ผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์ ABCs ในการดูแลผู้ป่วยความดันในกะโหลกศีรษะสูง ต่อความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองและความพึงพอใจ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา รักยิ่งเจริญ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
  • อังคณา สมคง คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
  • สุทัศน์ ศุภนาม คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา

คำสำคัญ:

สื่อวีดีทัศน์ ABCs , ความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาล , ความพึงพอใจต่อสื่อวีดีทัศน์

บทคัดย่อ

บทนำ: ความดันในกะโหลกศีรษะสูง เป็นภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยที่บาดเจ็บทางสมอง นักศึกษาพยาบาลต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการเกิดความดันในกะโหลกศีรษะสูง จึงสามารถให้การพยาบาลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อเปรียบเทียบความมั่นใจการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองของนักศึกษาพยาบาล ก่อนและหลังการใช้การใช้สื่อวีดิทัศน์ ABCs ในการดูแลผู้ป่วยความดันในกะโหลกศีรษะสูง

ระเบียบวิธีวิจัย: วิจัยกึ่งทดลอง แบบ 2 กลุ่ม วัดก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 45 คน กลุ่มควบคุม 45 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1.สื่อวีดิทัศน์ ABCs ในการดูแลผู้ป่วยความดันในกะโหลกศีรษะสูง 2.แบบประเมินความมั่นใจการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมอง 3.แบบสอบถามความพึงพอใจการใช้สื่อวีดีทัศน์ ABCs ในการดูแลผู้ป่วยความดันในกะโหลกศีรษะสูง ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของสื่อวีดิทัศน์เท่ากับ .88 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .88 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ ทดสอบค่าที

ผลการวิจัย: หลังทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาล สูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) หลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลอง มีระดับความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาล สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และความพึงพอใจของการใช้สื่อวีดิทัศน์ ABCs ในการดูแลผู้ป่วยความดันในกะโหลกศีรษะสูง อยู่ในระดับมาก

สรุปผล: การใช้สื่อวีดิทัศน์ ABCs ในการดูแลผู้ป่วยความดันในกะโหลกศีรษะสูง ช่วยเพิ่มความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมอง

ข้อเสนอแนะ: ควรนำสื่อวีดิทัศน์ ABCs ในการดูแลผู้ป่วยความดันในกะโหลกศีรษะสูงไปใช้ในการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนฝึกภาคปฏิบัติ

References

Bandura, A. Self-efficacy: The exercise of control. New York : W.H. Freeman and Company; 1997.

Sanongdej W, Wangpitipanit S, Chonsin P, Chalermpichai T. Development and effect of video media combined with scenario on knowledge and self-confidence in practice of occupational health nursing for nursing students. Ramathibodi Medical Journal 2018;24(1): 94-107. (in Thai)

Rukyingchareon K, Thaikla A, Suvarnakuta P. Use of the ABCs mnemonic concept in caring for patients with increased intracranial pressure. Journal of Health Science Research 2018; 12 (Supplement):12-9. (in Thai)

Hussein MTEL, Zettel S, Suykens AM. The ABCs of managing increased intracranial pressure. Journal of Nursing Education and Practice 2017;7(4):6-14.

Wajanawisit T. Development of e-Learning on Information technology course, Kuakarun Faculty of Nursing. Kuakarun Journal of Nursing 2014;21(1):100-13. (in Thai)

Jungpanich A, Srisailaun O. Effects of using daily care plan video teaching on clinical self-confidence and satisfaction of nursing students, Kuakarun Faculty of Nursing, Navamindradhiraj University. Kuakarun Journal of Nursing 2015;22(1):17-34. (in Thai)

Buddam M, Suwanpakdee W, Ritmontre O, Noonart T, Tantanokit J. Effectiveness of electronic media usage on pain relief strategy during labor. Journal of Sakon Nakhon Hospital 2021;24(2):13-25. (in Thai)

Homsombut Y, Khakhuen S, White J, Jittasusuttho J, Kerdchuen K, Aunprom S. Efficiency of an instructional video on eye care used in the course of persons with health problem practicum II in Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Ratchasima. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2020;7(2):51-64. (in Thai)

Pinar G, Akalin A, Abay H. The effect of video based simulation training on neonatal examination competency among Turkish Nursing Students. European Scientific 2016;12(15): 394-405.

Ponkaew W, Thasanoh Elter P, Suwanwaiphatthana W. The effects of educational video about nursing care for children with cardiovascular disease on knowledge of bachelor nursing students. Research and Development Health System Journal 2020;13(2):521-27. (in Thai)

Wattanachai P, Yingrengreung S. The development of video lesson on nasopharyngeal and oral suction in children for nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. Journal of Health and Nursing Research 2019;35(2):210-23. (in Thai)

Dale E. Audio-Visual methods in teaching. 3rd ed. New York: Dryden Press; 1996.

Bloom, B.S. Taxonomy of education objective: cognitive domain. New York: David McKey; 1964.

Jermworapipat S, Demile L, Chunchai S. The Effects of learning with a video lesson on sophomore nursing students’ knowledge, confidence and practice satisfaction of discharge planning for patients with tracheostomy and caregivers. Journal of Health and Nursing Research 2023;39(2):147-60. (in Thai)

Fiorella L, Stull AT, Kuhlmann S, Mayer RE. Instructor presence in video lectures: The role of dynamic drawings, eye contact, and instructor visibility. Journal of Educational Psychology 2019;111(7):1162–71. doi: 10.1037/edu0000325

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28