ประสิทธิผลของการใช้แผนการจัดท่านั่งแบบมณีเวชในหญิงระยะคลอด ต่อระดับความเจ็บปวด เวลาในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว และระดับการรับรู้ต่อประสบการณ์การคลอดของหญิงในระยะคลอด
คำสำคัญ:
การจัดท่าผีเสื้อแบบมณีเวช, ระยะปากมดลูกเปิดเร็ว, การรับรู้ประสบการณ์การคลอดบทคัดย่อ
บทนำ: การคลอดทางช่องคลอดเป็นประสบการณ์ตามธรรมชาติและทำให้เกิดความเจ็บปวด ซึ่งจะมีความรุนแรงและถี่ขึ้นตามความก้าวหน้าของการคลอด ผู้คลอดที่มีความกลัว ความตึงเครียดเกิดการหลั่งเคททีโคลามีน(catecholamine) และคอร์ติซอล (cortisol) ทำให้ความเจ็บปวดยิ่งเพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อมดลูกทำงานผิดปกติ ส่งผลให้การคลอดยาวนาน มีประสบการณ์ทางลบในระยะคลอดและมีผลต่อการสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกในระยะหลังคลอด วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้การจัดท่านั่งแบบมณีเวชร่วมกับการดูแลตามปกติ ในหญิงระยะคลอดต่อระดับความปวด เวลาในระยะปากมดลูกเปิดเร็วและระดับการรับรู้ต่อประสบการณ์ การคลอดในหญิงระยะคลอดเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติที่มารับบริการห้องคลอดโรงพยาบาลนครปฐม ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษากึ่งทดลอง โดยกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 จำนวน 28 คน และกลุ่มทดลองได้รับการจัดท่านั่งแบบมณีเวชร่วมกับการดูแลตามปกติในระยะคลอดช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ แบบบันทึกความก้าวหน้าของการคลอด แบบประเมินระดับความเจ็บปวด แบบสอบถามการรับรู้ประสบการณ์การคลอดและแผนการจัดท่านั่งแบบมณีเวชในหญิงระยะคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบไคสแควร์ และสถิติทดสอบทีอิสระ (independent t-test) ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลโดยใช้แผนการจัดท่านั่งแบบมณีเวชในหญิงระยะคลอดร่วมกับการดูแลตามปกติมีเวลาในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว ระยะปากมดลูก 5-7 ซม. และระยะปากมดลูกเปิด 8-10 ซม. น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) และมีคะแนนการรับรู้ประสบการณ์การคลอดมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) แต่พบว่าระดับความปวดบริเวณท้องในระยะปากมดลูกเปิด 3-4 ซม., 5-7 ซม. และ 8-10 ซม. ของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดย p-value เท่ากับ .97, .72 และ .29 ตามลำดับ และระดับความปวดบริเวณหลังในระยะปากมดลูกเปิด 3-4 ซม., 5-7 ซม. และ 8-10 ซม. ของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดย p-value เท่ากับ .55, .41 และ .25 ตามลำดับ สรุปผล: ผลการศึกษายืนยันประสิทธิผลของการใช้แผนการจัดท่าผีเสื้อแบบมณีเวชถึงการช่วยลดระยะเวลาในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว และการรับรู้ประสบการณ์การคลอดในหญิงระยะคลอดที่มารับบริการห้องคลอดโรงพยาบาลนครปฐม ข้อเสนอแนะ: ควรมีการจัดท่าผีเสื้อแบบมณีเวชให้กับผู้คลอดในระยะปากมดลูกเปิดเร็วที่เป็นการตั้งครรภ์ปกติ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือแผนการรักษาให้นอนราบหรือพักบนเตียง เพื่อช่วยส่งเสริมให้เกิด ความก้าวหน้าของการคลอดเร็วขึ้นและเกิดการรับรู้ต่อประสบการณ์การคลอดที่ดี
Downloads
References
Parisonkul S, Sansiriphan N. Nursing for women in childbirth period. 2nd ed. Chiang Mai: Textbook project, Faculty of Nursing, Chiang Mai University; 2010. (in Thai).
Pillitteri A. Maternal & child health nursing: care of the childbearing and childrearing family. 6th ed. PA: Lippincott William & Wilkins; 2010.
Gupta S, Kumar, GSA, Singhal H. Acute pain-labour analgesia. Indian J Anaesth 2006; 50(5):363-69.
Mcdonald JS. Obstetric pain. In: Wall PD, Melzack R, editors. Textbook of pain. 3rd ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 1999. p.1388-414.
Bryant H, Yerby M. Relief of pain during labour. In: Henderson C, Macdonal S, editors. Mayes’ midwifery: a textbook for midwives 13th ed. Edinburgh: Bailliere Tindall; 2004. p. 458-75.
Delivery room, Nakhonpathom Hospital Annual maternity statistics report. Nakhonpathom: Nakhon Pathom Hospital; 2018. (in Thai).
Nystedt A, Hogberg U, Lundman B. The negative birth experience of prolonged labour: A case - referent study. JCN 2005;14(5):579–86.
Simkin PP, Bolding A. Update on nonpharmacologic approaches to relieve labor pain and prevent suffering. J Midwifery Womens Health 2004;49(6):489-504.
Wong DL, Perry SE, Hockenberry MJ, Lowdermilk DL. Maternal child nursing care. St. Louis: Mosby;2002.
Ricci SS. Essentials of maternity, newborn, and women’s health nursing. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2007.
Gupta JK, Hofmeyr GJ, Smyth RMD. Position in the second stage of labour for women without epidural anaesthesia (Review). The Cochrane Collaboration [Internet]. 2017 [cited 2019 Nov 21];5(5):1-99. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/ articles/PMC6484432/
WHO Reproductive Health Library. WHO recommendation on duration of the first stage of labour [Internet]. 2018 [cited 2019 Nov 21]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/272447/WHO-RHR-18.12-eng.pdf?sequence=1
Duangmani K, Somsap Y, Ingkathawornwong T, Kala S. Effects of modified Bhadrasana pose on labor pain and duration of active phase in parturients. Prince of Naradhiwas University Journal 2017;9(1):35-49. (in Thai).
Ningsanond N. Simple way to make life easier…by Maneeveda. JST 2011;3(5):1-13. (in Thai).
Saejiaw A. The development of integrative care with maneology in the first pregnancy of Surat Thani hospital. Region 11 Medical Journal 2017;31:325–37. (in Thai).
Malae N. Effects of using Maneveda practice on time of labor. Sungai Kolok Hospital 2015. (copy document) (in Thai).
Uthairat P, Saejiaw A. The effects of Maneveda practice on labour pain coping and labour time of primigravidarum at Suratthani Hospital. Region 11 Medical Journal 2019; 32(1),791-804. (in Thai).
Waldenstrom U, Borg IM, Olsson B, Skold M, Wall S. The childbirth experience: study of 295 new mothers. Birth [Internet]. 1996 [cited 2019 Nov 21];23:144-53. Available from: http://dx.doi.org/10.1111/j.1523-536X.1996.tb00475.x
Namujju J, Muhindo R, Mselle LT, Waiswa P, Nankumb J, Muwanguzi P. Childbirth experiences and their derived meaning: a qualitative study among postnatal mothers in Mbale regional referral hospital, Uganda. Reprod Health 2018;15(183):1-11.
Marut JS, Mercer RT. Comparison of primipara’s perceptions of vaginal and cesarean births. Nursing Research 1979;28(5):260-66.
Polit DF, Beck CT. Nursing research : generating and assessing evidence for nursing practice. 9th ed. Pa: Lippincott, Williams &Wilkins; 2012.
Nungkla N. Effect of childbirth preparation on childbirth experience among primigravidas and supporters [Master of Nursing Science, Nursing Care of Women]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2003. (in Thai).
Walsh D. Pain and epidural use in normal childbirth. EBM 2009;7(3):89-95.
Waldenstorom U, Hildingsson l, Rubertsson C, Radestad I. A negative birth experience: prevalence and risk factor in national sample. Birth 2004;31(1):17-27.
Borrirukwanit K, Jindajumnong P, Pomyen S, Junhmaun K, Yusuk K, Seewan T, et al. Effect of Maneevej sitting position technique on labour pain level, duration time of delivery and blood loss in normal labour. J Health Sci 2019;28(3),455-65. (in Thai).
Simkin P. Maternal: position and pelvis revisited. Birth 2002;30(2):130-2.
Munsil J, Sangin S, Suppasr P. Effects of positioning using the Maneevada knowledge program on duration of active labor and satisfaction with childbirth of primiparous women. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2018;101-14. (in Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น