รูปแบบการพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานการดำเนินงานกลไกประสานงานหลักประกันสุขภาพวิถีพุทธ เพื่อเพิ่มการรับรู้สิทธิหลักประกันสุขภาพของพระสงฆ์

ผู้แต่ง

  • อติญาณ์ ศรเกษตริน วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • พัชรี ชูกันหอม วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • วรวุฒิ แสงทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • สุทธานันท์ กัลกะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

พระสงฆ์, หลักประกันสุขภาพวิถีพุทธ , การรับรู้สิทธิหลักประกันสุขภาพ

บทคัดย่อ

บทนำ: การพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานการดำเนินงานกลไกการประกันสุขภาพวิถีพุทธให้แก่พระสงฆ์จะทำให้พระสงฆ์มีการรับรู้ และเข้าถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพมากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานการดำเนินงานกลไกประสานงานหลักประกันสุขภาพวิถีพุทธของพระสงฆ์ เพื่อเพิ่มการรับรู้สิทธิหลักประกันสุขภาพของพระสงฆ์

ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงจากพื้นที่ 4 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ประกอบด้วย 1) พระสงฆ์ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้สิทธิหลักประกันสุขภาพของพระสงฆ์ จำนวน 108 รูป และ 2) พระสงฆ์เเละเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย รูปแบบและคู่มือศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพวิถีพุทธ แบบสอบถามการรับรู้สิทธิหลักประกันสุขภาพของพระสงฆ์ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.6 - 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ paired simples t-test  

ผลการวิจัย: จากผลการวิจัยพบว่า 1) พระสงฆ์มีความต้องการรูปแบบการพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานการดำเนินงาน กลไกประสานงานหลักประกันสุขภาพวิถีพุทธของศูนย์ประสานงานวิถีพุทธ  ประกอบด้วย การถวายความรู้แก่พระสงฆ์เรื่องการใช้สิทธิการรักษาด้านสุขภาพและความรู้ในการดูแลสุขภาพ การพัฒนาสาระการเรียนรู้ การคัดกรองสุขภาพของพระสงฆ์ การพัฒนาฐานข้อมูลสุขภาพ และการสร้างเครือข่ายพระสงฆ์ด้านหลักประกันสุขภาพ 2) รูปแบบการพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานการดำเนินงานกลไกประสานงานหลักประกันสุขภาพวิถีพุทธ เพื่อเพิ่มการรับรู้สิทธิหลักประกันสุขภาพของพระสงฆ์ มี 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 แลกเปลี่ยนข้อเสนอเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานการดำเนินงานกลไกประสานงานหลักประกันสุขภาพวิถีพุทธ ขั้นตอนที่ 2 จัดกิจกรรมการอบรมด้านหลักประกันสุขภาพสำหรับพระสงฆ์ ขั้นตอนที่ 3 การคัดกรองสุขภาพ และขั้นตอนที่ 4 การสร้างเครือข่ายด้านหลักประกันสุขภาพ 3) คะแนนระดับการรับรู้สิทธิหลักประกันสุขภาพสำหรับพระภิกษุสงฆ์หลังการอบรมด้านหลักประกันสุขภาพอยู่ในระดับดี (Mean = 3.80, SD= 0.10) และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการรับรู้สิทธิหลักประกันสุขภาพของพระสงฆ์พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สูงกว่าก่อนเข้าร่วมอบรมด้านหลักประกันสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 14.57, p = .005) 

สรุปผล: รูปแบบการพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานการดำเนินงานกลไกประสานงานหลักประกันสุขภาพวิถีพุทธประกอบด้วย การแลกเปลี่ยนข้อเสนอเพื่อพัฒนารูปแบบ การจัดกิจกรรมการอบรมด้านหลักประกันสุขภาพ การคัดกรองสุขภาพ และการสร้างเครือข่ายด้านหลักประกันสุขภาพ

ข้อเสนอแนะ: ควรส่งเสริมให้มีการนำรูปแบบการพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานการดำเนินงานกลไกประสานงานหลักประกันสุขภาพวิถีพุทธไปใช้ในพื้นที่โดยปรับให้เหมาะสมกับบริบทและติดตามผลในระยะยาว

References

National Health Security Board. National health security system development strategy, Vol. 4 (2017-2021), Review Edition, B.E. 2019 [Internet]. Available from: http://stream.nhso.go.th/assets/portals/1/fileups/(26)%203_Goals_CSG_2562_Final_Uplo ad.pdf (in Thai).

Phra Thammanoon, Phosing P. Public policy healthy insurance. Thammasat 2016;16(2): 2-10. (in Thai).

Hfocus. Monks and the health insurance system are a big problem that still needs a lot of driving [Internet]. 2018 [cited 2022 Jan 17]. Available from: https://www.hfocus.org/content/2018/09/16305 (in Thai).

Prachatai. Monks and the health insurance system are a big problem that still needs a lot of driving 2018 [Internet]. 2019 [cited 2022 Jan 17]. Available from:https://prachatai.com/journal/2018/09/78607 (in Thai).

National Health Security Office. Manual for the use of national health security benefits for monks and novices [Internet]. 2020 [cited 2022 Jan 17]. Available from: http:// chrome extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/http://kbphpp.nationalhealth.or.th/bitstream/handle/123456789/21343/UC.pdf?sequence=1&isAllowed=y (in Thai).

Ratchathawan R, Kaewkrajok T, Jongkatekit W, Phromkaew P, Sumdangsan D, Thonglert D. The community participation process in well-being development. Journal of Southern Technology 2018;11(1):231-238. (in Thai).

Chotiksathit S, Phongphueng S. Health status and self-health behaviors of monks in the district, Muang district, Ranong province. Journal of Lanna Public Health 2020;6(3):1-11. (in Thai)

PraKru Suvithanpatthanabandi, Daengharn T, Vapuchavitee S. Model development of monk’s holistic health care in Khon Kaen province. Journal of the Office of DPC 6 Khon Kaen 2015;22(2):117-29. (in Thai)

Office of Policy and Planning National Health Security Office. Support for monks has access to public health services. Bangkok: Usa Printing Press; 2011. (in Thai)

Singham P, Nitirat P. Health care for monks in a Muang district, Nakon Ratchasima: What are the health needs of monks. Journal of Health and Nursing Research 2022;38(1): 122- 135. (in Thai).

National Health Security Office. National health security fund management manual fiscal year 2020 Bangkok: J.J. Sang Chan Printing; 2019. (in Thai).

Hengcharoen S, Wirunraj B. Guidelines for the management of government hospitals to support the service of monks. Journal of Graduate School of Commerce Burapha Review 2017;12(1):17-27. (in Thai)

Talayrat P. Development of monk's health care model to away from diabetes, hypertension and heart disease in Chonburi province [master’s degree]. Chonburi: Burapha University; 2017. (in Thai)

Jai-aree C, Buacharoen H. Development of a health service system for sick monks in Nakhon Pathom province. Journal of Cardiovascular-Thoracic Nursing 2020;31(2): 112-126. (in Thai)

Jirapakpong C, Suwannapa C, Mongkongpipatphon P, Attawong P. Buddhist monk’s well-being: A development of well-being promotion model on buddhist way by community public health integration for good life quality in Lampang province. Veridian E-Journal, Silpakorn University 2019; 12(6):1227-1247. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22