กระบวนการเรียนการสอนออกแบบด้วยการสะท้อนคิด ที่เสริมสร้างความเป็นนวัตกรทางการพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ชญาภรณ์ เอกธรรมสุทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
  • ภัทรา สุวรรณโท วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี กรุงเทพ

คำสำคัญ:

กระบวนการเรียนการสอน, นวัตกรพยาบาล, นวัตกรรม

บทคัดย่อ

บทนำ: นวัตกรทางการพยาบาล เป็นผู้ที่มีความสามารถในการสร้างหรือพัฒนาสิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์ และมีคุณค่า เพื่อตอบสนองความต้องการและบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ต้องอาศัยกระบวนการคิดสร้างสรรค์ร่วมกับจินตนาการ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับพยาบาลที่จะพัฒนา ปรับปรุงคุณภาพการบริการทางพยาบาลให้มีประสิทธิภาพและมีมาตรฐาน ก้าวทันยุคสมัยที่เปลี่ยนไป โดยมุ่งเน้นที่มาตรฐาน ความปลอดภัยที่จะเกิดขึ้นกับผู้รับบริการเป็นหลัก ดังนั้นในฐานะอาจารย์พยาบาลจะสอนผู้เรียนอย่างไรให้สำเร็จเป็นบัณฑิตพันธุ์ใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถจัดการตนเองและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนการสอนที่เสริมสร้างความเป็นนวัตกรทางการพยาบาล ประเด็นสำคัญ นวัตกรทางการพยาบาล สามารถนำความรู้ทางการพยาบาลไปเชื่อมต่อกับความคิดสร้างสรรค์จนเกิดงานสร้างสรรค์ทางการพยาบาล นำไปใช้ประโยชน์ต่อการบริการทางการพยาบาลอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่แค่ความคิด แต่นำความคิดนั้นมาออกแบบให้เกิดผลผลิตทางการพยาบาลที่เป็นสิ่งใหม่ สามารถนำไปใช้ได้จริง และปลอดภัยต่อผู้รับบริการ กระบวนการเรียนการสอนที่สำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ นำไปสร้างผลผลิตให้เกิดเป็นรูปธรรม ต้องมีความท้าทายและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงศักยภาพ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนที่เป็นวงจรต่อเนื่อง ได้แก่ 1) เปิดใจ ใคร่ครวญ ตระหนักรู้ 2) ค้นหา ศึกษา ใส่ใจ 3) แลกเปลี่ยน เรียนรู้ สู่ความสร้างสรรค์ 4) ก่อร่าง ทดสอบ ตอบโจทย์ 5) สะท้อนคิด ก่อเกิด เรียนรู้ สรุป กระบวนการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความเป็นนวัตกรทางการพยาบาล จะไม่สำเร็จถ้าขาดแรงจูงใจหรือแรงบันดาลใจทั้งของผู้สอนและผู้เรียน โดยผู้สอนต้องมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผู้เรียน ส่วนผู้เรียนต้องเปลี่ยนกรอบความคิดและเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ เชื่อและศรัทธาในความสามารถของตนเอง กระบวนการเรียนการสอนนี้สอดคล้องกับการพัฒนาพยาบาลยุคใหม่ ให้เป็นผู้สร้างสิ่งใหม่ ๆ นำความรู้ที่ได้รับไปสร้างงานบริการพยาบาล ที่มีคุณภาพ ประชาชนได้รับประโยชน์และเข้าถึงบริการได้มากขึ้น ลดต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการบริการสุขภาพ เกิดคุณค่าต่อวิชาชีพพยาบาล เป็นการยกระดับมาตรฐานและคุณภาพการบริการพยาบาล สู่ความเป็นเลิศและยั่งยืน ข้อเสนอแนะ กระบวนการเรียนการสอนต้องใช้เวลาในการพัฒนากระบวนการคิด การลงมือทำ และการสะท้อนผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดขึ้น ดังนั้นควรจัดสรรเวลาที่ต่อเนื่องให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ครบทุกขั้นตอน

Downloads

Download data is not yet available.

References

Chan ZCY. A systemic review of creative thinking/creativity in nursing education. Nurse Education Today [Internet]. 2012 [cited 2021 Jun 20]; 33:1382-7. Available from: http://dx.doi.org/ 10.1060/j.nedt. 2012.09.005.

Wimonsiri P. Twenty years national strategy, the future of Thailand for security, Wealthand Sustainability [Document Online]. 2016 [cited 2021 Jun 20]. Available from: http://planning. pn.psu. ac.th/plan_doc/procedure / docs_procedure / 300_ 1498813858.pdf. (in Thai)

Ministry of Education. Qualifications framework for nursing science program [Internet]. 2017[cited 2021 Jun 20]. Available from: http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/data6/. (in Thai)

Wichainate K. Reflections: teaching for nursing students to develop critical thinking in nursing practice. Journal of The Police Nurses 2014;6(2):188-99. (in Thai)

Akkadechanunt T. Nurses’ competency and public healthcare innovations in Thailand 4.0 era. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council 2019;34(1):5-13. (in Thai)

Sinlarat P. Education 4.0 is more than education. 2nd ed. Bangkok: Chulalongkorn Publishing House university; 2016. (in Thai)

Office of the Education Council. Guidelines for student-centered learning management: management Learn in a creative way. Bangkok: National Agricultural Cooperative Federation Thai 2007. (in Thai)

White KR, Pillay R, Huang X. Nurse leaders and the innovation competence gap.

Nursing Outlook 2016;64(3): 255-261.

Na JH, Choi Y, Harrison D. The design innovation spectrum: an overview of design influences on innovation for manufacturing companies. International Journal of Design 2017;11(2),13-24.

Kane RL, Huckfeldt P, Tappen R, Engstrom G, Rojido C, Newman D, et al. Effects of an intervention to reduce hospitalizations from nursing homes: a randomized implementation trial of the INTERACT program. JAMA internal medicine 2017;177(9):1257-1264.

Baregheh A, Rowley J, Sambrook S. Towards a multidisciplinary definition of innovation. Management decision 2009; 47(8):1323-1339.

Ramadani V, Gerguri S. Innovations: principles and strategies. Strategic Change 2011;20(3‐4):101-110.

Kaya N., Turan N, Aydın GO. A Concept Analysis of Innovation in Nursing. Procedia- Social and Behavioral Sciences [Internet]. 2015 [cited 2021 Jun 18];195: 1674-1678. Available from: https://doi.org/10.1016/j.sbspro.2015.06.244

Schilling MA. Strategic management of technological innovation. 5th ed. New York:Mc Graw Hill Education; 2017.

Wang L, Li M. On the cultivation of automation majors’ research innovation ability based on scientific research projects. Higher Education Studies 2012;2(4):137-41.

Thongsai S. Nurse and the development of creative thinking. Journal of Phrapokklao Nursing College 2016;27(1):112-9 (in Thai)

Wutirong P. Innovation management: resources learning organization and innovation. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2014

Young G. Design thinking and sustainability. Zumio Meaningful Innovation 2010;61(0), 1-27.

Stamm BV. Managing innovation, design and creativity. 2nd ed. Great Britain: John Wiley & Sons; 2008.

Wongtienlai K, Usaho C, Chaemchoy S. A needs assessment of academic management for Nursing college under the jurisdiction of Ministry of defence based on the concept of innovator competencies of nursing students. Royal Thai Navy Medical Journal 2019;46(3):506-520. (in Thai).

Legare TL, Armstrong DK. Critical reflective teaching practice for novice nurse educators. Teaching and Learning in Nursing [Internet] 2017 [cited 2021 Jun 10];12(4), 312-315. Available from: https://doi.org/10.1016/j.teln.2017.05.004

Sherwood GD and Horton-Deutsch S. Reflective practice: transforming education and improving outcomes. Indianapolis: Sigma Theta Tau International; 2012

Ekthamasuth C. Development of instructional model based on design thinking and reflective practice approaches to enhance nursing innovation abilities of nursing students [doctoral’s thesis]. Bangkok: Chulalongkorn university; 2020. (in Thai)

Man H, Chen H, Jin Q. Open learning: a framework for sharable learning activities. Paper presented at the International Conference on Web-Based Learning; 2010.

Henriksen D, Richardson C, Mehta R. Design thinking: a creative approach to educational problems of practice. Thinking Skills and Creativity 2017;26:140-153.

Melnyk, B. M, Fineout-Overholt, E. Evidence-based practice in nursing & healthcare: a guide to best practice. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2012

Council D. The design process: Eleven lessons: managing design in eleven global brands. CA: Independent; 2014

Sutthawart W, Chuntuk T. Educational innovator’s potential development method.Veridian E-Journal, Silpakorn University 2016;9(1):748-767. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-26