ผลของการให้ความรู้โดยการใช้สังคมออนไลน์ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่โรงพยาบาลราชวิถี

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ วงศ์ษา โรงพยาบาลราชวิถี
  • กลีบแก้ว จันทร์หงษ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การให้ความรู้ , สังคมออนไลน์ , ผู้ป่วยโรคมะเร็ง , อาการข้างเคียง

บทคัดย่อ

บทนำ: การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่รับการรักษาด้วยการรับประทานยาเคมีบำบัดเองที่บ้านถือว่าเป็นการพยาบาลยุคใหม่ที่มีคุณค่าโดยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้าถึงผู้ป่วย ที่สนับสนุนผู้ป่วยให้สามารถดูแลตนเองและบรรเทาอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัดที่จำเป็นต้องรับการรักษาที่ต่อเนื่องและยาวนานได้

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยที่ดูแลตนเองผ่านแอพพลิเคชันไลน์ และกลุ่มที่ได้รับการดูแลแบบปกติต่ออาการข้างเคียงของผู้ป่วยมะเร็ง

ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ประชากรคือผู้ป่วยโรคมะเร็งรับประทานยาเคมีบำบัดที่หน่วยมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลราชวิถี ศึกษาตั้งแต่ มกราคม 2561 ถึง กรกฎาคม 2562 กลุ่มควบคุม 30 ราย ได้รับโปรแกรมการดูแลสุขภาพตนเอง แต่กลุ่มทดลอง 30 รายได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมผ่านแอพลิเคชันไลน์ และตอบคำถามตลอด 24 ชม. การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Chi-square test และ Fishers exact test

ผลการวิจัย: พบว่า ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีอาการข้างเคียงมากที่สุด คือ อาการมือเท้าบวมแดง (ร้อยละ 80.0-86.7) อาการท้องเสียของผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับความรู้ทางสังคมออนไลน์น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับความรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการท้องเสียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศชาย ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสง ส่วนผู้ป่วย ECOG score 0 คะแนน มีอาการแผลในปาก และกลุ่มที่ได้รับความรู้ทางสังคมออนไลน์ cycle ที่ 2,3 และ 6 มีอาการท้องเสีย อาการปวดน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับความรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุปผล: การสื่อสารทางสังคมออนไลน์ในการดูแลผู้ป่วยสามารถช่วยลดอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัดได้  

ข้อเสนอแนะ: การดูแลผู้ป่วยมะเร็งตามโปรแกรมแบบปกติเพิ่มเติมการสื่อสารทางสังคมออนไลน์ที่มีความสะดวก รวดเร็ว ส่งภาพอาการต่างๆ ทำให้พยาบาลสามารถให้คำแนะนำ สนองตอบความต้องการหรือปัญหาทั้งด้านร่างกายจิตใจและช่วยลดอาการข้างเคียงของผู้ป่วยมะเร็งได้

References

Ministry of Public Health. Health Statistics 2017. [Internet]. 2018 [cited 2016 Nov 25]. Available from: http://http://www.pcko.moph.go.th/Health-Statistics/stratistics60.pdf (in Thai).

Viale PH, Fung A, Zitella L. Advanced colorectal cancer: current treatment and nursing management with economic considerations. Clin J Oncol Nurs. 2005; 9: 541-52.

Berg D. Capecitabine: a new adjuvant option for colorectal cancer. Clin J Oncol Nurs. 2006; 10: 479-86.

O’Neill VJ, Twelves CJ. Oral cancer treatment: developments in chemotherapy and beyond. Br J Cancer. 2002; 87: 933-7.

Drug counselling: Capecitabine. [Internet]. 2018 [cited 2016 Nov 25]. Available from: https://www2.lpch.go.th/km/uploads/20170125150718470882.pdf

Hamilton S. Chemotherapy side effect and chemotherapy drug information. [Internet]. 2012 [cited 2016 Nov 25]. Available from: https://chemocare.com/chemotherapy/drug-info/default.aspx

Wilson B. 6 Reasons why nurses should use social media. [Internet]. 2012 [cited 2016 Nov 25]. Available from: http://thenerdynurse.com/2012/06/6

Craven O, Hughes CA, Burton A. Nurse-led telephone follow-up in oral chemotherapy. European Journal of Cancer Care. 2013; 22: 413–9.

Wujcik D. Leukemia. The care of individuals with cancer. In: Yarbro CH, Frogge MH, Goodman M, Groenwald SL, editors. Cancer nursing: principle and practice. 5th ed, Missouri: Jones and Bartlett; 2000. p. 1244-68.

Natason A. Symptoms and symptom managements in cancer patients undergoing chemotherapy. [dissertation]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2007. (in Thai).

Gressett SM, Stanford BL, Hardwicke F. Management of hand-foot syndrome induced by capecitabine. J Oncol Pharm Pract. 2006; 12: 131-41.

Kigen G, Busakhala N, Njiru E, Chite F. Palmar-plantar erythrodysesthesia associated with capecitabine chemotherapy: a case report- Pan African Medical. 2015.

Clark AS, Vahdat LT. Chemotherapy-induced palmar-plantar erythrodysesthesia syndrome: etiology and emerging therapies. Support Cancer Ther. 2004; 1: 213-8.

Radiotherapy and Oncology Chula cancer. Self-care of patients receiving abdominal and pelvic radiation. [Internet]. 2006. [cited 2016 Nov 25]. Available from: http://www. chulacancer.net/patient-list-page.php?id=84 (in Thai).

O'Brien PC. Radiation injury of the rectum. Radiother Oncol. 2001 Jul; 60 (1): 1-14. [PubMed]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-25