การปรับตัวของประชาชนในสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ระลอกแรก ในจังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • แววดาว พิมพ์พันธ์ดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

การปรับตัว , โควิด 19 , ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

บทคัดย่อ

บทนำ: สถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ระลอกแรก ระหว่างเดือนมกราคม ถึงพฤษภาคม 2563 ส่งผลกระทบกับประชาชนหลายด้าน การปรับตัวของประชาชนในการเผชิญกับสถานการณ์และสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนการปรับตัวของประชาชนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาการปรับตัวของประชาชนและชุมชน และสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการปรับตัวของประชาชนในสถานการณ์การระบาดของโควิด 19

ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ 1) ตัวแทนครัวเรือนที่เป็นประชาชนอายุ 20 ปี ขึ้นไป จำนวน 422 คน ทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา 2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายหรือมาตรการในการป้องกันและควบคุมการระบาด จำนวน 12 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย: การปรับตัวของประชาชนในสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ระลอกแรก มี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านการศึกษา ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการปรับตัวของประชาชน ได้แก่ การส่งเสริมอาชีพ ส่งเสริมความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการวางแผนการเงิน  ส่งเสริมแรงงานกลับภูมิลำเนา ส่งเสริมความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง มีหน่วยงานให้คำปรึกษาสุขภาพจิต พัฒนาระบบบริการที่ทั่วถึง พัฒนาการสื่อสารประชาสัมพันธ์ พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พัฒนาเครือข่ายทางสังคม พัฒนาการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี พัฒนาแพลตฟอร์มสารสนเทศด้านสุขภาพ พัฒนาทักษะผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็ก พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ต และสนับสนุนอุปกรณ์ทางการศึกษา

ข้อเสนอแนะ: ประชาชนสามารถนำแนวทางในการปรับตัวจากงานวิจัยนี้ ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ โรคอุบัติใหม่หรือวิกฤติอื่นที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายไปพัฒนานโยบายหรือมาตรการต่างๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถปรับตัวได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

Ministry of Public Health. Endemic approach to COVID-19 [Internet]. 2022 [Cited 2022 Jun 23]. Available from: https://www.pyomoph.go.th/backoffice/files/42090.pdf. (in Thai).

Plipat T. Lessons from Thailand’s response to the COVID-19 pandemic. Thai Journal of Public Health 2020;50(3):268–77.

Kunchusawad P, Nuntapanich C, editors. Planning and evaluation committee meeting and monthly meeting no. 1/2021; 2021 Jan 28. Chachoengsao: 2021. Provincial Public Health Office. (in Thai).

Kullavanijaya C. Development of public health emergency management strategies for disease control and prevention of Coronavirus 2019, Chachoengsao province. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand 2021;11(2):218-38. (in Thai).

Chinsiraprapa A. The impact of COVID-19 on the tourism economy in the eastern region. Journal of Industrial Business Administration 2021;3(2):1-4. (in Thai).

United Nations Thailand. Assessment of the total economic impact and society from the spread of COVID-19 in Thailand. Bangkok: United Nations Thailand; 2020. (in Thai).

Division of Mental Health Promotion and Development, Department of Mental Health. The result of overall mental health problem surveillance data analysis among Thai people [Internet]. 2021 [Cited 2022 Jan 9]. Available from: https://www.mhllibrary.com. (in Thai).

American Psychological Association. The road to resilience [Internet]. 2014 [Cited 2020 Nov 10]. Available from: http://www.apa.org/helpcenter/road-resilience.aspx.

Department of Provincial Administration. Thai population 2020 [internet]. 2020 [cited 2020 Oct 15]. Available from: https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php. (in Thai).

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970;30:607-10.

Kruamek S, Kulprasutidilok A, Ngamsakoo R. The people’s adaptation towards the new normal lifestyle during the Covid-19 pandemic in Nonthaburi province. Phranakhon Rajabhat Research Journal (Humanities and Social Sciences) 2021;16(2):87-103. (in Thai).

Manlae W, Prathum B, Kaew-On S, Chamnian K. Effects and adjustment of people during COVID-19 pandemic in Nakhon Si Thammarat. Journal of MCU Nakhondhat 2021;8(11):327-40. (in Thai).

Boonchai K, Maneepong C, Parnyong P, Tejo P, Pintobtang P, leanjamroon V, et al. A study on socio-economic impact assessment and adaptation of rural communities against the COVID 19 epidemic. Bangkok: King Prajadhipok's Institute; 2020. (in Thai).

Rungrut S, Maso S, Kadem Y. The economic and social impacts from the COVID-19 pandemic toward the people in Yala city municipality Yala province. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology 2021;6(2):160-74. (in Thai).

National Statistical Office. The survey on the impact of the COVID-19 epidemic situation [Internet]. 2020 [Cited 2021 Aug 5]. Available from: http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib14/Press_Release/2563/P28-04-63.pdf. (in Thai)

Kittinaraporn J. Media uses and the adaption to the new normal healthcare practices during the Coronavirus (Covid-19) pandemic: A case of Pathum Thani province’s citizens. Journal of Communication Arts Review 2021;25(1):15-34. (in Thai).

Choolert P. The new normal life of parents and guardians: on the day that they have to take on roles "Special Teacher" [Internet]. 2020 [Cited 2022 Jan 25]. Available from: https://tpak.or.th/th/article_print/52. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30