การพัฒนาแบบประเมินภาวะสุขภาพสำหรับผู้ช่วยพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ทินกร บัวชู คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ทิฏฐิ ศรีวิสัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • เสน่ห์ ขุนแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ยุวดี แตรประสิทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ
  • ณัฐนันท์ คำพิริยะพงศ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุวารี โพธิ์ศรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ , แบบประเมินภาวะสุขภาพ , ผู้ช่วยพยาบาล

บทคัดย่อ

บทนำ: การประเมินภาวะสุขภาพที่มีประสิทธิภาพจะนำไปสู่การจำแนกปัญหาสุขภาพและสามารถวางแผนกิจกรรมการช่วยเหลือดูแลได้เฉพาะเจาะจงกับผู้ป่วยรายบุคคลได้

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและพัฒนาแบบประเมินภาวะสุขภาพสำหรับผู้ช่วยพยาบาล

ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยพยาบาลและอาจารย์พยาบาล จำนวน 355 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินภาวะสุขภาพ เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) รายข้อ อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคทั้งฉบับ เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยใช้การสกัดด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉากด้วยวิธีแวริแมกซ์

ผลการวิจัย: จากการวิเคราะห์องค์ประกอบ ค่า Kaiser-Meyer-Olkin Measure of Sampling Adequacy (KMO) ได้เท่ากับ .961 และเมื่อทดสอบด้วยค่า Bartlett’s test of Sphericity พบว่า มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 และองค์ประกอบที่ 1-8 สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนได้ทั้งหมด ร้อยละ 67.264 ดังนั้นแบบประเมินภาวะสุขภาพ ประกอบด้วย 8 แบบแผน ได้แก่ 1) แบบแผนการรับรู้ภาวะสุขภาพและประวัติการเจ็บป่วย 2) แบบแผนการรับประทานอาหารและการขับถ่าย 3) แบบแผนการพักผ่อนนอนหลับ 4) แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย 5) แบบแผนอัตลักษณ์ส่วนบุคคลและสุขภาพทางเพศ 6) แบบแผนสุขภาพจิตและการปรับตัว 7) แบบแผนสัมพันธภาพในครอบครัวและบทบาททางสังคม และ 8) แบบแผนคุณค่าและความเชื่อ

สรุปผล: การวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นถึงแบบประเมินภาวะสุขภาพสำหรับผู้ช่วยพยาบาลที่เหมาะสมตามขอบเขตหน้าที่ ที่ครอบคลุมภาวะสุขภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญาณ

ข้อเสนอแนะ: อาจารย์พยาบาลสามารถนำแบบประเมินภาวะสุขภาพไปใช้ประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยรายบุคคล สำหรับนักศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล

References

Punthasri P. Nursing process & functional health pattern: application in clinical practice. 24th ed. Bangkok: Pimasksorn Limited Partnership; 2020. (in Thai).

Osman W, Ninnoni JPK, Anim MT. Use of the nursing process for patient care in a ghanaian teaching hospital: a cross sectional study. International Journal of Africa Nursing Sciences 2021;14(2021):100281.

Awasum GT, Dufashwenayesu A. Implementation of the nursing process in sub-saharan africa: an integrative review of literature. International Journal of Africa Nursing Sciences 2021;14(2021):100283.

Harnyoot O. Nursing process and implications. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2014;15(3):137-43. (in Thai).

Cheevakasaemsook A. Health assessment to quality nursing diagnosis: principles, issue and resolution. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2021;22(1):38-46. (in Thai).

Hair J, Anderson R, Tatham R, Black W. Multivariate data analysis. 5th ed. New Jersey: Prentice Hall; 1998. (in Thai).

Srisatidnarakul B. The methodology in nursing research. Bangkok: U&I Inter Media; 2010. (in Thai).

Boyd MA. Essentials of psychiatric nursing. 7th ed. China: Wolters Kluwer; 2017.

Khatiban M, Tohidi S, Shahdoust T. The effects of applying an assessment form based on the health functional patterns on nursing student’s attitude and skills in developing the nursing process. International Journal of Nursing Sciences 2019;6(2019):329-333.

Pedersen HF, Holsting A, Frostholm L, Rask C, Jensen JS, Hoeg MD, Schroder A. “Understand your illness and your needs”: assessment-informed patient education for people with multiple functional somatic syndromes. Patient Education and Counseling 2019;102(9):1662-1671.

Tomaso CC, et al. The roles of sleep and executive function in adolescent nighttime eating. Eating Behaviors 2022;46(2022):101657.

Pretorius D, Mlambo M, Couper LD. “We are not truly friendly faces”: primary health care doctors’ reflections on sexual history taking in north west province. Sex Med 2022;10(2022):100565.

Videbeck SL. Psychiatric mental health nursing. 7th ed. China: Wolters Kluwer; 2017.

Imkome E. Nursing care for persons with disturbed thought processes and perceptions. 2nd ed. Pathumthani: Thammasat printing house; 2021. (in Thai).

Ren Z, Liu Y, Deng J. Development and validation of the Chinese version of the masturbation beliefs scale. Sex Med 2022;10(2022):100501.

Riley JB. Communication in nursing. 9th ed. Missouri: Elsevier; 2020.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-17