ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพ ของผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงในบริบทชุมชนเมืองภาคใต้

ผู้แต่ง

  • กมลชนก ทองเอียด คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • พิไลพร สุขเจริญ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • สดากาญจน์ เอี่ยมจันทร์ประทีป คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • จิดาภา พลรักษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ทางสุขภาพ , ผู้สูงอายุ, วิถีชุมชนภาคใต้

บทคัดย่อ

บทนำ: จากการที่ผู้สูงอายุป่วยด้วยความดันโลหิตสูง ความรอบรู้ทางสุขภาพเป็นแนวคิดที่มีส่วนทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลตนเอง และดูแลตนเองได้ถูกต้อง

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพ และการเรียนรู้ของผู้สูงอายุหลังได้รับการส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพ

ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยผสานวิธีชนิดปริมาณนำคุณภาพ 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิจัยกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลัง  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงของเทศบาลหลังสวน จังหวัดชุมพร จำนวน 60 คน  เครื่องมือวิจัย ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพ และแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพ มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค .89 วิเคราะห์ด้วยสถิติ Paired Samples t-test ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสนทนากลุ่มกับผู้สูงอายุที่ได้รับโปรแกรม 12 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ คำถามปลายเปิดกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย: ภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ทางสุขภาพโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t = 10.14, p < .05) โดยพบข้อมูลเชิงคุณภาพสนับสนุนเชิงปริมาณ 4 ประเด็น ได้แก่ อัมพาตติดเตียงเป็นภัยเงียบของโรคความดันโลหิตสูง การหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มและลดการเติมเครื่องปรุงรส การควบคุมอารมณ์และหมั่นทำจิตใจให้สงบ และการออกกำลังกายทุกวันอย่างสม่ำเสมอ

สรุปผล: โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพสามารถเพิ่มความรอบรู้ทางสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้แก่ผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงได้

ข้อเสนอแนะ: ควรมีการประยุกต์ใช้โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่ผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง เพื่อเกิดความรอบรู้ทางสุขภาพ และดูแลตนเองได้ถูกต้อง

References

Sukcharoen P, Rakhab A, Thongied K. The Concerns of Seniors in Suratthani: Lessons Learned from an Elderly School. J Humanities and Social Sci 2019;11(1):61-81. (in Thai).

Thongied K, Sukcharoen P, Tanseng K, Meesit A, Kongkate P. A model for enchancing the quality of life among the elderly in Chang sai sub-district, Suratthani province. NRRU Community Research Journal 2022;16(1):116-28. (in Thai).

Popejoy LL, Galambos C, Stetzer F, Popescu M, Hicks L, Khalilia MA, et al. Comparing Aging in Place to Home Health Care: Impact of Nurse Care Coordination On Utilization and Costs. Nurs Econ 2015;33(6):306-13.

Nutbeam D, McGill B, Premkumar P. Improving health literacy in community populations: a review of progress. H promotion int 2018;33(5):901–11.

Ministry of Public Health. Situation of hypertension [Internet]. 2020 [cited 2021 Jul 7]. Available from: https://moph.go.th/index.php/news/read/275

Khantamoon R, Daenseekaew S. Self-Management among people with uncontrolled hypertension. J Nursing and Health Care 2017;35(2): 89-97. (in Thai).

Byrne D. Understanding and mitigating low health literacy. Nursing standard 2022;37(10):27–34.

Turner K, Rakkwamsuk S, Duangchai O. Health literacy of nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Chonburi. J of health science research 2018;16(1): 1-9. (in Thai).

Wittink H, Oosterhaven J. Patient education and health literacy. Mus science & practice 2018;38:120–7.

Liu C, Wang D, Liu C, Jiang J, Wang X, Chen H, et al. What is the meaning of health literacy? A systematic review and qualitative synthesis. Fam Med Community Health 2020;8(2):1-8.

Halladay JR, Donahu K., Cene CW, Li Q, Cummings DM, Hinderliter A. et al. The association of health literacy and blood pressure reduction in a cohort of patients with hypertension: The heart healthy lenoir trial. Patient education and counseling 2017;100(3):542–9.

Department of Health [Internet]. 2019 [cited 2022 Sep 1]. Available from: https://mwi.anamai.moph.go.th/webupload/migrated/files/mwi/n1139_a5a9caa9ec03f3d810c1f83cb7da874e_article_2018 0924133139.pdf.

Sukcharoen P, Polruk J, Namnual S. The efficacy of program to promote health literacy of hypertension patients: A Case Study of Tha-Chi Subdistrict, Ban Na San District, Surat Thani Province. Suratthani: Suratthani Rajabhat University; 2021. Sponsored by Suratthani Rajabhat University. (in Thai).

Sorensen K, Levin D, Duong TV, Okan O, Brasil V, Nutbeam D. Building health literacy system capacity: a framework for health literate systems. H promotion inter 2021;36: 13–23.

Pannark P, Moolsart S, Kaewprom C. The Effectiveness of a Program for Health Literacy Development of the Patients with Uncontrolled Type 2 Diabetes at Bangwua District, Chachoengsao Province. NJ of the Ministry of Public Health 2017;27(3):91-106. (in Thai).

Nawsuwan K, Singhasem P, Yimyearn Y. Relationship and the Predictive Power of Social Support on the Practice of Hypertensive Patients. Borom C of Nursing, Uttaradit Journal 2016;8(1):1-13. (in Thai).

Kummak P, Kummak S, Kagmmunee M. Factors Related to Self-Care Behaviors among Patients with Hypertension. J of the Southern College of Nursing and Public Health Network 2015;2(3):74-91. (in Thai).

Aboumatar HJ, Carson KA, Beach MC, Roter DL, Cooper LA. The impact of health literacy on desire for participation in healthcare, medical visit communication, and patient reported outcomes among patients with hypertension. J Gen Intern Med 2013;28(11):1469–76.

Thepin K, Moolsart S, Jantacumma N. Effectiveness of a Health Literacy Developmental Program in Patientswith Uncontrolled Hypertension. Borom College of Nur, Uttaradit Journal 2019; 11(1): 197-212. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-28