ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท
คำสำคัญ:
ความเครียด, การสนับสนุนทางสังคม, ผู้ดูแล, ผู้ป่วยจิตเภทบทคัดย่อ
บทนำ: การดูแลสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะในผู้ดูแลในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง การให้ความรู้และเสริมทักษะเกี่ยวกับการเผชิญความเครียดในบทบาทของผู้ดูแลจะสามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชได้ วัตถุประสงค์การวิจัย: โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ภายใต้กรอบแนวคิดของความเครียดของลาซารัสและโฟล์คแมน ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็น ผู้ดูแลหลักที่พักอาศัย ใน เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร จำนวน 93 ราย เก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลผู้ดูแล แบบวัดความเครียด และแบบวัดแรงสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยสถิติบรรยายและหาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ กับความเครียด ด้วยสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย: พบว่าความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 59.60 (x ̅= 30.11, SD. = 18.80) ผู้ดูแลได้รับแรงสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร (x ̅= 2.47, SD.= 0.52) และด้านการเปรียบเทียบและประเมินคุณค่า (x ̅= 2.37, SD.= 0.51) อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนแรงสนับสนุนทางสังคมด้านการสนับสนุนทางอารมณ์ และการสนับสนุนด้านการเปรียบเทียบและประเมินคุณค่ามีความสัมพันธ์ทางลบกับ ความเครียดของผู้ดูแล (r = -0.347, - 0.320 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 สรุปผล: การให้แรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์จะเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความรู้สึกไม่แน่นอน (uncertainty) ความวิตกกังวลความเครียดความสิ้นหวัง (hopelessness) และความรู้สึกซึมเศร้าได้ ซึ่งแรงสนับสนุนด้านอารมณ์ประกอบด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือประสบการณ์การแสดงความรู้สึกเป็นห่วงและการเสนอความช่วยเหลือและกระตุ้นให้กำลังใจนอกจากนี้ยังรวมถึงการเบี่ยงเบนความสนใจส่วนการสนับสนุนด้านการเปรียบเทียบและประเมินคุณค่าเป็นการให้ข้อมูลย้อนกลับ เปรียบเทียบกับบุคคลอื่น ทำให้บุคคลรู้สึกว่าตนเป็นที่ยอมรับจากบุคคลอื่น มองเห็นคุณค่าในตนเอง ข้อเสนอแนะ: ผลที่ได้จากงานวิจัยสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปฏิบัติงานของพยาบาลชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท และสามารถพัฒนาเป็นโปรแกรมผ่อนคลายความเครียดในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทต่อไป
Downloads
References
Kanang S. Caregiver Participation in Caring for Schizophrenic Patients at Home. [Independent Study]. The Graduate School, Songkla University; 2007 (in Thai).
Ravi S, Goud BR, Archana M, Pius TM, Pal A, John V., et al. Burden among caregivers of mentally-ill patients: a rural community – based study community medicine. Int J Res Dev Health 2013;1;29–34.
Kanya S, Ratchaneekorn U. Selected factors related to burnout in caregivers of persons with schizophrenia in community. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2017;18:308-14. (in Thai).
Usa K. Relationships between personal factors, burden, and mental health in caregivers of patients with schizophrenia. The Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health 2012;26(3):4-17. (in Thai).
Vasudeva S, Sekhar CK., Rao PG. Caregivers burden of patients with schizophrenia and bipolar disorder: a sectional study. Indian Journal Psychological Medicine 2013;35(4):352-57.
Thitiphan T, Yauwalux P, Tuntima D, Uboonrat T, Piyanoot K. Prevalence of Depression, Anxiety, and Associated Factors in Caregivers of Geriatric Psychiatric Patients. Journal Psychiatric Association of Thailand 2016;61(4):319-30. (in Thai).
Suntreeporn T. Schizophrenia Care in a Sustainable Thai Society Context. Journal of Nursing Division 2015;42(3):1-10. (in Thai).
Yu Y, Liu Z, Tang B, Zhao M, Liu X, Xiao S. Reported family burden of schizophrenia Patients in rural China. Journal published by the Public Library of Science 2017;1-18.
Suwat M, Wanida P, Pimmas S. The construction of Suan Prung stress test for Thai population. Journal of Suan Prug Psychiatric Hospital 1997;13(3):1-20 (in Thai).
Miller BF, Keane CB. Encyclopeddia and Dictionary of Medicine and Nursing. Philadephia: W.B. sunders; 1972.
Khanittha H. Comparative Study on Social Support of Caregivers of Children with Autism Spectrum Disorders and Caregivers of Typical Development Children in Songklanagarind hospital. A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Master of Arts in Human and Social Development Prince of Songkla University; 2013. (in Thai).
House JS. Work Stress and Social Support. Reading, Mass: Addison-Wesley; 1981.
Mayuree T. Stress and Coping Behavior of Caregivers of Schizophrenia Patients Srithanya Hospital in Nonthaburi Province. [Master of Science]. Kasetsart University; 2009. (in Thai).
Tasana W. Stress of Relatives Who Caring Patients with Psychiatric Disorders at Nakornpanom Rajchanakarin Psychiatric Hospital. [An Independent Study Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Master of Arts Program in Criminal Justice Administration Department of Social Administration]. Thammasat University; 2010. (in Thai).
Pawinee P, Noppawan P, Somnuk S. Factors related to stress of family caregivers of patients with stroke at home. Ramathibodi Nursing Journal 2014;20(1):82-96. (in Thai).
Burachat K, Karuntharat B. Relationship between self-efficacy and social support on coping with stress and coping with stress behaviors of nurses working in Pramongkutklao hospital. Journal of Health Science Research 2016;10(2):1-10.
Jalowiec, A. Confirmatory Factor Analysis of the Jalowiec Coping Scale.In C. F. Waltz, & O. L. New York: Springer; 1988. p. 287-308.
Keeratiya T. Stress and coping of elderly caregivers of psychiatric disorders. Assessment documents
for appointment Specialist position (Doctor of Preventive Medicine). Department of Disease Control Ministry of Public Health; 2015. (in Thai).
Hana N, Kritaya S. The Relationship between Burden of Care and Coping Strategies among Caregivers of Patients with Schizophrenia. Journal of Nursing Science and Health. 2015; 38(3):75-85. (in Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น