การพัฒนาดัชนีความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ธณิดา พุ่มท่าอิฐ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ดวงเนตร ธรรมกุล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ญาดารัตน์ บาลจ่าย มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทนำ: เครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพที่พัฒนาอย่างเหมาะสม เมื่อนำมาใช้ในการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ จะทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการดูแลภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ ลดการพึ่งพิงระบบบริการสุขภาพลง เกิดประโยชน์ต่อการจัดการควบคุมอิทธิพลจากสิ่งเร้า ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ และเป็นแนวทางในการวางแผนเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนาดัชนีความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้สูงอายุเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสม ทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ อาสาสมัครสาธารณสุข เขตบางพลัดที่เป็นผู้สูงอายุ และสมัครใจ จำนวน 11 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ประจำตามทะเบียนบ้านในเขตบางพลัด ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่ายได้ 6 ชุมชน จาก 48 ชุมชน จากนั้นเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 396 คน เครื่องมือประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ จำนวน 40 ตัวชี้วัด ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ทดสอบความเที่ยงด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์เชิงอุปนัย วิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนาดัชนีความรอบรู้ ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัย: มีข้อคำถามจำนวน 4 ข้อที่ไม่มีประสิทธิภาพในการวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพ โมเดล การวัดดัชนีความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2(358, N=393) =402, p=0.051, AGFI = 0.90) และอัตราส่วนระหว่างค่า 2 และค่าองศาอิสระ=1.12 น้ำหนักองค์ประกอบทั้งหมด มีค่าเป็นบวก ขนาด .54 ถึง .82 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดัชนีความรอบรู้ด้านสุขภาพประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ที่มีน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดตามลำดับ คือ 1) การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ 2) การรู้เท่าทันสื่อ 3) การจัดการตนเอง 4) ทักษะการสื่อสาร 5) การเข้าถึงบริการสุขภาพ 6) การรู้หนังสือ 7) ความเข้าใจข้อมูล ทางสุขภาพ และ8) ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ ดังนั้น เครื่องมือวัดระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ได้ สรุปผล: เครื่องมือวัดระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ โดยสามารถนำไปประเมินระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับวัยได้ ข้อเสนอแนะ: ทีมสุขภาพสามารถนำเครื่องมือนี้ไปใช้ในการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ และพัฒนาให้คงอยู่ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงจากความเสี่ยงในเรื่องความเฉื่อยทางปัญญาอันสืบเนื่องมาจากความเสื่อมถอยของระบบร่างกาย

References

Kaeodumkoeng K, Thummakul D. Health literacy promoting in aging population. Journal of Health Science Research 2015;9(2):1-8. (in Thai)

Institute for Population and Social Research, Mahidol University. Thai population in the reign of King Rama IX. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University; 2017. (in Thai)

Palumbo R. Sustainability of well-being through literacy, the effects of food literacy on sustainability of well-being. Agriculture and Agricultural Science Procedia 2016; 8: 99 -106.

Kimberly AK, Melody SG, William DM, Christopher RC, Richard TG. Effect of cognitive dysfunction on the relationship between age and health literacy. Patient Education and Counseling 2014; 95: 218–25.

Knodel J, Teerawichitchainan B, Prachuabmoh V, Pothisiri W. The situation of Thailand’s older population: an update based on the 2014 survey of older persons in Thailand. Chiang Mai: HelpAge International; 2015.

Nutbeam D. Defining and measuring health literacy: what can we learn from literacy studies?. Int J Public Health 2008;54:303–5.

Haun JN, Valerio MA, McCormack LA, Sørensen K, Paasche-Orlow MK. Health literacy measurement: an inventory and descriptive summary of 51 instruments J Health Commun 2014; 19, Suppl 2:302-33. doi: 10.1080/10810730.2014.936571. PMID: 25315600.

Nguyen HT, Kirk JK, Arcury TA, Ip EH, Grzywacz JG, Saldana SJ, et al. Cognitive function is a risk for health literacy in older adults with diabetes. Diabetes Research and Clinical Practice 2013;101: 141-7.

Public Health and Environmental Strategy Division. Bangkok elderly data report from the population base in the civil registration system as of December 2018. Bangkok: Strategy and Evaluation Department. 2019 (in Thai)

Rajah R, Hassali MAA, Murugiah MK. A systematic review of the prevalence of limited health literacy in Southeast Asian countries. Public Health 2019;167:8-15.

Chunga MH, Chen LK, Peng LN, Chi MJ. Development and validation of the health literacy assessment tool for older people in Taiwan: Potential impacts of cultural differences. Archives of Gerontology and Geriatrics 2015;61:289-95.

Lee TW, Kang SJ, Lee HJ, Hyun SI. Testing health literacy skills in older Korean adults. Patient Education and Counseling 2009;75:302-7.

Chinn D, McCarthy C. All Aspects of Health Literacy Scale (AAHLS): Developing a tool to measure functional, communicative, and critical health literacy in primary healthcare settings. Patient Education and Counseling 2013;90: 247-53.

Intarakamhang U. Health Literacy: measurement and development. Bangkok: Behavioral Science Research Institute, Srinakharinwirot University; 2017. (in Thai)

Creswell JW, Plano Clark VL. Designing and conducting mixed methods research. 3rd edition. Thousand Oaks, California: SAGE; 2018.

Yamane T. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd edition. New York: Harper and Row Publications; 1973.

Kanchanawasee S. Traditional Theory of Testing. 7th edition. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2013. (in Thai)

Best JW, Kahn JV. Research in Education. 10th edition. New Delhi: Prentice-Hall of India Publications; 2006.

Hair JF, Black WC, Babin BJ, Anderson RE. Multivariate data analysis. 8th edition. Harlow: Pearson Education Limited; 2014.

Ganguli M, Hughes TF, Jia Y, Lingler J, Jacobsen E, Chang CH. Aging and Functional Health Literacy: A Population-based Study. Am J Geriatr Psychiatry 2020; Article in Press.

Manca S, Bocconi S, Gleason B. “Think globally, act locally”: A glocal approach to the development of social media literacy. Computers & Education 2021;160, 104025.

Taylor JL, Roberts L, Hladek MD, Liu M, Nkimbeng M, Boyd CM, Szanton SL. Achieving self-management goals among low income older adults with functional limitations. Geriatric Nursing 2019;40(4):424-30.

Bambini V, Tonini E, Ceccato I, Lecce S, Marocchini E, Cavallini E. How to improve social communication in aging: pragmatic and cognitive interventions. Brain and Language 2020;211, 104864.

Perlman C, Kirkham J, Velkers C, Leung RH, Whitehead M, Seitz D. Access to psychiatrist services for older adults in long-term care: a population-based study. Journal of the American Medical Directors Association 2019;20(5):610-6.e2.

Oliveira D, Bosco A, Lorito C. Is poor health literacy a risk factor for dementia in older adults? Systematic literature review of prospective cohort studies. Maturitas 2019;124:8-14.

Chang SJ, Yang E, Lee KE, Ryu H. Internet health information education for older adults: A pilot study. Geriatric Nursing 2021;42(2):533-9.

Fernandes JM, Araújo JF, Vieira JM, Pinheiro AC, Vicente AA. Tackling older adults’ malnutrition through the development of tailored food products. Trends in Food Science & Technology 2021; 115:55-73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-29