ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร ต่อรอบเอวและความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่อ้วนลงพุง

ผู้แต่ง

  • สุนันทา ปกป้อง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปาหนัน พิชยภิญโญ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุนีย์ ละกำปั่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กรภัทร มยุระสาคร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

อ้วนลงพุง , พฤติกรรมการรับประทานอาหาร , โรคความดันโลหิตสูง , ทฤษฎีลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลง

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบบ่อยในประเทศไทย มักจะพบในผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง โดยพฤติกรรมการบริโภคอาหารเป็นปัจจัยสำคัญของการควบคุมภาวะโรคและลดรอบเอว

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่อ้วนลงพุง ต่อความตระหนักในการรับประทานอาหาร ความสมดุลในการตัดสินใจฯ การรับรู้ความสามารถตนเองฯ พฤติกรรมการรับประทาน ความดันโลหิตและรอบเอว

ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองนี้ทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 –  มีนาคม พ.ศ. 2563 ในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ โรงพยาบาลศิริราช เกณฑ์คัดเข้า ได้แก่ ผู้ที่อายุ 35 ปีขึ้น ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตมาอย่างน้อย 1 ปี โดยกลุ่มตัวอย่างที่มาตรวจตามนัดในวันจันทร์เป็นกลุ่มทดลอง (n = 28) และกลุ่มที่มาตรวจตามนัดในวันพฤหัสบดีเป็นกลุ่มเปรียบเทียบ (n = 31) โปรแกรมมีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลง มีระยะเวลา 8 สัปดาห์ ประกอบด้วย การประเมินภาวะสุขภาพตนเอง การให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและอ้วนลงพุง วิเคราะห์พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การตั้งเป้าหมายตนเองและฝึกทักษะการปรับอาหารและการโทรศัพท์ติดตาม กลุ่มเปรียบเทียบได้รับดูแลรักษาตามปกติของคลินิก ทำการเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามในระยะก่อนการทดลอง สัปดาห์ที่ 6 และสัปดาห์ที่ 8 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคแสควร์ สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำและสถิติการทดสอบ pair t-test และ Independent t-test

ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยด้านความตระหนักฯ ความสมดุลในการตัดสินใจฯ การรับรู้ความสามารถตนเองฯ และพฤติกรรมการรับประทานอาหารดีกว่าก่อนการทดลองและมีค่าเฉลี่ยความดันซีสโตลิกลดลงกว่าก่อนการทดลอง (p < .001) และค่าเฉลี่ยรอบเอวลดลง (p < .05) แต่ค่าเฉลี่ยความดันไดแอสโตลิกไม่แตกต่างกัน (p > .05) และมีผลต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างสัปดาห์ที่ 6 กับก่อนทดลองและสัปดาห์ที่ 8 กับก่อนการทดลองด้านความตระหนักฯ ความสมดุลในการตัดสินใจฯ การรับรู้ความสามารถตนเองฯ และพฤติกรรมการรับประทานอาหารมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p < .001) มีผลต่างของค่าเฉลี่ยรอบเอวและความดันซีสโตลิกมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p < .05) แต่พบว่าผลต่างของค่าเฉลี่ยค่าความดันไดแอสโตลิกของระหว่างกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p > .05)

สรุปผล: โปรแกรมการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารสามารถส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ อ้วนลงพุงมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารดีขี้นได้ ส่งผลให้รอบเอวและค่าความดันโลหิตซิสโตลิกลดลง

ข้อเสนอแนะ: โปรแกรมนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานที่ให้บริการสุขภาพในชุมชนอื่นได้ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปควรเพิ่มระยะเวลาการศึกษาและจำนวนกลุ่มตัวอย่างเพื่อทดสอบความคงทนของพฤติกรรมและประสิทธิผลของโปรแกรม

References

World Health Organization. Hypertension [Internet]. 2019 [cited 2020 Mar 10]. Available from: https://www. who.int/ news-room/fact-sheets/detail/hypertension

Ministry of Public Health. Group report standard: illness with critical NCDs [Internet]. 2018 [cited 2021 Mar 20]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php (in Thai).

Ettehad D, Emdin CA, Kiran A, Anderson SG, Callender T, Emberson J, et al. Blood pressure lowering for prevention of cardiovascular disease and death: a systematic review and meta-analysis. Lancet 2016;387(10022):957-67.

Hypertension Society of Thailand. Guidelines for the treatment of hypertension in general practice. Bangkok: Huanamprinting; 2015. (in Thai).

Siervo M, Lara J, Chowdhury S, Ashor A, Oggioni C, Mathers JC. Effects of the dietary approach to stop hypertension (DASH) diet on cardiovascular risk factors: a systematic review and meta-analysis. Br J of Nutr 2015;113(1):1-15.

Kucharska A, Gajewska D, Kiedrowski M, Sinska B, Juszczyk G, Czerw A, et al. The impact of individualised nutritional therapy according to DASH diet on blood pressure, body mass, and selected biochemical parameters in overweight/obese patients with primary arterial hypertension: a prospective randomised study. Kardiol Pol 2018;76(1):158-65.

Krzesinski P, Stanczyk A, Piotrowicz K, Gielerak G, Uzieblo-Zyczkowska B, Skrobowski A. Abdominal obesity and hypertension: a double burden to the heart. Hypertens Res 2016;39(5):349-55.

Savva SC, Lamnisos D, Kafatos AG. Predicting cardiometabolic risk: waist-to-height ratio or BMI. A meta-analysis. Diabetes Metab Syndr Obes 2013; 6:403-19.

Ashwell M, Gibson S. Waist to height ratio is a simple and effective obesity screening tool for cardiovascular risk factors: analysis of data from the British national diet and nutrition survey of adults aged 19–64 years. Obes Facts 2009;2(2):97-103.

Burini RC, Kano HT, Nakagaki MS, Frenhani PB, McLellan KCP. Behavioral factors of abdominal obesity and effects of lifestyle changes with fiber adequacy. New Insights in Obes Gene Beyond 2017; 1:14-22.

The primary care unit Siriraj Hospital. Statistics of hypertensive patients. Bangkok: The primary care unit Siriraj Hospital; 2017. (in Thai).

Aekplakorn W, editor. Report of the Thai public health survey by the 4th physical examination 2008-9. Nontaburi: The Graphic System Company; 2010. (in Thai).

Prochaska JO, DiClemente CC. The transtheoretical approach. In: Norcross JC, Goldfried MR, editors. Handbook of psychotherapy integration. (2nd ed.). 1992. United Kingdom: Oxford University Press; p. 1102-14.

Raya P, Benjakul S, Kengganpanich M, Kengganpanic T, Lattanan K. Effects of the smoking cessation program applying transtheoretical model among smokers at Wongwon sub-district, Kuntung district, Trung province. Journal of Health and Nursing Research 2015;31(2):9-25. (in Thai).

Pennington CG. Applying the transtheoretical model of behavioral change to establish physical activity habits. Journal of Education and Recreation Patterns (JERP) 2021;2(1):11-20.

de Freitas PP, de Menezes MC, dos Santos LC, Pimenta AM, Ferreira AVM, Lopes ACS. The Transtheoretical model is an effective weight management intervention: a randomized controlled trial. BMC Public Health 2020; 20:1-12.

Gordali M, Bazhan M, Ghaffari M, Omidvar N, Rashidkhani B. The effect of TTM-based nutrition education on decisional balance, self-efficacy and processes of change for fat intake. Health Educ J 2021;121(3):229-45.

Saotong T, Pichayapinyo P, Lagampan S. Effects of behavior change on glycemic control in type 2 diabetes patients with uncontrolled blood sugar. Journal of Health and Nursing Research 2020;36(3):19-2. (in Thai).

Siripitthayakhunkit A, Phakdee O, Malatham P. Promote the ability to maintain energy balance against health conditions of hospital personnel with metabolic syndrome. Ramathibodi Nursing Journal 2013;19(3):365-81. (in Thai).

Pichayapinyo P, Lagampan S, Rueangsiriwat N. Effects of a dietary modification on 2 h postprandial blood glucose in Thai population at risk of type 2 diabetes: an application of the Stages of Change Model. Int J Nurs Pract 2015;21(3):278-85.

Choojai S. Effect of dietary lifestyle adjustment program for blood pressure control of hypertensive patients in Angthong hospital. Mahasarakham Hospital Journal 2015;12(1):159-67. (in Thai).

Xu X, Wang B, Ren C, Hu J, Greenberg DA, Chen T, et al. Age-related impairment of vascular structure and functions. Aging Dis 2017;8(5):590-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22