ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้าในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พัชญา ชำนาญกุล ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อาภาพร เผ่าวัฒนา ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุรินธร กลัมพากร ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

บุหรี่ไฟฟ้า , วัยผู้ใหญ่ตอนต้น , ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน

บทคัดย่อ

บทนำ: วัยผู้ใหญ่ตอนต้นเป็นวัยที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้ามากที่สุด แต่ในปัจจุบันประเทศไทยยังมีการศึกษาปัจจัยทำนายความตั้งใจเลิกบุหรี่ไฟฟ้าในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอย่างจำกัด จึงประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ 

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้าและปัจจัยทำนายความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้าในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น เขตกรุงเทพมหานคร 

ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าอายุ 18-35 ปี อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 374 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีบอกต่อ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเองทางแบบสอบถามออนไลน์ รวมระยะเวลาเก็บข้อมูล 4 สัปดาห์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา  สถิติทดสอบไคแสควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน 

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งมีความตั้งใจเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้าระดับสูง (ร้อยละ 55.6)  และจากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า การรับรู้ความสามารถในการเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้า ความเครียด รายได้ เจตคติต่อการเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้า ระดับการศึกษา  และความถี่ในการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ร่วมกันทำนายความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้าในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นได้ร้อยละ 56.1 (p < .05) 

สรุปผล: แนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนและปัจจัยส่วนบุคคลสามารถร่วมทำนายความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้าของวัยผู้ใหญ่ตอนต้นได้  การรับรู้ความสามารถในการเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้า ความเครียด รายได้ เจตคติต่อการเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้า ระดับการศึกษา  และความถี่ในการสูบบุหรี่ไฟฟ้า อาจช่วยให้วัยวัยผู้ใหญ่ตอนต้นเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้าได้

ข้อเสนอแนะ: ปัจจัยทำนายที่พบจากการศึกษานี้ควรนำมาพิจารณาในการพัฒนาโปรแกรมการเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อเพิ่มโอกาสในการเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้าในผู้ใหญ่ตอนต้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

Laverty AA, Filippidis FT, Vardavas CI. Patterns, trends and determinants of e-cigarette use in 28 European Union Member States 2014-2017. Preventive Medicine.2018; 116:13-8. doi: 10.1016/j.ypmed.2018.08.028

National Statistical Office. Health behaviour of population survey 2021 [Internet]. 2021 [cited 2022 Sep 27]. Available from: https://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ 2564/report_2501_64.pdf (in Thai).

Tobacco Control Research and Knowledge Management Center. E-cigarettes are illegal and cause severe illness and death. TCR research update 2020;12(1):1-40. (in Thai).

Lapyai S. New tobacco products on social media and law enforcement on new tobacco products control. Public Health & Health Laws Journal 2019;5(1):13-30. (in Thai).

Palmer AM, Smith TT, Nahhas GJ, Rojewski AM, Sanford BT, Carpenter MJ, et al. Interest in quitting e-cigarettes among adult e-cigarette users with and without cigarette smoking history. JAMA Netw Open 2021;4(4):e214146.

Chan G, Leung J, Gartner C, Yong HH, Borland R, Hall W. Correlates of electronic cigarette use in the general population and among smokers in Australia - Findings from a nationally representative survey. Addict Behav 2019;95:6-10. doi: 10.1016/j.addbeh.2019.02.012

Cuccia AF, Patel M, Amato MS, Stephens DK, Yoon SN, Vallone DM. Quitting e-cigarettes: Quit attempts and quit intentions among youth and young adults. Prev Med Rep 2021;21:101287. doi: 10.1016/j.pmedr.2020.101287

Yangpaksee P, Srithongphet J, Chaiyakia C, Bundit N, Chayakul T, Eangchuan N, et al. Factors predicting the intention to quit smoking among military offificers in Bangkok. Thai Journal of Nursing 2019;68(2):9-16. (in Thai).

Qiu D, Chen T, Liu T, Song F. Smoking cessation and related factors in middle-aged and older Chinese adults: Evidence from a longitudinal study. PloS one 2020;15(10):e0240806.

Ajzen I. The attitudes, personality and behavior. 2nd ed. Milton-Keynes: Open University Press-McGraw Hill; 2005.

Matrakul M, Kalampakorn S, Powwattana A. Factors predicting intention to quit of hand-rolled cigarettes smokers in Chiang Rai province. Thai Journal of Nursing 2012;61(1):10-20. (in Thai).

Tobacco Control Research and Knowledge Management Center and Mahidol University. Thailand tobacco consumption statistics report. Bangkok: CDMK printing; 2018. (in Thai).

Chen R, Pierce JP, Leas EC, White MM, Kealey S, Strong DR, et al. Use of electronic cigarettes to aid long-term smoking cessation in the United States: prospective evidence from the PATH cohort study. Am J Epidemiol 2020;189(12):1529–37. DOI: 10.1093/aje/kwaa161

Mahidol University, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital. Mental state of adults [Internet]. 2021 [cited 2022 Sep 29]. Available from: http:// www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/06272014-1009 (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-28