ประสบการณ์การมีอาการและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกหลังครบการรักษา

ผู้แต่ง

  • จุรีรัตน์ จวบมี นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • บัวหลวง สำแดงฤทธิ์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ธิราภรณ์ จันทร์ดา โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ประสบการณ์การมีอาการ, คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกหลังครบการรักษา

บทคัดย่อ

บทนำ: ปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่เพิ่มมากขึ้น แต่ด้วยวิวัฒนาการที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกมีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากโรคและวิธีการรักษาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยการผ่าตัด การใช้รังสีรักษาหรือการรักษาด้วยเคมีบำบัด มักจะรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งทางด้านร่างกาย ครอบครัว สังคม และด้านจิตใจ ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อบรรยายเกี่ยวกับประสบการณ์การมีอาการและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกหลังครบการรักษา ระเบียบวิธีวิจัย: วิจัยเชิงบรรยายนี้ใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีการจัดการอาการที่พัฒนาโดยคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 60 ปีและได้รับการรักษา ครบตามแผนการรักษาแล้วเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ที่มารับการตรวจตามนัดของโรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 120 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน กันยายน 2561– มีนาคม 2562 โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล โรคและการรักษา แบบประเมินอาการแสดงจากโรคและการรักษา และแบบวัดคุณภาพชีวิตสตรีที่เป็นมะเร็งปากมดลูก วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัย: ผู้เข้าร่วมวิจัยมีอายุระหว่าง 23-60 ปี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 46.07 ปี (SD.= 9.20) อาการที่พบ 5 อันดับแรก ได้แก่ อาการที่พบได้บ่อยที่สุดใน 5 อาการ ได้แก่ 1) อาการนอนไม่หลับ 2) อาการกระวนกระวายใจ 3) อาการกังวล/กลุ้มใจ 4) อาการรู้สึกง่วงซึม และ 5) อาการรู้สึกว่าตนเองไม่เหมือนเดิม คิดเป็นร้อยละ 35.80, 35.00, 34.20, 32.50 และ 31.70 ตามลำดับ คุณภาพชีวิตโดยรวมของสตรีที่เป็นมะเร็งปากมดลูกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 115.89 (SD.= 12.33) โดยมีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตความผาสุกทางด้านร่างกาย 23.67 (SD.= 3.76) ความผาสุกด้านสังคม/ครอบครัว 20.14 (5.74) ความผาสุกด้านอารมณ์/จิตใจ 15.89 (3.09) ความผาสุกด้านปฏิบัติกิจกรรม 16.20 (5.08) และด้านเฉพาะมะเร็งปากมดลูกเท่ากับ 39.25 (3.27) ตามลำดับ สรุปผล: จากผลการศึกษา ทำให้พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพได้ทราบถึงอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกหลังครบการรักษา ได้แก่อาการนอนไม่หลับ อาการกระวนกระวายใจ อาการกังวล/กลุ้มใจ อาการรู้สึกง่วงซึม และอาการรู้สึกว่าตนเองไม่เหมือนเดิมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมในด้านต่างๆ ซึ่งทำให้พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพสามารถดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ดีมากขึ้น ข้อเสนอแนะ: เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกหลังครบการรักษา ให้สามารถกลับคืนสู่สภาวะปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

Ministry of Public Health. Public Health Statistics. Office of Policy and Strategic Planning Ministry of Public Health. [Internet]. 2018 [cited 2020 April 5] Available from www.moph.go.th. (in Thai).

Rajavithi Hospital Statistics. Patient statistics in the medical record department Rajavithi Hospital 2017-2018. Bangkok: Rajavithi Hospital; 2018. (in Thai)

Wonghongkul T, Dechaprom N, Phumivichuvate L, Losawatkul S. Uncertainty appraisal coping and quality of life in breast cancer survivors. Cancer Nursing 2006;29(3):1-8. (in Thai).

Chaiyot T. Cervical cancer. [Internet]. 2555 [cited 2016 June 20]. Available from http://www.

si.mahidol.ac.th/th/department/obstretrics_gynecology/dept_article_detail.asp?a_id=943. (in Thai).

Piyawat R. Guidelines for screening Diagnosis and treatment Cervical cancer 1000 books. Bangkok: KositPrint; 2018. (in Thai).

Jatupol S. Cervical cancer diagnosis and treatment. Bangkok: P.B. Forest Books Center; 2011. (in Thai)

Wanthakran R, Nitima M, Waritsara T, Surangkarat P. The effect of vaginal stretching device on stenosis in cervical cancer patients after receiving radiotherapy. Journal of the Nursing Council 2014;29(4):121-30. (in Thai)

Malee P. Am I still a woman: Gender identity, sexual orientation and sexual health of women without endometrium. [master’s thesis]. Bangkok: Mahidol University; 2008. (in Thai).

Hospital Based Cancer Registry. Lampang Cancer Center. [Internet]. 2009 [cited 2016 January 12] Available from www.icmr.nic.in/ncrp/ hbcr.pdf. (in Thai).

Patchaneeya, C. Effects of a sexual health promotion program on prevention of teenage in Saraburi

municipal. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 2018;33(3): 38-46. (in Thai).

Jarae S. The sexual and reproductive healthcare behaviors of university students engaging in virtual marital relationships. Journal of Boromarajonani College of Nursing 2018;34(3):43-54. (in Thai).

Cella DF. Quali of life: concepts and definition. Journal of Pain and symptom Management 1994;9(3):186-92.

Dodd MJ, Janson S, Facione N. Advancing the science of symptom management. Journal of Advanced

Nursing 2001;33(5):668-76.

Humphreys J, Janson S, Doneskey D. Dracup K, Lee KA., Puntillo K. et al. Symptom managent theory. In Mary J. Smith Patricia R. Liehr (Eds). Middle range theory for nursing. 3rd ed. New York: Sage publishing; 2014.

Bender MS, Janson SL, Franck LS, Lee KA. Symptom managent theory. In Mary J. Smith Patricia R. Liehr (Eds). Middle range theory for nursing. 4th ed. New York: Springer publishing; 2018.

Portenoy RK, Thaler HT, Kormblith AB, Lepore JM, Friedlander-Klar H, Kiyasu E et al. The memorial symptom assessment scale: an instrument for the evaluation of symptom prevalence, chracteristics and distress. Eur J Cancer 1994;30A(9):1326-36.

Bualuang S, Somchit H, Dodd M, Sarikapan W, Thavatchai V, Kanaungnit P. Symptom experience

and self-care among Thai women with cervical cancer. Pacific Rim Int J Nurs Res 2010;14(3):203-18. (in Thai)

Cella DF, Tulsky DS, Gray G, Sarafian B, Linn E, Bonomi A, Harris J. The functional assessment of cancer therapy scale: development and validation of the general measure. J Clin Oncol 1993;11(3):570-9.

Chusri W. Statistics for Educational Research. Bangkok: Faculty of Eduation Srinakharinwirot University; 2010. (in Thai)

Uraiwan S. Intentions to get cervical cancer screening services for women aged 30-60 years at Ban Phrao Health Promotion Hospital, Muang District, Nong Bua Lam Phu Province. Journal of Community Health Development Khon Kaen University 2015;3(4):529-46. (in Thai)

Amonrat A. Sexual Health Problems. Problem management and needs of women with cervical

cancer after treatment and their spouses. [master’s thesis] Bangkok: Mahidol University, 2013. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-13