ผลของการให้ความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

ผู้แต่ง

  • จันทร์เพ็ญ นิลวัชรมณี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
  • วิดาพร ทับทิมศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
  • ปัญจศิลป์ สมบูรณ์ หัวหน้าหน่วย EMS โรงพยาบาลราชวิถี

คำสำคัญ:

ความรู้และทักษะ, การช่วยฟื้นคืนชีพ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

บทนำ: การช่วยฟื้นคืนชีพที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น วัตถุประสงค์การวิจัย: มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1-3 ประจำปีการศึกษา 2561 ที่ไม่เคยผ่านการอบรมหลักสูตรการช่วยฟื้นคืนชีพมาก่อน เลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ชั้นปีละ 50 คน รวมทั้งหมด 150 คน เพื่อจัดกิจกรรมการฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพ ได้แก่ การบรรยาย การสาธิตและสาธิตย้อนกลับ และการสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้และแบบประเมินทักษะและขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพ วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้และทักษะขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพของนักศึกษาพยาบาลในกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม ด้วยสถิติ t-test for dependent ผลการวิจัย: พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพของนักศึกษาพยาบาลหลังการทดลอง ( =15.89, SD=1.78) สูงกว่าก่อนการทดลอง ( =13.80, SD=2.35) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 (t = 10.12, p <.001) 2) คะแนนเฉลี่ยขั้นตอนในการฝึกทักษะช่วยฟื้นคืนชีพหลังการทดลอง ( =6.58, SD=2.33) สูงกว่าก่อนการทดลอง ( =1.74 SD=2.02) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 (t = 20.24, p <.001) และประสิทธิภาพขั้นตอนการกดนวดหัวใจ หลังการทดลอง ( =63.21, SD=16.70) สูงกว่าก่อนการทดลอง ( =49.30 SD=14.20) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = 7.47, p <.001) สรุปผล: จากข้อค้นพบของผลการวิจัยกล่าวได้ว่ากิจกรรมการฝึกอบรมให้ความรู้และทักษะขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพ ช่วยให้นักศึกษาพยาบาลมีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้น ข้อเสนอแนะ: ดังนั้นจึงควรนำกิจกรรมการฝึกอบรมนี้ไปใช้อย่างต่อเนื่องทุกปี และขยายไปยังกลุ่มบุคคลอื่นๆ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้และทักษะดังกล่าวให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

O' Gara PT, Kushner FG, Ascheim D D, Casey DE, Chung MK, de Lemos J A. 2013 ACCF/AHA guideline for the management of ST-Elevation Myocardial Infarction. A report of the American College of Cardiology Foundation American Heart Association task force on practice guidelines, [internet].2013 (cited 2019 Dec 25);e362-425. Available from: https://www.ahajournals.org/doi/pdf/10.1161/CIR.0b013e3182742cf6

Division of Non Communicable diseases. Annual report bureau of non-communicable diseases, department of disease control, Ministry of Public Health. [internet]. 2017 (cited 2019 Dec 25); Available from: http://www.thaincd.com/document/file/download/papermanual/NCDReport60. pdf. (in Thai).

Go AS, Mozaffarian D, Roger VL, Benjamin EJ, Berry JD, Borden WB. Heart disease and stroke statistic - 2013 update a report from the American Heart Association. Circulation 2012;127(1):e6-e45.

Srisuk P, Apiratwarakul K, Lenghong K, Rattanaseeha P, Kotruchin P, Buranasakda M. Effectiveness of Basic Life Support and Automated External Defibrillator short-course training in undergraduate students. Srinagarind Med J 2017;32(4):332-7. (in Thai)

American Heart Association. Guidelines focused updates –CPR& ECC guidelines. [internet]. 2017(cited 2019 Dec 25); Available from: https://eccguidelines.heart.org/wpcontent/uploads/2017/12/2017Focused updates highlights_TH.pdf.

Kim EJ, Lee KR, Lee MH, Kim JY. Nurses’ cardiopulmonary resuscitation performance during the first 5 minutes in in-situ simulated cardiac arrest. J Korean Acad Nurs 2012;42:361-8.

Roh YS, Issenberg SB. Association of cardiopulmonary resuscitation psychomotor skills with knowledge and self-efficacy in nursing students.International Journal of Nursing Practice. [internet]. 2013 (cited 2019 Dec 25); Available from: http://onlinelibrary.wiley.com doi//10.1111/ijn.12212/pdf.

Partiprajak S. Relationship between knowledge, perceived self-efficacy in Basic Life Support (BLS) and chest compressionperformance among undergraduate nursing students. Songklanagarind J Nurs 2015;35(1):119-34. (in Thai).

Anderson LW, David K, (Ed.). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: a revision of Bloom's taxonomy of educational objectives.[internet].2001 (cited 2019 Dec 25); Available from: https://cft.vanderbilt.edu/guides-sub-pages/blooms-taxonomy/

Chaisongmuang P, Pearkao C. Effects of first aid to sudden cardiac arrest program for high-school students in Northeast Thailand. NJPH 2018;28(2):118-32. (in Thai).

Seangnhern U, Uppanisakorn S, Chinnawong T. Factors related to nurses’ knowledge and skills in cardiopulmonary resuscitation in Songklanagarind hospital. Songklanagarind J Nurs 2012;32(1):1-10. (in Thai)

Sriklo M, Yujaiyen M, Sriamonruttanakul T. The effects of an education program promoting basic cardiopulmonary life support on knowledge and skills of basic cardiopulmonary life support of middle school students. JHNR 2019;35(1):239-51. (in Thai).

Baunoo W. Effectiveness of telephone cardiopulmonary resuscitation program for out-of-hospital cardiac arrest of senior high school students. JPR2R 2019;6:37-47. (in Thai).

Buathongjun J, Teerawatskul S, Suttineam U. Effect of basic life support program on basic life support competency in the supporting staff of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. BCNUT J Nurs 2018;10(1):69-82. (in Thai)

Norkaeo D, Treenon P, Chabuakam N, Kanbupar C, Teanthong S, Kaewmanee C. Nursing students knowledge and skills about basic life support (BLS): The effects of simulation-based learning. SCNJ. 2018;5(3):84-95. (in Thai)

Apiratanawong S, Piyakong D, Pongrangsarn P, Piyasiripan N, Khamboon T, Pothimas N, et al. The effects of a basic life support program on knowledge and attitude toward basic life support among high school students. JNHS 2018;12(3):146-57. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-09