การรับรู้ การป้องกัน และการจัดการต่อการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์

ผู้แต่ง

  • รัตติกร เมืองนาง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์
  • ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์
  • ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์
  • สุมัทณา แก้วมา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์
  • เจียมใจ ศรีชัยรัตนกูล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์

คำสำคัญ:

การรับรู้ , การป้องกัน , การจัดการ , การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ , นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

บทนำ: ในยุคดิจิทัลการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์สามารถทำได้ทุกที่และไม่จำกัดเวลา ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ และอาจจะรุนแรงจนถึงขั้นทำร้ายตนเองได้

วัตถุประสงค์การวิจัย: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ การป้องกัน และการจัดการต่อการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ 

 ระเบียบวิธีวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง จำนวน 246 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ และ 2) แบบสอบถามการรับรู้ การป้องกัน และการจัดการต่อการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์  ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อติดต่อสื่อสารมากที่สุด ร้อยละ 92.68 โดยเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ใช้มากที่สุด คือ Facebook ร้อยละ 85.37 และใช้เวลากับเครือข่ายสังคมออนไลน์ในแต่ละวันมากกว่า 4 ชั่วโมง ร้อยละ 58.13 กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้เกี่ยวกับการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ การป้องกันการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ และมีการจัดการต่อการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ โดยภาพรวมในแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}=3.68, S.D.=0.52; gif.latex?\bar{x}=4.11, S.D.=0.62 และ gif.latex?\bar{x}=3.83, S.D.=0.70 ตามลำดับ)

สรุปผล: นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อติดต่อสื่อสารผ่านทาง Facebook มากที่สุด และมีการรับรู้เกี่ยวกับการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ การป้องกันการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ และการจัดการต่อการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์อยู่ในระดับมาก

ข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษานี้นำไปเป็นข้อมูลในการเสริมสร้างความรู้ที่ถูกต้องสำหรับนักศึกษาพยาบาลเกี่ยวกับพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์และวิธีการรับมือเมื่อถูกกลั่นแกล้งได้อย่างเหมาะสม

References

National Statistical Office, Ministry of Digital Economy and Society. The 2021 (Quarter 3) Household survey on the use of information and communication technology (internet). 2021 (cited 2022 January 12). Available from: http://www.nso.go.th

National Statistical Office, Ministry of Digital Economy and Society. The 2020 Household Survey on the Use of Information and Communication Technology (internet). 2021 (cited 2022 January 4). Available from: http://www.nso.go.th

Archaphet N. Cyberbullying: aggressive misbehavior and innovation for solution. The Journal of Social Communication Innovation 2017;5(1):101-106. (In Thai).

ETDA. Cyberbullying (Internet). 2019 (cited 2022 March 14). Available from: https://www.etda.or.th/th/Knowledge-Sharing/Cyberbullying-in-IFBL.aspx

Nopphalai K. Legal issues to deploy to the case cyber-bullying though social network (Thesis). Bangkok: Bangkok University; 2017. (In Thai).

Bharati M, Chalise DG, Bhandari S, Gautam P, Ambu KC, Regmi K, Adhikari B. Experience of cyberbullying among Nursing Students. Journal of Karnali Academy of Health Sciences 2021;4(1):1-8.

Bauman S, Toomey RB, Walker JL. Associations among bullying, cyberbullying, and suicide in high school students. Journal of Adolescence 2013;36(2):341-50.

Campbell M, Spears B, Slee P, Butler D, Kift S. Victims’ perceptions of traditional and cyberbullying, and the psychosocial correlates of their victimisation. Emotional & Behavioural Difficulties 2012;17(3/4):389–401.

Chanpradab J. Cyberbullying. NCD Security Review 2020;3:1-27. (In Thai).

Akbar J, Huang TW, Anwar F. The development of cyberbullying scale to investigate bullies among adolescents. Proceedings of the International Conference on Humanities Sciences and Education ICHE; 2014 March 24-25; Kuala Lumpur, Malaysia.

Chailaisathaporn S, Prasertsin U, Techataweewan W. Experiences and guidelines of coping in young Thai victims of cyberbullying. Journal of Research aand Curriculum Development 2017;7(2):215-34. (In Thai).

Samoh N, Boonmongkon P, Ojanen TT, Samakkeekarom T, Guadamuz TE. Youth perceptions on cyberbullying. Journal of Behavioral Science for Development 2013; 6(1):351-64. (In Thai).

Sittichai R, Tudkuea T. Cyberbullying behavior among youth in the three southern border provinces, Thailand. Academic Services Journal 2017;28(1):86-99. (In Thai).

Paowiriya H, Boonnate N, Chaisena Dallas J, Suppaseemanont W. Cyberbullying behavior and cybervictimization among nursing students. Nursing Journal 2021;48(1):159-73. (In Thai).

Chopsiang L, Srisoem C, Boonchawee P, Thongprasan J, Srichat N. Perception and self-management for online social media bullying of nursing students in Boromarajonani College of Nursing Sunpasitthipasong. Journal of Health Science in Boromarajonani College of Nursing Sunpasitthipasong 2021;5(1):22-33. (In Thai).

Polit DF, Beck CT. Nursing research: generating and assessing evidence for nursing practice. 10th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer Health; 2017.

Yamane T. Statistics: An introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row; 1973.

Charoenwanit S. Cyber Bullying: impacts and preventions in adolescents. Thai Journal of Science and Technology 2017;25(4):639-48. (In Thai).

Doungpet, B. Cyberbullying of higher education students in Chiang Mai (Thesis). Chiang Mai: Maejo University; 2016. (In Thai).

Athanasiades C, Kamariotis H, Psalti A, Baldry AC, Sorrentino A. Internet use and cyberbullying among adolescent students in Greece. Hellenic Journal of Psychology 2015;12(1),14-39.

Witkus SG. Cyber bullying among Filipino adolescents (Thesis). (Internet). 2012 (cited 2021 July 21). Available from:

https://scholarspace.manoa.hawaii.edu/bitstream/10125/100793/1/Witkus_Shella_r.pdf

Santawee K. Social network: The new trend of public sphere and civil society. The journal of social communication innovation 2014;2(2):19-35. (In Thai).

Surat P. Causes and effects related with cyber bullying: A case study of cybervictim Thai youths. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology 2018;4(1):260-73. (In Thai).

Daopradub P, Worakullattanee K. Types and audience engagement of online cyberbullying. Journal of Communication and Management NIDA 2018;4(3):63-78. (In Thai).

Sirisomrutai C. Perception, attitude, and behaviour intention (Thesis). Bangkok: Bangkok University; 2018. (In Thai).

Langos C. Cyberbullying: The challenge to define. Cyberpsychology, Behavior, and Social Networking 2012;15(6): 285-289.

Lall GR, Lall BM. Ways children learn. Illinois: Charles C. Thomas Publishers; 1983.

Lazarus RS, Folkman S. Stress: appraisal and coping. New York: Springer Publishing; 1984.

Inthanon S, Sermsinsiri P. The study of how youth can protect themselves from cyberbullying. Paper presented at second UTCC Academic Day. 2018 June 2: University of the Thai Chamber of Commerce;1396-1406. (In Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-01