การทำหน้าที่ครอบครัวเพื่อป้องกันโรคเอดส์ในวัยรุ่นชาย

ผู้แต่ง

  • สัญชัย น้อยมิ่ง นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เสาวคนธ์ วีระศิริ สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การทำหน้าที่ครอบครัว, วัยรุ่นชาย, เอชไอวี/โรคเอดส์

บทคัดย่อ

บทนำ: การติดเชื้อเอชไอวีและการเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์ในกลุ่มวัยรุ่นชายเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญสำหรับประเทศไทยและโลกอย่างต่อเนื่อง โดยการทำหน้าที่ของครอบครัวถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการป้องกันปัญหานี้ได้ วัตถุประสงค์การวิจัย: เป้าหมายเพื่อศึกษาการทำหน้าที่ครอบครัวในการป้องกันโรคเอดส์ในวัยรุ่นชาย ตำบลท่าคล้อ อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นครอบครัวที่มีบุตรวัยรุ่นชายอายุ 10-19 ปี จำนวน 135 ครอบครัว เป็นบิดามารดาหรือผู้ปกครอง 135 คน และวัยรุ่นชาย 135 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม 2 ชุดเกี่ยวกับการทำหน้าที่ครอบครัวเพื่อป้องกันโรคเอดส์ในวัยรุ่นชายตามการรับรู้ของบิดามารดาหรือผู้ปกครองและบุตรวัยรุ่นชาย ตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน หาค่าดัชนีความตรงได้ 0.87 และ 0.85 ตามลำดับ นำมาทดลองใช้และหาค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของคอนบราค ได้ 0.79 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาสำหรับข้อมูลที่ได้จากคำถามปลายเปิดจากแบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่าการรับรู้ของบิดามารดาหรือผู้ปกครองต่อการทำหน้าที่ครอบครัวในการป้องกันโรคเอดส์ในวัยรุ่นชาย ส่วนมากอยู่ในระดับดี ( = 3.01, SD = 0.87) พบร้อยละ 75.2 และพบว่าบิดามารดาหรือผู้ปกครองปฏิบัติหน้าที่ครอบครัวในชีวิตประจำวันมากที่สุดด้วยการให้เงินเป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน ร้อยละ 76.1 การกำกับดูแลพฤติกรรมมีการปฏิบัติน้อยที่สุด ร้อยละ 13.3 สำหรับการรับรู้ของวัยรุ่นชายต่อการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวฯ ส่วนมากอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.99, SD = 0.89) พบร้อยละ 74.8 และรับรู้ว่าสิ่งที่ครอบครัวปฏิบัติมากที่สุดได้แก่การให้เงินเป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน ร้อยละ 65.93 การปฏิบัติที่น้อยที่สุดได้แก่การตักเตือนในเรื่องพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆและการอบรมสั่งสอนเพื่อป้องกันโรคเอดส์ ร้อยละ 21.95 และพบว่าบิดามารดาหรือผู้ปกครองรับรู้พฤติกรรมเสี่ยงของบุตรวัยรุ่นชายร้อยละ 36.3 ส่วนวัยรุ่นชายรับรู้พฤติกรรมเสี่ยงของตนเองร้อยละ 60.7 สรุปผล: ผลวิจัยสะท้อนถึงการทำหน้าที่ครอบครัวเพื่อป้องกันโรคเอดส์ในวัยรุ่นชายปฏิบัติในด้านการอบรมสั่งสอนและกำกับดูแลพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อการป้องกันโรคเอดส์อยู่ในระดับต่ำ ข้อเสนอแนะ : การทำหน้าที่ครอบครัวเกี่ยวกับการกำกับดูแลพฤติกรรม การตักเตือนในเรื่องความเสี่ยงต่างๆ และการอบรมสั่งสอนเพื่อการป้องกันโรคเอดส์มีการปฏิบัติน้อยที่สุด จึงควรหาแนวทางพัฒนานวัตกรรมหรือโครงการเพื่อเสริมสร้างความตระหนักและศักยภาพของครอบครัวในการทำหน้าที่ดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพและจริงจังต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-13