ความปลอดภัยและความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และผู้ให้บริการในการ รับบริการยาเคมีบำบัดที่บ้านในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19

ผู้แต่ง

  • ปรัศนี ศรีกัน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันบรมราชชนก
  • ดาราวรรณ รองเมือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พิเชต วงรอต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศรีสุดา งามขำ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

ยาเคมีบำบัดที่บ้าน , การระบาดของโรคโควิด-19 , โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ , ความปลอดภัยของผู้ป่วย

บทคัดย่อ

บทนำ: การให้ยาเคมีบำบัดที่บ้านเป็นทางเลือกในการให้ยาเคมีบำบัดผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในสถานการณ์โควิด-19

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาความปลอดภัยของผู้ป่วยและผู้ให้บริการยาเคมีบำบัดที่บ้าน ความเชื่อมั่นในความปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด-19 ของผู้ป่วย และความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ดูแล

ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ จำนวน 35 คน ผู้ดูแล จำนวน 36 คน และพยาบาล จำนวน 39 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความปลอดภัยของผู้ให้บริการและผู้ป่วย แบบประเมินความเชื่อมั่นในความปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด-19 และแบบประเมินความพึงพอใจในการรับบริการยาเคมีบำบัดที่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย: 1) ผู้ป่วยมีความมั่นใจในความปลอดภัยทุกด้าน ทั้งการป้องกันการติดเชื้อ การใช้ยาอย่างปลอดภัย การติดตามผู้ป่วย การดูแลข้อต่อและสายที่ให้ยา และการรายงานแพทย์ 2) ผู้ให้บริการ มีความปลอดภัยทุกด้าน ทั้งการใช้เทคโนโลยีสื่อสาร การป้องกันอันตรายจากการทำงาน จิตใจ การป้องกันการเกิดโรค กฎหมาย และความปลอดภัยจากการเดินทางและการปฏิบัติงาน 3) ผู้ป่วยทั้งหมดมีความมั่นใจในความปลอดภัยจากการติดเชื้อโรคโควิด-19 และ4) ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อการได้รับบริการยาเคมีบำบัดที่บ้านโดยรวมอยู่ในระดับสูง

สรุปผล: การให้ยาเคมีบำบัดที่บ้านในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 มีความปลอดภัยและมั่นใจในการรับบริการ ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความพึงพอใจ

ข้อเสนอแนะ: โรงพยาบาลที่สามารถให้เคมีบำบัดที่บ้านได้ ควรพิจารณาให้ยาเคมีบำบัดที่บ้านเป็นทางเลือกในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ เนื่องจากมีความปลอดภัย ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ เป็นทางเลือกในสังคม "ความปกติใหม่"

References

Department of Medical Services, Ministry of Public Health. National cancer control programme (2018 - 2022) [Internet]. 2018 [cited 2023 Sep 5]. Available from: https://www.nci.go.th/th/File_download/D_index/แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ.pdf. (in Thai)

National Cancer Institute. Hospital-based cancer registry 2021 [Internet]. 2022 [cited 2023 Sep 5]. Available from: https://www.nci.go.th/e_book/hosbased_2564/index.html

Utthiya P, Sereewichayasawad N, Sirilerttrakul S. Roles of home health care nurses in caring for patients receiving chemotherapy via central venous catheter at home. Ramathibodi Nursing Journal 2019;25(2):119-29. (in Thai)

Srikan P, Rongmaung D, Wongrot P, Ngamkham, S. A multidisciplinary team, patients and caregivers preparation of the home chemotherapy services for colorectal cancer patients in the situation of the COVID-19 outbreak. Journal of Health and Nursing Research. 2023; 39(2):161-72. (in Thai)

Larsen FO, Christiansen AB, Rishøj A, Nelausen KM, Nielsen DL. Safety and feasibility of home-based chemotherapy. Danish Medical Journal 2018;65(5):A5482.

Ferguson NM, Laydon D, Nedjati-Gilani G. Report 9-Impact of non-pharmaceutical [Internet]. 2022 [cited 2022 Dec 24]. Available from: https://www.imperial.ac.ukmrc-global-imperial.ac.uk/mrc-global-infectious-disease-analysis/news--wuhan-coronavirus.

World Health Organization. Global patient safety action plan 2021–2030: towards eliminating avoidable harm in health care. Switzerland: World Health Organization; 2021.

Cool L, Missiaen J, Vandijck D, Lefebvre T, Lycke M, De Jonghe PJ, et al. An observational pilot study to evaluate the feasibility and quality of oncological home-hospitalization. European Journal of Oncology Nursing 2019;40:44-52. doi: 10.1016/j.ejon.2019.03.003.

Stufflebeam, DL. The CIPP model for evaluation. In: Kellaghan, T, Stufflebeam, DL., Editors. International handbook of educational evaluation vol 9.Dordrecht: Springer; 2003 p. 31-62. [cited 2022 Dec 24]. Available from: https://link.springer.com/chapter/10.1007/978-94-010-0309-4_4#citeas

Sanguinetti JM, Martínez D, Dimase F, Streich G, Castro P, Vega V, et al. Patient safety and satisfaction in home chemotherapy. Home Healthcare Now 2021; 39(3):139-44. doi: 10.1097/NHH.0000000000000958.

Kheder AMM, Attia A, Farouk O, Mostafa E. Effect of improving nurses' practices on women’s satisfaction diagnosed with reproductive cancer undergoing chemotherapy. European Journal of Molecular and Clinical Medicine 2021;7(8):4457-70.

Corbett M, Heirs M, Rose M, Smith A, Stirk L, Richardson G, et al. The delivery of chemotherapy at home: an evidence synthesis. [Internet]. 2015 [cited 2022 Dec 24]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK285513/ doi: 10.3310/hsdr03140

King MT, Hall J, Caleo S, Gurney HP, Harnett PR. Home or hospital? an evaluation of the costs, preferences, and outcomes of domiciliary chemotherapy. International Journal of Health Services 2000;30(3):557–79. doi: 10.2190/CY03-EV15-K38Y-X4AA.

Joo EH, Rha SY, Ahn JB, Kang HY. Economic and patient-reported outcomes of outpatient home-based versus inpatient hospital-based chemotherapy for patients with colorectal cancer. Support Care Cancer 2011;19(7):971-78. doi: 10.1007/s00520-010-0917-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28