risk. HCU Journal Health Science 2019;23(1):93-105. (in Thai)

Daniel WW. Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences. 8th ed. John Wiley & Son ; 2005.

Bloom B, Engelhart M, Furst E, Hill W, Krathwohl D. Taxonomy of educational objectives: the classification of educational goals. Handbook I, cognitive domain. New York: Longmans; 1956.

The Heart Foundation of Thailand Office. DASH diet (dietary approaches to stop Hypertension diet). [Internet]. 2017 [cited 2022 Aug 12]. Available from: http://www.thaiheartfound.org/category/details/food/272 (in Thai)

Meehanpong P, Chatdokmaiprai K. Assessing quality of research instrument in nursing research. The Journal of The Royal Thai Army Nurses 2018;19(1):9-15. (in Thai)

Hair FJ, Black CW, Babin JB, Anderson ER. Multivariate data analysis. 7th ed. New Jersey: Pearson Education; 2010.

Duangpratoom N. Personal perception in patients with hypertension, a sub - district in Bang Pa in district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province. Journal of MCU Nakhondhat 2021;8(3):188-99. (in Thai)

Nimkhuntod P, Ungarporn N, Thongdee P, Kaewpitoon S, Benjaoran F, Kaewpitoon N. Correlation between eating salty diet behavior with hypertension and cardiovascular disease [Internet]. 2017. [cited 2022 Aug 12]. Available from: http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/7421/2/Fulltext.pdf (in Thai)

Saetia Y. Factors predicting hypertension preventive behaviors among persons at risk to hypertension. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University 2019;29(1):136-48. (in Thai)

Rasamejam P, Akaratanapol P, Limteerayos P, Khungtumneam K. Factors predicting health promoting behaviors among Thai muslim with hypertension. Journal of Nursing Siam University 2018;19(37):56-67. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-20