ผลการใช้โปรแกรมการพัฒนานักเรียนต้นแบบห่างไกลโควิด-19 ระดับประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ธิดารัตน์ เลิศวิทยากุล คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
  • โศภิษฐ์ นามขำ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
  • เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

นักเรียนต้นแบบ , ระดับประถมศึกษาตอนปลาย , โปรแกรมการพัฒนานักเรียนต้นแบบ , ห่างไกลเชื้อโควิด-19

บทคัดย่อ

บทนำ: โปรแกรมการพัฒนานักเรียนต้นแบบห่างไกลโควิด-19 ประกอบด้วยความรู้เรื่องไวรัสโควิด-19 และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19  ทักษะการล้างมือ การสวมและถอดหน้ากากอนามัยที่ถูกวิธี และ คุณลักษณะนักเรียนต้นแบบห่างไกลโควิด-19 เพื่อพัฒนานักเรียนเป็นต้นแบบให้เพื่อน ครอบครัว ในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ และลดความรุนแรง ที่ผลกระทบด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการพัฒนานักเรียนต้นแบบห่างไกลโควิด-19 ระดับประถมศึกษาตอนปลาย

ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย 36 คน โรงเรียนแห่งหนึ่งจังหวัดขอนแก่น  คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นและสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการพัฒนานักเรียนต้นแบบเด็กไทยห่างไกลโควิด-19 แบบทดสอบความรู้เรื่องไวรัสโควิด-19 และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 แบบประเมินทักษะการล้างมือ การสวมและถอดหน้ากากอนามัยที่ถูกวิธี และแบบประเมินคุณลักษณะนักเรียนห่างไกลเชื้อโควิด-19 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test

ผลการวิจัย: นักเรียนต้นแบบห่างไกลโควิด-19 1) มีความรู้เรื่องไวรัสโควิด-19 และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 หลังการใช้โปรแกรม (gif.latex?\dot{x}=14.78, S.D.=1.10) สูงกว่าก่อนอบรม (gif.latex?\dot{x}=10.33, S.D.=1.43) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (t=-20.558) 2) มีทักษะการสวมและถอดหน้ากากอนามัยและการล้างมือที่ถูกวิธีหลังการใช้โปรแกรม ระดับมากที่สุด (gif.latex?\dot{\bar{x}}=5.83, S.D.=0.38) 3) คุณลักษณะนักเรียนห่างไกลเชื้อโควิด-19 หลังการอบรม ระดับมากที่สุด (gif.latex?\dot{\bar{x}}=34.00,S.D.=1.45)

สรุปผล: โปรแกรมการพัฒนานักเรียนต้นแบบห่างไกลโควิด-19 ที่พัฒนาขึ้น สามารถพัฒนานักเรียนต้นแบบห่างไกลโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ     

ข้อเสนอแนะ: ควรขยายการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะห่างไกลโควิด-19 ให้ครอบคลุมทุกช่วงชั้นเรียน เพื่อให้มีความรู้ ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามมาตรฐาน และสร้างคุณลักษณะในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

Sirikut, P. Situation of the disease and disease guidelines 2019 Novel Coronavirus Disease (COVID-19). Queen Sirikit National Institute of Child Health. [Internet]. 2019 [cited 2021 October 8]; Available from https://www.pidst.or.th/A878.html. (in Thai).

WHO. (2021). Coronavirus disease (COVID-19). [Internet]. 2019 [cited 2021 October 31]; Available from https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019.

NSO Interactive Dashboard. (2021). labor structure. [Internet]. 2019 [cited 2021 October 31]; Available from http://ittdashboard.nso.go.th/.

Department of Disease Control. Coronavirus disease situation report 2019. [Internet]. 2019 [cited 2021 June 8]; Available from https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php.(in Thai).

Royal College of Pediatricians of Thailand Pediatrician Association of Thailand. Guide for parents to disseminate knowledge on child care and development of school children aged 6-12 years. Bangkok: n.d. (in Thai).

Srisaat B. Preliminary research. Bangkok: Suwiriyasan; 2000.

Skinner; Goss; & Berntein. (1996). Instructor’s Resourse Manual for Psychology: Implementing Acrtive Learning in Classroom. Retrieved April 30, 2021 from http://s.psych/uiuc,edu/active.html.

Songsaigath S, Kosuwin R, Srimee P, Chanthamud S, Yungyun K, Twatchmetanant K. The Effect of Health Educational Program on knowledge and Health Behaviors of Ten National Health Recommendations among Primary School Students in Wat Chiao Osot Community School, Nakhon Nayok Province. Journal of Health and Nursing Research 2021;37(1):206-17.(in Thai).

Dewey, J. Philosophy, Education, and Reflective Thinking. In Thomas O. Buford Toward a Philosophy of Education; 1969.

Department of Health, Ministry of Public Health. A practical manual for educational institutions in the prevention of transmission. outbreak of COVID-19. Nonthaburi: Q Advertising Company Limited; 2020. (in Thai).

Thanakitphakin,N. Leadership Characteristics Development of Primary School Student Leadership in the 21ST Century of Bangkok and Metropolitan region.Educational Leadership and Human Resource Development, ChiangMai Rajabhat University; 2018. (in Thai).

Panich, W. Way of creating learning for disciple in the 21st century. Bangkok: Tathata Publication Company Limitted; 2012. (in Thai).

Saifah, Y.Developmentally Appropriate Practice in Thai Primary Grade Classrooms: From Theory to Practice. Journal of Education studied 2012;39(2):120-9. (in Thai).

Ruengdaranon, N. (Editor). Text book of Child Development and Behavior. Bangkok: Holistic Publishing; 2008.

Srinark A, Sompopcharoen M, Aimyong N, Therawiwat M. Effects of Health Promotion Program for Healthy Eating Behavior of Grade 4 Students in Nonthaburi Province. Journal of Health and Nursing Research 2021;37(2):237-50. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-01