การศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ศิวพร อึ้งวัฒนา กลุ่มวิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุกฤตา สวนแก้ว กลุ่มวิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, ตำบลยางเนิ้ง

บทคัดย่อ

บทนำ: ผู้สูงอายุมีปัจจัยบางประการที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ อายุที่เพิ่มขึ้นทำให้มีปัญหาในการฟัง การอ่าน มีการสูญเสียความจำ และความสามารถทางการคิด วิเคราะห์ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีและการสื่อสารใหม่ๆ ซึ่งอาจมีผลต่อความเข้าใจข้อมูลสุขภาพ วัตถุประสงค์การวิจัย: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุไทย ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทยได้ และให้ข้อมูลได้ด้วยตนเอง ได้มาจากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของเครจซี่และมอร์แกน ระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 95% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 332 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ทดสอบความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .79 สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย: พบว่า ค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (M=28.95, SD.=2.60) โดยมีความรู้ ความเข้าใจทางสุขภาพอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 87.13 (M= 20.91, SD.=1.95) รองลงมาคือการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 82.20 (M= 4.11, SD.=.97) การตัดสินใจสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 71.75 (M= 2.87, SD.= .58) และการอ่านและเข้าใจตัวเลขอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.00 (M= 1.08, SD.= .98) สรุปผล: ผู้สูงอายุมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับสูง แต่ยังมีปัญหาความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการตัดสินใจสุขภาพ และด้านการอ่านและเข้าใจตัวเลข ข้อเสนอแนะ: บุคลากรสาธารณสุขควรส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุไทย โดยเฉพาะด้านการตัดสินใจสุขภาพ และด้านการอ่านและเข้าใจตัวเลข เพื่อยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ

Downloads

References

United Nations. World population prospects: The 2008 Revision 2009 [Internet]. 2018 [cited 2020 Feb 15]. Available from: http://www.un.org/esa/population/publications/wpp2008/wpp2008_ highlights.pdf (in Thai).

National Statistical Office. Survey of elderly population in Thailand 2002, 2007, 2011, 2014 [Internet]. 2015 [cited 2020 Feb 18]. Available from: http://hp.anamai.moph.go.th/article_attach/ENV%20part1-2.pdf (in Thai).

Office of the National economic and social development board. Thai social conditions in the 4th quarter and overall year 2015, year 9, issue 1, February 2015 [Internet]. 2015 [cited 2020 Feb 14]. Available from: http://www. nesdb.go.th/. (in Thai).

National Statistical Office. 2013 Situation of the elderly [Internet]. 2013 [cite 2020 Apr 25].Available from: https://il.mahidol.ac.th/upload/img/2019-05-15-052430.pdf (in Thai).

Pengjan W. Department of Health. Health literacy [Internet]. 2017 [cited 2020 Feb 15]. Available from: http://203.157.65.15/anamai_web/ewt_news.php?nid=10221&filename=doh_change (in Thai).

Barnett K, Mercer SW, Norbury M, Watt G, Wyke S, Guthrie B. Epidemiology of multimorbidity and implications for health care, research and medical education. Lancet [Internet]. 2012 [cited 2020 Feb 20];380:37-43. Available from: https://www.thelancet.com/action/showPdf?pii=S0140-6736%2812%296 0240-2

Aekpalakorn W. Report of the 5th Thai Health Survey by Physical Exam 2014 [Internet]. 2019 [cited 2020 July 10]. Available from: shorturl.at/nIO24 (in Thai).

Healthy people. Health Literacy [Internet]. 2010 [cited 2020 Feb 15]. Available from: https://www. healthy people.gov/2020/topics-objectives/topic/social-determinantshealth/interventionsresources/health-literacy

Pengjan W. Department of Health. Health literacy systems – Thai HL matrix-3 dimensions [Internet].2017 [cited 2020 Feb 16]. Available from: http://203.157.65.15/anamai_web/ewt_news.php?nid=10221&file name=doh_ change (in Thai).

Java Health Center Information System. System of Tambon Health Promotion Hospital and community health center [Internet]. 2019 [cited 2020 July 10]. Available from: http://neo.moph.go.th/jhcis/# (in Thai).

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc. Sci. Med [Internet]. 2008 [cited 2020 Feb 20];67:2072-8. Available from: https://pdfs.semanticscholar.org/67ad/dc0e498d

bc75c949a72881d4490e3d3bd.pdf

World Health Organization, Collaborating center for health promotion. Health promotion glossary. Health Promot. Int [Internet]. 1998 [cited 2020 Feb 15];13:349-364. Available from: https://www.who.int/health (in Thai).

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement 1970;30:607-10.

Srisatitnarakul B. Research methodology in nursing. 5th ed. Bangkok: You and I Intermedia; 2010. (in Thai).

Aunprom-me S, Deeroem K, Homsombat Y. Health literacy in elderly from Nakorn Ratchasima Province. Thai Journal for health promotion and environmental health [Internet]. 2020 [cited 2020 July 10];14:88-106. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPCJournal/article/view/242454/164877 (in Thai).

Sanglerdutai J. Research Instrument. Sakon Nakhon Graduate Studies Journal [Internet]. 2015 [cited 2020 Feb 18];12:13-24. Available from: Shorturl.at/dhzQ1 (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-13