ประสบการณ์การใช้เครื่องพยุงชีพที่บ้านในผู้ป่วยระยะท้าย: การวิจัยเชิงคุณภาพ

ผู้แต่ง

  • รติมา องอาจอิทธิชัย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย
  • เพ็ญจันทร์ ประดับมุข-เชอร์เรอร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พิมพวัลย์ บุญมงคล คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

เครื่องพยุงชีพ, ผู้ป่วยระยะท้าย , ประสบการณ์ความเจ็บป่วย

บทคัดย่อ

บทนำ: เครื่องพยุงชีพได้เข้ามามีบทบาทอันสำคัญในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะท้าย และส่งผลทั้งทางบวกและลบต่อประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแล

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสบการณ์การใช้เครื่องพยุงชีพของผู้ป่วยระยะท้าย โดยมุ่งเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยี ผู้ป่วย และสังคม

ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบรายกรณี ผู้ให้ข้อมูลคัดเลือกแบบเจาะจง เป็นผู้ดูแลและผู้ป่วยระยะท้ายที่สามารถสื่อสารได้จำนวน 18 คน จาก 12 ครอบครัว และบุคลากรทางการแพทย์ 5 คน ใช้วิธีสัมภาษณ์เรื่องเล่าในผู้ป่วยและผู้ดูแล สัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคลากรทางการแพทย์และการสังเกตการใช้อุปกรณ์ที่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลแก่นสาระ

ผลการวิจัย : ประสบการณ์การใช้เครื่องพยุงชีพมี 3 มิติ 1) เครื่องพยุงชีพกับความเจ็บป่วยระยะท้าย พบว่า เครื่องพยุงชีพมีความหมายต่อการยื้อชีวิต ให้มีชีวิตต่อไปแบบมีคุณภาพชีวิต ไม่ทุกข์ทรมาน 2) เครื่องพยุงชีพกับโลกชีวิตของผู้ป่วย เครื่องพยุงชีพเป็นเสมือนอวัยวะที่ขาดไม่ได้ เป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิต ส่งผลทั้งทางจิตใจ ร่างกาย และสังคมของผู้ป่วยด้วยเหตุแห่งการต้องพึ่งพิง ความกลัว ความไม่แน่นอน 3) เครื่องพยุงชีพในบริบททางการแพทย์ เป็นสัญลักษณ์ของชุดความรู้ทางการแพทย์ มีการถูกสอดส่อง ติดตาม ผ่านแนวปฏิบัติทางการแพทย์ ผู้ดูแลและผู้ป่วยมีการต่อรองต่อข้อปฏิบัติทางการแพทย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม

สรุป: เครื่องพยุงชีพ มิได้มีความเป็นวัตถุวิสัยแต่มีปฏิสัมพันธ์ มีความหมายเชื่อมโยงกับประสบการณ์ความเจ็บป่วย ชีวิตผู้ป่วย ผู้ดูแล และบริการทางการแพทย์

ข้อเสนอแนะ: บุคลากรทางการแพทย์ควรจัดระบบการดูแลอย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการแบบองค์รวม เพื่อเสริมพลังให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีชีวิตที่ดีในการใช้เครื่องพยุงชีพที่บ้าน ควรส่งเสริมการดูแลที่เกี่ยวข้องกับเครื่องพยุงชีพเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการเฉพาะของผู้ป่วยและญาติ

Downloads

Download data is not yet available.

References

Ballangrud R, Bogsti B, Johansson IS. Clients’ experiences of living at home with a mechanical ventilator. J Adv Nurs 2009;65(2):425–34.

Ørtenblad L, Carstensen K, Væggemose U, Løvschall C, Sprehn M, Küchen S, et al. Users' experiences with home mechanical ventilation: A review of qualitative studies. Respir Care 2019;64(9):1157-68.

Briscoe WP, Woodgate RL. Sustaining self: The lived experience of transition to long-term ventilation. Qual Health Res 2010;20(1):57-67.

Ingadottir TS, Jonsdottir H. Technological dependency - the experience of using home ventilators and long-term oxygen therapy: patients’ and families’ perspective. Scand J Caring Sci 2006;20(1):18-25.

Hansson SO. Philosophy of medical technology. In: Meijers A, Gabbay DM, Thagard P, Wood J, editors. Handbook of the philosophy of science. Volume 9: Philosophy of technology and engineering sciences. North Holland: Elsevier; 2009. p. 1275-1300.

Stanworth M. Reproductive technologies: Gender, motherhood and medicine. Minneapolis: University of Minnesota Press; 1987.

Daly J, Guillemin M, Hill S. Technology and health: Critical compromises. Victoria: Oxford University Press; 2001.

Law M. Michel Foucault's historical perspective on normality and restrictive environments. Can. J. Rehabil 1992;5(4): 193–203.

Daly J. The RCT, information technology and research into women’s health. In Daly J, Guillemin M, Hill S, editors. Technology and health: Critical compromises. Victoria: Oxford University Press;2001. p.16-30.

Scheper-Hughes N, Lock MM. The mindful body: A prolegomenon to future work in anthropology. Med Anthropol Q 1987;1(1):6-41.

Chaiweeradet M., Oumtanee A. Experiences of being an adult patient receiving ventilator. Songklanagarind J Nurs 2013;33(2):31-46. (In Thai).

Rodcham A, Duangpaeng S, Deenan A. Experiences of persons with endotracheal Intubation. The 12th Khon Kaen University Graduate Research Conference, Konkean, Thailand. (In Thai)

Lincoln, Y.S., & Guba, E.G. Naturalistic inquiry. Sage. Thousand Oaks; 1985.

Braun V, Clarke V. Using thematic analysis in psychology. Qual. Res. Psychol 2006;3:2,77-101.

Haraway D. A cyborg manifesto. In: Bell, D. and Kennedy, MB., editors. The cyber cultures reader. London: Routledge; 2000. p. 291-324.

Biehl J, Good B, Kleinman A. Subjectivity. London: California Press; 2007.

Good MD. The medical imaginary and the biotechnical embrace: Subjective experiences of clinical scientists and patients. In: Biehl J., Good B. & Kleinman A, editors. Subjectivity. London: California Press; 2007. p. 362-80.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-25