โมเดลสมการโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำด้านความปลอดภัย การจัดการความปลอดภัยและวัฒนธรรมความปลอดภัย กับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศูนย์สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • สุทธิชารัตน์ จันติยะ สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • พัชราภรณ์ อารีย์ คณสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำด้านความปลอดภัย, การจัดการความปลอดภัย, วัฒนธรรมความปลอดภัย, การปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย, หัวหน้าหอผู้ป่วย

บทคัดย่อ

บทนำ: การปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยเป็นปัจจัยสำคัญต่อองค์กรสุขภาพโดยเฉพาะในองค์กรพยาบาลที่มุ่งให้เกิดความปลอดภัยทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ของภาวะผู้นำด้านความปลอดภัย การจัดการความปลอดภัย วัฒนธรรมความปลอดภัยและการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้าง และอิทธิพลระหว่างภาวะผู้นำด้านความปลอดภัย การจัดการความปลอดภัยและวัฒนธรรมความปลอดภัยกับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นหัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 331 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามภาวะผู้นำด้านความปลอดภัย แบบสอบถามการจัดการความปลอดภัย แบบสอบถามวัฒนธรรมความปลอดภัยและแบบสอบถามการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย เป็นแบบสอบถามใช้มาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม โดยค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.84 – 1.00 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค อยู่ระหว่าง 0.86 – 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณาและสถิติสมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัย: พบว่า ค่าเฉลี่ยภาวะผู้นำด้านความปลอดภัย การจัดการความปลอดภัย วัฒนธรรมความปลอดภัยและการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อยู่ในระดับมากทุกด้าน โมเดลสมการโครงสร้างความสัมพันธ์การปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โมเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (CMIN/DF= 1.96, GFI= .93, AGFI= .91, CFI=.99, RMSEA= .05) ตัวแปรภาวะผู้นำด้านความปลอดภัย การจัดการความปลอดภัย วัฒนธรรมความปลอดภัย สามารถร่วมทำนายการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยได้ร้อยละ 65 โดยพบว่า ภาวะผู้นำด้านความปลอดภัยมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกทั้งการจัดการความปลอดภัย (β= 0.90, p< .01) และวัฒนธรรมความปลอดภัย (β= 0.34, p< .01) ส่วนการจัดการความปลอดภัยมีอิทธิพลทางตรงต่อวัฒนธรรมความปลอดภัย (β= 0.57, p< .01) วัฒนธรรมด้านความปลอดภัยมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกกับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย (TE= 0.81, p< .01) ภาวะผู้นำด้านความปลอดภัยและการจัดการความปลอดภัยมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย (TE= 0.69, p< .01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผล: โมเดลสมการโครงสร้างความสัมพันธ์ของการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ได้จริง ข้อเสนอแนะ: ผู้บริหารองค์กรพยาบาลสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ที่จะเข้าสู่การเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ต้องมีคุณลักษณะของภาวะผู้นำด้านความปลอดภัย รวมทั้งการสร้างหลักสูตรพัฒนาบุคลากรการบริหารทางการพยาบาลด้านภาวะผู้นำด้านความปลอดภัย การจัดการความปลอดภัย การส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยเพื่อให้เกิดผลลัพธ์การปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยภายใต้การบริหารอย่างมีศักยภาพของหัวหน้าหอผู้ป่วยอย่างจริงจังส่งผลให้เกิดคุณภาพการพยาบาลมากยิ่งขึ้น

References

Office of Strategy and planning Division Strategy Office of the Public Health Department Ministry of Public Health. 20 Year National Strategic Plan (Public Health). Nonthaburi: Office of Policy and Strategy Office of the Permanent Secretary 2010. (in Thai)

World Health Organization Patient safety. 2016. [cited 2018 July 25] Available from http://www. who.int/ patientsafety/en/

Nursing Division, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health A Guide to Collecting

Important Nursing Information 2017, Nonthaburi: Nursing Division, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. 2017. (in Thai).

Nursing Council. Standard of nursing service and midwife at secondary and tertiary level. Nonthaburi: Nursing Council. 2005. (in Thai).

Institute for Hospital Quality Assurance (Public organization). Hospital and Health Service Standards, Issue 4. Nonthaburi: Good Day Books. 2018. (in Thai).

Announcement of Nursing Council on Nursing Standards, 2019, Nursing Council, 2019) Announcement of the Nursing Council on Nursing Standards, B.E. 2562 (2019, 20 February). Government Gazette. Volume 136, Special episode 97 d; 30-6. (in Thai)

Griffin MA, Neal A. Perceptions of safety at work: a framework for linking safety climate to safety performance, knowledge, and motivation. J Occup Health Psychol 2000;5(3):347-58.

Nevhage B, Lindahl H. A conceptual model, methodology and tool to evaluate safety performance in an organization (Master's Degree) Land University. 2008 [cited 2019 Jul 20] Available from: http://lup.lub.lu.se/ student-papers/record/178699332.

Cooper MD, The Safety Culture Construct: Theory and Practice. In: Gilbert C, Jurne B, Laroche H, Bieder C, editors. Safety Cultures, Safety Models Taking Stock and Moving Forward.The registered company Springer Nature Switzerland AG; 2018; 47-62.

Cooper MD. Improving safety culture: A practical guide. Wiley; 1998.

Cooper, MD. Safety leadership. 2010a. [cited 2018 Jul 21] Available from: http://www.behavioral-safety.

com/behavior-based-safety -solution-center/safety-coaching-and-training/safety–leadership.

Jantiya S, Singchongchai P, Aree P, Safety Leadership and Safety Performance in Health Organization: A Systematic Review. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal 2019;2(11):1-15. (in Thai).

Clarke SR. Safety leadership: A met analytic review of transformational and transactional leadership styles as antecedents of safety behaviors. J of Occupational and Organizational Psychology 2013;86(1):22-49.

Tao J, Yang F, Qiu D, Reniers G. Analysis of safety leadership using a science mapping approach. J Process Safety and Environmental Protection 2020;(140):244-57

Cooper MD. Navigating the safety culture construct: A review of the evidence. B-Safe Management Solutions Inc. Franklin, IN, USA; 2016.p. 4-16.

Donovan SL, Salmon PM, Horberry T, Lenne MG. Ending on a positive: examining the role of safety leadership decisions, behaviors and actions in a safety critical situation. Appl. Ergon 2018;(66):139–50.

Cooper, M D. Towards a model of safety culture. J Safety science 2000;2(36):111-36.

Surienty L, Khoo TH, Daisy KM. Occupational safety and health (OSH) in SMEs in Malaysia: a preliminary investigation. J of Global Entrepreneurship 2011;1(1):65-75.

Seangon L, sritoomma N, Wongkhomthong J, Meehanpong P. The safety management modelof nursing organization at the tertiary-level hospitals in Thailand. J Christian University. 2018;24(4):516-29. (in Thai).

Yang CC, Wang YS, Chang ST, Guo SE, Huang, MF. A study on the leadership behavior, safety culture, and safety performance of the healthcare industry. J World Academy of Science, Engineering and Technology 2009;53(1):1148-55.

Tengilimoglu D , Celik E, Guzel A. The effect of safety culture on safety performance: Intermediary role of job satisfaction. BJEMT 2016;15(3):1-12.

Fernández-Muñiz B, José Manuel MP, Camilo José V-O. Safety culture: analysis of the causal relationships between its key dimensions. Journal of Safety Research 2007;(386);627-41.

Adjekum DK, Keller J, Walala M, Christensen C, DeMik RJ, Young JP, et al. An examination of the relationships between safety culture perceptions and safety reporting behavior among non-flight collegiate aviation majors. International Journal Aviation, Aeronautics, and Aerospace 2016;3(3):1-38.

Lun CJ, Shah RAW. The effects of safety leadership on safety performance in Malaysia. Saudi Journal of Business and Management 2011;2(1):12-8.

Dilaver D, Elif C, Alper G. The Effect of Safety Culture on Safety Performance: Intermediary Role of Job Satisfaction. British Journal of Economics, Management & Trade 2016;15(3);1-12.

International Civil Aviation Organization [ICAO]. Safety Management Manual (SMM) (2nded.) (Doc 9859 AN/474). Montreal, Canada 2009.

Sexton JB, Helmreich RL, Neilands TB, Rowan K, Vella K, Boyden J. Thomas E.J. The safety attitudes questionnaire: psychometric properties, benchmarking data, and emerging research. BMC Health Services Research 2006;6(1):44.

Krejcie RV, Daryle W. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970;30(3):607-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-13