การรับรู้ของชุมชนชนบทต่อภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุและการป้องกัน
คำสำคัญ:
การรับรู้, ชุมชนชนบท, ผู้สูงอายุ, ภาวะสมองเสื่อม, การป้องกันบทคัดย่อ
บทนำ: ภาวะสมองเสื่อมเป็นปัญหาที่พบได้มากขึ้นเนื่องจากประชากรมีอายุขัยยืนยาวขึ้น หากสามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้จะช่วยลดอุบัติการณ์ของภาวะสมองเสื่อม ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาการรับรู้ของชุมชนต่อภาวะสมองเสื่อมและการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบท โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาในหมู่บ้านสองแห่งในตำบลแห่งหนึ่งของอำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น ระเบียบวิธีวิจัย: ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้สูงอายุและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนจำนวน 44 คน ที่ได้จากการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย: พบว่า ชุมชนมีการรับรู้ต่อภาวะสมองเสื่อมว่าคือการลืมหรือจำไม่ได้อย่างถาวร โดยรับรู้เหตุปัจจัยของภาวะสมองเสื่อมว่าเกิดจาก ความเฒ่าความแก่ การอยู่ตามลำพังไม่ค่อยได้มีสังคม การไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เครียด รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ สารเสพติด พักผ่อนไม่เพียงพอ นำสู่การรับรู้วิธีการป้องกันภาวะสมองเสื่อมที่เน้นการจัดกิจกรรมที่สนุกสนานและได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนผู้สูงอายุด้วยกัน โดยการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะกับผู้สูงอายุดังนี้ 1) กิจกรรมย้อนวิถีชีวิตวันวาน 2) กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ 3) กิจกรรมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) กิจกรรมที่เป็นประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา 5) การออกกำลังกายที่ได้เคลื่อนไหวร่างกายเบา ๆ 6) การท่องจำบ่อยๆ 7) การอ่าน เขียน และเล่าเรื่อง และ 8) การให้ความรู้และรณรงค์การป้องกันสมองเสื่อม สรุปผล: ผลการศึกษานี้เป็นแนวทางให้หน่วยงาน องค์กร และผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจถึงการรับรู้ในมุมมองของชุมชนต่อภาวะสมองเสื่อมและการป้องกัน ข้อเสนอแนะ: เป็นแนวทางสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนารูปแบบและกิจกรรมที่ส่งเสริมการรู้คิดเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมที่สอดรับกับความต้องการและบริบทของผู้สูงอายุในชุมชนชนบท
Downloads
References
Prasat neurological institute department of medical services. Clinical practice guidelines: dementia. Tantirittisak T, editor. Bangkok: Tanapress.; 2014. (in Thai).
Kulkantrakorn K. The evaluation and diagnosis of dementia and Alzheimer’s disease: the update. Thammasat Medical Journal. 2014;14(1):93-101. (in Thai).
Prasartkul P. Situation of the Thai elderly 2016. Prasartkul P, editor. Nakhon Pathom: Printery; 2017.
Trakulsithichoke S. Prevention of dementia in older persons. Journal of Nursing and Health Care. 2018;36(4):6-14. (in Thai).
Anothaisintawee T, Thamakaison S, Srisuwan P. Sytematic review of the effectiveness of intervention for dementia prevention. Bangkok; 2014. (in Thai).
Nuysri M. Tha prevention of dementia. Journal of The Police Nurses. 2016;8(1):227-40. (in Thai).
Thongwachira C, Jaignam N, Thophon S. A Model of dementia prevention in older adults at Taling Chan district Bangkok metropolis. KKU Reserch Journal( Gradute Studies). 2019;19:96-109. (in Thai).
Wongsaree C. Nurses’ roles in families promoting to slow progressive with early stage dementia syndrome in an older adult. Huachiew Chalermprakiet Science and Technology Journal 2018;4(2):102-11. (in Thai).
National Statistical Office Ministry of Digital Economy and Society. Number of the elderly from survey of the older persons in Thailand by age group, sex, province, area and region: 2017 [Internet]. 2017 [cited 2019 Mar 23]. Available from: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
Gauthier S, Reisberg B, Zaudig M, Petersen RC, Ritchie K, Broich K, et al. (2006). Mild cognitive impairment. Lancet 2006;367:1262-70.
Sharp E, Gatz M. Relationship between education and dementia: updated systematic review. Alzheimer disease and associated disorders 2011;25(4):289-304.
Kanchanakijsakul C. Qualitative research. 2018 [Internet]. [cited 2020 June 7]. Available from: http:// www.research.nu.ac.th/th/signup/hen6/Chamaiporn.pdf (in Thai).
Sritanyarat W, Dumrikarnlert L. Knowledge management and synthesis guidelines of the Tambon Health Promotion Hospital: guidelines for the older people’s services. Nonthaburi: Sahamit Printing and Publishing. (in Thai).
Subindee S, Sangchart B. Community’ s perception of the older persons with dementia. Journal of Nursing Science and Health. 2018;41(3):54-64. (in Thai).
Chonlasueksenee P, Sritanyarat W. Family perceptions regarding changes in older persons with dementia. Journal of Nursing Siam University. 2017;18(35):24-36. (in Thai).
Creswell JW. Qualitative inquiry and research design: choosing among five approaches. 4th ed. Los Angeles: Sage Publications; 2018.
Limpawattana P. Geriatric syndromes and health issues of interest. Limpawattana P, editor. Khon Kaen: Klungnanawittaya; 2017. (in Thai).
Nwakasi CC, Hayes C, Fulton J, Roberts AR. A pilot qualitative study of dementia perceptions of Nigerian migrant caregivers. Int J Africa Nurs Sci 2019 Jan 1;10:167–74.
Hawong S, Thaingtham W, Nanthamongkolchai S. The health promotion program for the elderly at risk group of Alzheimer’s in community. Journal of Public Health Nursing 2017;31:110-28. (in Thai).
Rakesh G, Szabo ST, Alexopoulos GS, Zannas AS. Strategies for dementia prevention: latest evidence and implications. Ther Adv Chronic Dis. 2017;8:121–36.
Chen Y, Zhang J, Zhang T, Cao L, You Y, Zhang C, et al. Meditation treatment of alzheimer disease and mild cognitive impairment: a protocol for systematic review. Medicine (Baltimore) 2020;99(10):e19313.
Suwan A. Role of nurses in caring for older persons with dementia. Journal of Nursing and Health Care 2017;35:6-15. (in Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น