กระบวนการเตรียมทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วยและผู้ดูแลในการบริการยาเคมีบำบัดที่บ้านในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19

ผู้แต่ง

  • ปรัศนี ศรีกัน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันบรมราชชนก
  • ดาราวรรณ รองเมือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันบรมราชชนก
  • พิเชต วงรอต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศรีสุดา งามขำ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ , ยาเคมีบำบัดที่บ้าน, โรคโควิด-19, ทีมสหสาขาวิชาชีพ , ผู้ป่วยและผู้ดูแล

บทคัดย่อ

บทนำ: การบริการยาเคมีบำบัดที่บ้านเป็นนโยบายเร่งรัดและเป็นนวัตกรรมในการบริการสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 การเตรียมความพร้อมของบุคลากร ผู้ป่วยและผู้ดูแลในการรับยาเคมีบำบัดให้เกิดความปลอดภัยในบริบทที่มีความเร่งด่วนและมีข้อจำกัดหลายด้านจึงมีความท้าทายมากกว่าปกติ

วัตถุประสงค์การวิจัย: ศึกษากระบวนการเตรียมทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วยและผู้ดูแลในการบริการยาเคมีบำบัดที่บ้านในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19

ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริการยาเคมีบำบัดที่บ้าน จำนวน 25 คน และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย: กระบวนการเตรียมทีมสหสาขาวิชาชีพ มี 3 ระยะ คือ การวางแผน ะก่อนรับผู้ป่วย และบริการยาเคมีบำบัดที่บ้าน ประกอบด้วยจัดองค์ประกอบของทีม กำหนดคุณสมบัติ ความรับผิดชอบ คัดเลือกบุคลากร พัฒนาความรู้และทักษะ ขอรับการประเมินความพร้อม ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ เตรียมความพร้อมด้านงบประมาณ อาคารสถานที่ อุปกรณ์และเอกสาร คัดเลือกผู้ป่วยเข้าโครงการ บริหารยาและการดูแลอุปกรณ์ที่ติดตัวผู้ป่วย ควบคุมมาตรฐานการบริการ และการติดตาม ส่วนกระบวนการเตรียมผู้ป่วยและผู้ดูแล ประกอบด้วย ให้ข้อมูลและตัดสินใจ ดูแลจากทีมสหสาขาวิชาชีพ ประเมินความพร้อมของเส้นเลือด ให้ยาครั้งแรก และติดตามและการช่วยเหลือเมื่ออยู่ที่บ้าน

สรุปผล: การบริการยาคมีบำบัดที่บ้านในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ต้องมีการเตรียมทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วย และผู้ดูแลให้มีความพร้อม ต้องปรับวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับบริบท คัดเลือกทีมและการทำงานเป็นทีม วางแผนการทำงานที่ชัดเจน ตัดสินใจร่วมกันของผู้ให้และผู้รับบริการ และมีช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการติดตามผู้ป่วย

ข้อเสนอแนะ: ควรศึกษาวิธีการที่หลากหลายในการเตรียมทีมสหสาขาวิชาชีพที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองขณะรับยาเคมีบำบัดที่บ้านได้อย่างปลอดภัย

Downloads

Download data is not yet available.

References

Utthiya P, Sereewichayasawad N, Sirilerttrakul S. Roles of Home Health Care Nurses in Caring for Patients Receiving Chemotherapy via Central Venous Catheter at Home. Ramathibodi Nursing Journal 2019; 25:119-29. (In Thai)

Kulthanachairojana N, Chansriwong P, Thokanit NS, Sirilerttrakul S, Wannakansophon N, Taychakhoonavudh S. Home-based chemotherapy for stage III colon cancer patients in Thailand: Cost-utility and budget impact analyses. Cancer Medcine 2021;10:1027-33.

Sabbagh Dit Hawasli R, Nabhani-Gebara S. Optimizing the role of ambulatory chemotherapy in response to the Covid-19 pandemic. J Oncol Pharm Pract: Official Publication of the International Society of Oncology Pharmacy Practitioners. 2020;26:2011-4.

Srithumsuk W, Wangnum K. "New Normal" Home Chemotherapy in Thailand: How the Challenging Roles of Nurses Are Changing? Asia Pacific Journal of Oncology Nursing 2021;8(3):340-3. doi: 10.4103/apjon.apjon_54_20

Laughlin AI, Begley M, Delaney T, Zinck LM, RN,, Schuchter LN, Doyle J, et al. Accelerating the delivery of cancer care at home during the Covid-19 pandemic. NEJM Catalyst Innovations in Care Deliver [Internet]. 2020; 3(12).

Assarroudi A, Heshmati Nabavi F, Armat MR, Ebadi A, Vaismoradi M. Directed qualitative content analysis: The description and elaboration of its underpinning methods and data analysis process. Journal of Nursing Research in nursing 2018;23:42-55. doi: 10.1177/1744987117741667

Mitchell P, Wynia M, Golden R, McNellis B, Okun S, Webb CE, et al. Core principles and values of effective team-based health care. The National Academy of Medicine’s NAM Perspectives National Academy of Medicine, 2012 https://doiorg/1031478/201210c 2012.

Stufflebeam DL. The CIPP model for evaluation. In: D. L. Stufflebeam, T. Kellaghan, editors. The international handbook of educational evaluation. Boston, MA: Kluwer Academic Publishers.; 2003.

Mitchell. Gary, Porter. Sam, Manias. Elizabeth. Enabling sustained communication with patients for safe and effective management of oral chemotherapy: A longitudinal ethnography. Journal of Advanced Nursing 2021;77:899-909.

Friese CR, Wong M, Fauer A, Mendelsohn-Victor K, Polovich M, McCullagh MC. Oncology nurses’ exposure to hazardous drugs in ambulatory settings: Case report analysis from a prospective, multi-site study. Clinical Journal of Oncology Nursing 2020;24:249-55.

Hanna KS, Segal EM, Barlow A, Barlow B. Clinical strategies for optimizing infusion center care through a pandemic. Journal of Oncology Pharmacy Practice 2020;27:165-79.

Chemotherapy at home: Tips for patients [database on the Internet]. 2021 [cited January 21]. Available from: https://www.cancer.gov/about-cancer/treatment/types/chemotherapy/chemotherapy-at-home-patient.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-28