การพัฒนายุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • จันทิรา หอมวิจิตรกุล สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • วีระนุช แย้มยิ้ม สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • พรกมล ระหาญนอก สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ปิยะพงษ์ ชุมศรี สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์, การส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม , ผู้ต้องขัง

บทคัดย่อ

บทนำ: ผู้ต้องขังเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีความต้องการด้านสุขภาพแต่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ทำให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการ การพัฒนายุทธศาสตร์เป็นกลไกและแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ต้องขัง และเมื่อผู้ต้องขังพ้นโทษไปแล้ว เพื่อคืนคนสุขภาพดีสู่สังคม

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดเลยและประเมินผลยุทธศาสตร์ภายใต้กรอบแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2550

ระเบียบวิธีวิจัย: ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานด้วยวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ 350 คน และกลุ่มเป้าหมายเชิงคุณภาพ 56 คน ระหว่างเดือนเมษายน 2563 - เมษายน 2564 แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมผู้ต้องขัง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม ระยะที่ 2 การพัฒนายุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมผู้ต้องขัง โดยการประชุมระดมความคิดเห็นแบบมีส่วนร่วม และใช้ SWOT Analysis เป็นกรอบในการระดมความคิดเห็น ระยะที่ 3 การประเมินยุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมผู้ต้องขัง โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย: พบว่า ระยะที่ 1 สภาพการจัดและเข้าร่วมกิจกรรมของผู้ต้องขัง อยู่ในระดับปานกลาง (mean=3.25, SD=.86) สภาพปัญหาที่คุมขังแออัด  กิจกรรมไม่น่าสนใจ และจำนวนเจ้าหน้าที่พยาบาลในเรือนจำไม่เพียงพอ ต้องการสนับสนุนวิทยากรและเครือข่ายภายนอก ระยะที่ 2 ได้วิสัยทัศน์คือ “เรือนจำจังหวัดเลยเป็นองค์กรที่มุ่งเน้นในการดูแลสุขภาพผู้ต้องขังแบบองค์รวมและผสมผสาน” ประกอบด้วย 2 พันธกิจครอบคลุมมิติสุขภาพ 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ ภายใต้ 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การส่งเสริม 2) การป้องกัน 3) การรักษาพยาบาล 4) การฟื้นฟู 5) การส่งต่อ 6) การสนับสนุนระบบสุขภาพ ระยะที่ 3 การประเมินยุทธศาสตร์ด้านความเหมาะสม สอดคล้องกับนโยบาย ความเป็นไปได้นำไปปฏิบัติ และการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (mean=4.60, SD=.55)

สรุปผล: ยุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดเลย ครอบคลุมทุกมิติสุขภาพและมิติการดูแลสุขภาพ พร้อมกับการสนับสนุนและพัฒนาระบบสุขภาพ ทำให้ผู้ต้องขังดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม ปรับตัวตามสภาพสิ่งแวดล้อม อยู่ร่วมกันพึ่งพาและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

ข้อเสนอแนะ: ผลที่ได้จากงานวิจัย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเรือนจำอื่นๆ เพื่อส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ต้องขังให้ครอบคลุมมิติสุขภาพและมิติการดูแลสุขภาพ

References

National strategy. (2018-2037). Government gazette; 2018. p 135. (in Thai)

Ministry of Public Health. The 20- year national strategy (public health). Bangkok: Office of policy and strategy Office of the Permanent Secretary. Ministry of Public Health; 2016. (in Thai)

Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. Guideline for the development of a public health service system for prison inmates. Samut sakhon. Born to B Publishing Company Limited; 2019. (in Thai)

Niyomwan N. Crisis management of prisoners custody in Thailand. Journal of MCU Peace Studies. 2018;6(3):1159-70. (in Thai)

Ministry of Justice. Report to the cabinet about the situation and ways to reduce overcrowding of inmates in a prison on January 28. Bangkok. Ministry of Justice; 2020. (in Thai)

Loei Provincial Prison. General information prisoner report forms. Loei: Loei prison; 2020. (in Thai)

National Health Act, B.E. 2007. Government gazette; 2007. p 2-29. (in Thai)

Taro Y. Statistics- an introductory analysis. 3nd ed. New York: Haper and Row Publication; 1973.

Kasornphaet P. Strategy planning for education management. Bangkok: Suwiriyasas; 2000. (in Thai)

Chuaykong J. Strategies for promoting education success at the first stage. Fundamentasl of inmates in prison and correctional institutions in district 9 in a concrete. Way. Thaksin University. 2015;15(1):168-80. (in Thai)

Geitona M., Milioni S. Health status and access to health services of female prisoners in Greece: a cross-sectional survey. Geitona and Milioni BMC Health Services Research. 2016; 16:243 DOI 10.1186/s12913-016-1506-3

Michelle B., Khadoudja C. “Health-Promotion Prison: theory to practice.” Global Hearth Promotion. 2016;23:66-74.

Phol-ngam P. Community business: principle and research methods. Loei: Loei Rajabhat University; 2000. (in Thai)

Srimala R. Community health management by participation approace: a case study of Chachoengsao province. VRU Research and Development Journal Humanities and Social Science. 2016;11(3):159-68. (in Thai)

Ministry of Public Health. Master plan under the national strategy issues to promote Thai people to have good health Bangkok. Ministry of Public Health; 2017. (in Thai)

Wajanasara K. Research project for development of service system and health promotion of prisoners in years 2017. Institute for Population and Social Research Mahidol University; 2017. (in Thai)

Lines R. (2008). The right to health of prisoners in international human rights law. International Journal of Prisoner Health. March 2008;4(1):3-53.

Laolongin W. Repeat offenses of prison inmates Maha Sarakham province. Journal of Maha sarakham Rajabhat. University. 2009;3(1):29-38. (in Thai)

Kansri J, Mdali C, Teiankool N, Srinuan P, Yodthongdee N. Effectiveness of a mental health promotion program on the mental health among older adults. Journal of Health and Nursing Research. 2020;36(2):95-107. (in Thai)

Phimphanchaiyaboon L, Phasuk S, Angsirisak N, Boonlom N, Prakhinkit S. The relationship between social support and stress of caregivers caring for patients with schizophrenia. Journal of Health and Nursing Research. 2021;37(2):263-73. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22