ปัจจัยทำนายการตัดสินใจรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ของประชาชน ในเขตสุขภาพที่ 5

ผู้แต่ง

  • กมลพร แพทย์ชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนนก
  • กันตภณ เชื้อฮ้อ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนนก
  • ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนนก
  • นงนุช วงศ์สว่าง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ปัจจัยทำนาย , การตัดสินใจ , วัคซีนโควิด 19

บทคัดย่อ

บทนำ: การรับวัคซีนป้องกันโควิด 19 สามารถลดความรุนแรงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนและช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ แต่พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังคงปฏิเสธการตัดสินใจเข้ารับการฉีดวัคซีนดังกล่าว

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการตัดสินใจการรับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในเขตสุขภาพที่ 5

ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบวิจัยเชิงพยากรณ์ ศึกษาในประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตสุขภาพที่ 5 จำนวน 1,159 คน สมัครใจตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพ (Health Belief Model) ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 ผ่านระบบออนไลน์

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 82.14 อายุ 19-59 ปี ร้อยละ 81.02 การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 60.83 และประกอบอาชีพร้อยละ 88.09 มีค่าเฉลี่ยการรับรู้ประโยชน์ของการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 (gif.latex?\bar{x} =4.00, SD=0.77) การรับรู้ความรุนแรงของโรคโควิด 19 ( gif.latex?\bar{x}=3.93, SD=0.68) การรับรู้ความเสี่ยงของโรคโควิด 19 ( gif.latex?\bar{x}=3.65, SD=1.06) และการรับรู้อุปสรรคของเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 (gif.latex?\bar{x}=3.53, SD=0.89) อยู่ในระดับมาก การประกอบอาชีพ  การรับรู้ประโยชน์ของการเข้ารับการฉีดวัคซีน และการรับรู้อุปสรรคของการเข้ารับการฉีดวัคซีนมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจรับวัคซีนโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

สรุปผล: ผู้ที่ประกอบอาชีพมีโอกาสตัดสินใจไปรับวัคซีนมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพประมาณ 2.05 เท่า (p= .009, 95% CI; 1.11-3.78) อีกทั้งหากประชาชนมีการรับรู้ประโยชน์ของการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 อยู่ในระดับสูงจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจไปรับวัคซีนเพิ่มขึ้น 2.39 เท่า (p= .007, 95% CI; 0.68-8.39) ในขณะที่หากการรับรู้อุปสรรคของการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของประชาชนอยู่ในระดับสูงก็จะมีผลต่อการตัดสินใจไปรับวัคซีนลดลงเหลือเพียง 0.21 เท่า (p= .009, 95% CI; 0.50-0.86)

ข้อเสนอแนะ: ประชาชนควรได้รับการส่งเสริมความรอบรู้เกี่ยวกับประโยชน์และลดปัจจัยอุปสรรคของการรับวัคซีนให้มากขึ้นเพื่อส่งเสริมความครอบคลุมของการฉีดวัคซีนโควิด 19

References

World Health Organization. COVID-19 weekly epidemiological update edition 111 published 28 September 2022 [Internet]. 2022 [cited 2022 October 1]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/situation-reports/.

World Health Organization. COVID situation, Thailand 28 September 2022 [Internet]. 2022 [cited 2022 October 1]. Available from: https://cdn.who.int/media/docs/default-source/searo/thailand/2022_09_29_tha-sitrep-248-covid-19.pdf?sfvrsn=8255d711_1. (in Thai)

Watson OJ, Barnsley G, Toor J, Hogan AB, Winskill P, Ghani AC. Global impact of the first year of COVID-19 vaccination: A mathematical modelling study. Lancet Infect Dis [Internet]. 2022 [cited 2022 October 1];22(9):1293–302. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/S1473-3099(22)00320-6

Department of Disease Control, Thailand. Situation of COVID-19 vaccination, 37th weekly report for September 2022 [Internet]. 2022 [cited 2022 October 1]. Available from: https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/diaryReportMonth/09/9/2022. (in Thai)

Becker MH. The Health Belief Model and sick role behavior. Health Education Monographs 1974;2(4):409-419.

Department of Disease Control, Thailand. Situation of COVID-19 vaccination, 31, July 2021 [Internet]. 2021 [cited 2022 October 1]. Available from: https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/getFiles/9/1627802716832. (in Thai)

Krongyuth P, Khumkaew J, Sarati P, Sukaree W. Factors associated with the intension to receive influenza vaccination among elderly people with chronic diseases : Warinchamrab district , Ubon Ratchathani province. J Sci Technol MSU 2018;37(6):815–22. (in Thai)

Inthacharoen A, Kanchanapoom K, Tansakul K, Pattapat S. Factors influencing preventive behavior towards Coronavirus Disease 2019 among people in Khohong Town Municipality Songkhlaprovince. J Counc Community Public Heal [Internet]. 2021[cited 2022 October 1];3(2):19–30. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/247672%0Ahttps://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/247672/169806. (in Thai)

Khantichitr P, Promwong W, Keawmanee C, Charoenukul A. Health Belief Model in the prevention of Corona Virus Disease 2019 (COVID -19) among people in Ubon Ratchathani province. J Heal Sci Boromarajonani Coll Nurs Sunpasitthiprasong 2019;5(2):39–53. (in Thai).

Trakultaweesuk P. Factors of influence COVID-19 vaccine intent and vaccine’s concerns among hospital staffs. J Res Heal Innov Dev 2022;3(1):47–58. (in Thai).

Payaprom Y, Tantipong H, Manasatchakun P, Chandeekeawchakool S, Khamchai S. COVID-19 vaccine acceptance from the perspective of people living in northern Thailand: A mixed methods research. Nurs J C 2022;49(2):41–54. (in Thai).

Limbu YB, Gautam RK, Pham L. The Health Belief Model applied to COVID-19 vaccine hesitancy: A systematic review. Vaccines 2022;10(6):1–13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-17