การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงในชุมชน อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การจัดการโรค, ความต้องการการดูแล, โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงบทคัดย่อ
บทนำ: การจัดการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงมีความสำคัญในการค้นหาปัญหาและความต้องการการดูแลของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง เป็นการป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงให้ได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์การวิจัย: การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการการดูแลของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงในชุมชน 2) พัฒนารูปแบบการจัดการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงในชุมชน 3) ประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมและความพร้อมของชุมชนต่อการดำเนินงานของรูปแบบการจัดการมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงในชุมชนที่พัฒนาขึ้น ในอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย ระเบียบวิธีวิจัย: กลุ่มตัวอย่างแบ่งตามระยะการพัฒนารูปแบบ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาปัญหาและความต้องการการดูแลของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงและผู้ดูแล จำนวน 16 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นทีมพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วยผู้ให้บริการสุขภาพและตัวแทนชุมชน จำนวน 15 คน และระยะที่ 3 การประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมและความพร้อมของชุมชนต่อการดำเนินงานตามรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้บริการสุขภาพและตัวแทนชุมชน จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างทั้งสามระยะถูกเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม แนวทางการระดมสมอง และ แบบสอบถามประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมและความพร้อมของชุมชนต่อการดำเนินงานของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ได้แก่ อ่อนเพลีย ปวดท้อง เบื่อหน่าย วิตกกังวล ไม่มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรค กลัวการเสียชีวิต กลัวถูกรังเกียจและเป็นภาระ ซึ่งผู้ป่วยมีความต้องการการดูแลเรื่องการรับประทานอาหาร การนอนหลับ กำลังใจจากครอบครัว เพื่อน และผู้ดูแล ต้องการเสียชีวิตที่บ้านอย่างสงบ และกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็ง 2) รูปแบบการจัดการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ได้แก่ (1) การคัดกรองกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป โดย อสม. เชี่ยวชาญ และส่งเสริมความตะหนักรู้ในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง โดยนักวิชาการสาธารณสุขจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ในเทศกาลสำคัญ (2) กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการคัดกรองด้วยแบบคัดกรอง การตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ และการส่องกล้องทางทวารหนัก รวมทั้งการอบรมเชิงปฏิบัติการโดยพยาบาลวิชาชีพ (3) กลุ่มผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ และ (4) กลุ่มผู้ป่วยระยะท้ายได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่บ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ 3) บุคลากรสาธารณสุขและตัวแทนชุมชนมีความคิดเห็นว่ากิจกรรมในรูปแบบฯ มีความเหมาะสม และชุมชนและบุคลากรสาธารณสุขมีความพร้อมต่อการดำเนินงานตามรูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นในระดับมากที่สุด สรุปผล: รูปแบบที่พัฒนาขึ้นช่วยให้เข้าใจปัญหาของผู้ป่วยและส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจในการดูแลโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงและมีรูปแบบการจัดการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงสำหรับชุมชน ข้อเสนอแนะ: รูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงในชุมชน สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงในพื้นที่อื่นที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงในพื้นที่ศึกษาได้
Downloads
References
Word Health organization. Global cancer observatory world health organization [Internet]. 2018 [cited 2020 Jan 5]. Available from https://www.who.int/ health-topics/cancer
Wannarat L. Situation and policy of prevention and control of chronic disease in the community. In: NuiSi M, editors. Nursing care for clients with chronic disease in Community 89706.1 ed. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University; 2020. p.100-112.
Aimsamlan V. National cancer Institute strategic plan 2019-2022 department of medical services, Ministry of public health. [cited 2020 May 31]. Available from http://www.nci.go.th/th/New_ web/index.html
Health Data Center, HDC [internet]. 2020 [cited 2020 May 31]. Available from: https://nki.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php
Thangkratok P. The role of the nurse in the chronic disease management. Journal of Nursing 2017;37(2):154-9. (in Thai)
Chaiarch K, Jirapomkut C, Maneenin N. Knowledge of colorectal of risk population an Namphong dristrict, Khon Kaen province. KKU Journal for Public Health Research 2018;11(3):37-44. (in Thai).
Holowatyj AN, Langston ME, Hen Y, Viskochil R, Perea J, Cao Y, et al. Community health behaviors and geographic variation in early-on set colorectal cancer survival among women. Clin Transi Gastroenterol. 2020;11(12):1-10.
Pronthel S, Kamsa-ard S, Vatanasapt P, Wiagnon S, Suwanrungruang K, Poophakween K. Risk factors for cancar: acohort study in Khonkaennortheast Thailand [thesis] Khonkaen: Khonkaen University. 2010. (in Thai)
Changyai K. Colorectal cancer: multidisciplinary caring system. Journal of Police Nurse
;6(1):232-46. (in Thai)
Bowen DJ, Hyams T, Laurino M, Woolley T, Cohen S, Leppig KA, et al. Development of family talk: an intervention to support communication and educate families about colorectal cancer risk. Journal of Cancer Education 2020;35:470-8.
Krumholz HM, Currie PM, Riegel B, Phillips CO, Peterson ED, Smith R, Yancy CW, Faxon DP. A Taxonomy for disease management: a scientific statement from the American Heart Association disease management taxonomy writing group. Circulation;114(13):1432-45.
Changyai K. Colorectal cancer: multidisciplinary caring system. Journal of Police Nurse 2014;6(1):232-246. (in Thai)
Teerathongdee K. Factors predicting quality of life in older adult patients with colorectal cancer post stomal surgery [thesis] Nakhonpathom: Mahidol University. 2014. (in Thai)
Poosuwan R, Jansook N. The development of an empowerment promoting model in colorectal cancer patients undergoing chemotherapy. Journal of MCU Nakhondhat 2020;7(9):317-27. (in Thai)
Khamha C, Sarakan P. The multi-level structural equation model of health belief model and the Intention of participation for colorectal cancer screening in population aged 45-74 years old, Nam Phong District, Khon Kaen Province. KKU Research Journal (Graduate Studies) 2020;20(3):33-46. (in Thai)
Jiang YY, Long SZ, Tao SX, Feng WZ, Hua SD, Jum LH,et al. Impact of multidisciplinary team working on the management of colorectal cancer. Chinese Medical Journal 2012; 125(2):172-77.
Promarat CH. The result of home palliative care model development, Ban Hong Health Network, Ban Hong district, Lumphun province. Lanna Public Health Journal 2017;13(1): 25-36. (In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น