ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดด้วยการประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อความเครียดจากการฝึกปฏิบัติทางการพยาบาลครั้งแรกของนิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้แต่ง

  • สุลี ถาวรกุล สาขาการส่งเสริมสุขภาพและสุขศึกษา ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สมคิด ปราบภัย

คำสำคัญ:

การจัดการความความเครียด, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, ความเครียด, นิสิตพยาบาล

บทคัดย่อ

บทนำ: การฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยเป็นตัวกระตุ้นสำคัญให้เกิดความเครียดในนักศึกษาพยาบาล วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดด้วยการประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อความเครียดจากการฝึกปฏิบัติทางการพยาบาลครั้งแรกของนิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) แบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาในภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากจากรหัสประจำตัวนิสิต แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 35 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการความเครียดด้วยการประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมการเรียนการสอนตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการจัดการความเครียด แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการความเครียด และแบบวัดความเครียดในการขึ้นฝึกปฏิบัติทางการพยาบาล ทดสอบหาค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราคเท่ากับ .86, .75 และ .98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t–test และ Paired t–test ผลการวิจัย: พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการจัดการความเครียด และพฤติกรรมการจัดการความเครียด หลังทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และคะแนนเฉลี่ยความเครียดในการขึ้นฝึกปฏิบัติทางการพยาบาลหลังการทดลองต่ำกว่า กลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) สรุปผล:จากผลการศึกษานี้สนับสนุนว่าโปรแกรมการจัดการความเครียดด้วยการประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองส่งผลให้นิสิตพยาบาลมีการรับรู้ความสามารถของตนเอง มีพฤติกรรมในการจัดการความเครียด และสามารถลดความเครียดในการขึ้นฝึกปฏิบัติทางการพยาบาลบนหอผู้ป่วยได้ ข้อเสนอแนะ: ควรเพิ่มระยะเวลาในการทำโปรแกรมเป็น 6-8 สัปดาห์ เพื่อช่วยให้นิสิตเกิดทักษะ ความชำนาญจนทำให้เกิดความมั่นใจ และมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ที่มากขึ้น

References

Vatanasin S. Perceived stress level and sources of stress among nursing students at Faculty of Nursing, Burapha University 2010;18:47-59. (in Thai).

Lertsakornsiri M. The Stress, Stress management of nursing students during practice in the labor room. Kuakarun Journal of Nursing 2015;22(1):7-16. (in Thai).

Chaiwong N. Stress and Sources of stress among nursing student at Faculty of Nursing Burirum, Western University. 10th National & International Conference Suan Sunandha Rajbhat University, Bangkok. 2019. (in Thai).

Turner & McCathy. Stress and anxiety among nursing students: A review of intervention strategies in literature between 2009 and 2015. Louisville:University of Louisville. USA. 2017.

Inam P, Chuto CL, Phanuwat ST. The result of preparation on operational readiness on the first practice of nursing students. Faculty of Nursing Ratchathani University, Udonthani Campus. RTUNC 2019 The 4th National Conference Ubonratchathani. 2019. (in Thai).

Jamjang S, Yomdit V, Pongphetdit B, Pitaksin DK, Changsieng P, Montong A. Effects of nursing simulation-based learning for preparation of nursing practicum on perceptions of Self Efficacy in performing nursing care in a hospital. Nursing Journal of the Ministry of Public Health. 2015. (in Thai).

Janton S, Bunlikikul T. Readiness to practice in the fundamentals of nursing practicum among nursing students at The Thai Red Cross College of Nursing. Thai Red Cross Nursing Journal 2012;5(1):32-45. (in Thai).

Atthamaethakul W, Jamjang S. Knowledge related to nursing practice of students enrolling the basic concepts and principles of nursing subject in the bachelor degree of nursing program, Boromarajonani College of Nursing, Ratchaburi. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2012. (in Thai).

Lertsakornsiri M. The relationships between personal factors, environment factors and stress, stress management during practice in labor room of nursing students at Saint Louis College. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2014;15(2):270-79. (in Thai).

Kitiyawan S. Stress and Coping strategies in fundamental nursing clinical practice of nursing student, Ratchathani University. RTUNC 2018 The 3rd National Conference Ubonratchathani 2018. (in Thai).

Sriboonpimsuay W, Srisutipanporn S, Phanich PN. Stress and Coping prior to practice in labour room of the Third-Year nursing student at Boromarajonani College of Nursing, Udonthani. UMT Poly Journal 2016;13(2):30 - 38. (in Thai).

Apiwatanasiri C, Somaketrarin K, Suraprayoon K, Leurmprasert K, Wankaew N, Homchampa P, et al. Stress and Coping in medical students at clinical level, Khon Kaen University. Srinagarind Medical Journal 2007;22(4):416-24. (in Thai).

Tantalanukul SK, Rattanasak S, Sengpanich C, Srisung W, Tungkawanich T. The effect of simulation-based learning on the ability development of primary medical care practicum of nursing students at Boromarajonani College of Nursing Uttaradit. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journa 2016;18(1):49 -58. (in Thai).

Cheaplamp S, Amphon K, Boonchuaylua P, Boonmark P. Effects of the preparation for clinical nursing practice on knowledge and skills in critical nursing practice among nursing students at Phrapokklao Nursing College. Journal of Phrapokklao Nursing College 2015;26(2):44-51. (in Thai).

Chirawatkul A. Statistics for health science research. 4th ed. Bangkok: S. ASIA PRESS; 2015. (in Thai).

Bandura A. Self-efficacy: toward a unifying theory of behavioral change. Psychological review. 1977;84(2):191-215.

Lazarus RS, Folkman S. Psychological stress and the coping process. Springer publishing company, New York. 1984.

Charuwatcharapaniskul U, Limkosit Y, Lertpoonwilaikul W, Bunchuang P. Effects of nursing skill development on perception of self-efficacy. Journal of Nursing Science and Health 2008;35(2):10-8. (in Thai).

Yodthong S, Sanee N, Chansungnoen J. Stress and Coping among nursing students in principles and nursing techniques practicum, Boromarajonani College of Nursing, Trang. The 9 th Hatyai National and International Conference. 2017. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-09