การสังเคราะห์รูปแบบการดูแลเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กวินวรา นาวินประเสริฐ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ชมนาด วรรณพรศิริ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • มลฤดี โพธิ์พิจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแล , ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 , การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยทั้งในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะส่งผลให้เกิดภยันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายหลายระบบ และนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้

วัตถุประสงค์: เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการดูแลเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในประเทศไทย

ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยเอกสาร โดยสืบค้นงานวิจัยในประเทศไทยจากฐานข้อมูลวารสารวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในประเทศไทย ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2564 จำนวน 52 เรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย: รูปแบบการดูแลเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) รูปแบบที่เป็นโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเอง 2) รูปแบบที่เป็นการดูแลหรือวิธีการเฉพาะ โดยส่วนใหญ่ใช้กรอบแนวคิดการจัดการตนเอง (ร้อยละ 42.30) มีการวัดผลลัพธ์หลังให้การจัดกระทำด้วยการตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ร่วมกับการวัดดัชนีสุขภาพ ความรู้ พฤติกรรม หรือคุณภาพชีวิต (ร้อยละ 30.77) และผลการวิจัยพบว่าการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน (ร้อยละ 26.92)

สรุปผล: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงรูปแบบการดูแลเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในประเทศไทย เน้นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานมีการจัดการตนเอง แต่ยังพบว่ารูปแบบการดูแลในบางงานวิจัยยังไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ข้อเสนอแนะ: ควรมีการศึกษารูปแบบการดูแลเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) และควรศึกษางานวิจัยในต่างประเทศเพิ่มเติม

Downloads

Download data is not yet available.

References

International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas 10th edition [Internet]. 2021 [cited 2023 Mar 16]. Available from: https://diabetesatlas.org/idfawp/resource-files/2021/07/IDF_Atlas10th_Edition_2021.pdf

Ministry of Public Health. Group report standard: illness with critical NCDs [Internet]. 2021 [cited 2022 Jan 15]. Available from: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents.php?tid=32&gid=1-020. (in Thai)

Division of Non-Communicable Diseases, Department of Disease Control. Details of indicators to monitor the quality of non-communicable diseases (diabetes and hypertension) services for the fiscal year 2022 [Internet]. 2021 [cited 2022 Jan 15]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2023. (in Thai)

International Diabetes Federation: IDF. Diabetes on the global. [Internet]. 2021 [cited 2021 July 1]. Available from: https://idf.org/our-activities/advocacy-awareness/diabetes-on-the-global-agenda.html

Hurst CP, Rakkapao N, Hay K. Impact of diabetes self-management, diabetes management self-efficacy and diabetes knowledge on glycemic control in people with Type 2 Diabetes (T2D): A multicenter study in Thailand. Public Library of Science One 2020;15(12):1-14.

Wongsin U, Wannasri A. Unit cost of diabetes care: a case study of a general hospital in Thailand. Journal of the Department of Medical Services 2018;43(6):45-9. (in Thai)

Harding JL, Pavkov ME, Magliano DJ, Shaw JE, Gregg EW. Global trends in diabetes complications: A review of current evidence. European Association for the Study of Diabetes 2019;62(1):3–16.

Li Z, Lei X, Xu B, Wang S, Gao T, Hongmei LV. Analysis of risk factors of diabetes peripheral neuropathy in type 2 diabetes mellitus and nursing intervention. Experimental and Therapeutic Medicine 2020;20(6):1-8.

Saengai A, Suphunnakul P. Risk factors affecting complications among patients with type 2 diabetes in Mueang District, Phitsanulok Province. Eau Heritage Journal Social Science and Humanities 2018;12(3):200-12. (in Thai)

World Health Organization. Diabetes updated [Internet]. 2023 [cited 2023 Mar 16]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/diabetes

Meebunmak Y, Srisaket J, Phokwang W, Homnan K. A systematic review on health care programmes for older adults with diabetes mellitus. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2018;72(4):72-89. (in Thai)

Sattayasomboon T, Sattayasomboon Y. Hypertension and Type 2 Diabetes Mellitus patients: a systematic review on the Chronic Care Model (CCM) and Self-Management Support (SMS). The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2020;7(2):232-43. (in Thai)

Scott J. Documentary research. London: Sage; 2006.

Murad MH, Montory VM, Ioannidis JP, Jaeschke R, Devereaux PJ, Prasad K, et al. How to read a systematic review and meta-analysis and apply the results to patient care: user’ guides to medical literature. Journal of the American Medical Association 2014;312(2):171-9.

Sikaow O. Diabetes Management: Disease Dimensions and Nurse Role. 4th ed. Samut Prakan: Journalism Project, Huachiew Chalermprakiet University; 2018. (in Thai)

Regeer H, Empelen PV, Bilo JG, Koning JP, Huisman SD. Change is possible: How increased patient activation is associated with favorable changes in well-being, self-management and health outcomes among people with type 2 diabetes mellitus: A prospective longitudinal study. Patient Education and Counseling 2022;105(4):821–7.

Wagner EH, Austin BT, Davis C, Hindmarsh M, Schaefer J, Bonomi A. Improving chronic illness care: translating evidence into action. Health Aff (Millwood). 2001 Nov-Dec;20(6):64-78. doi: 10.1377/hlthaff.20.6.64. PMID: 11816692.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28