ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. ของผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ศิริพร ชุนฉาย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • นพนัฐ จำปาเทศ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • รัชนี นามจันทรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • อภิรัตน์ อำภามณี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางโฉลง

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ , พฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. , โรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

บทนำ: ผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเฉพาะการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดแนวทางหนึ่งที่สำคัญคือความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. เหมาะสมจะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ระเบียบวิธีวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 150 ราย ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดย แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพตามพฤติกรรม 3อ.2ส. และพฤติกรรม 3อ.2ส. ของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2561 มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ระหว่าง.723 - .870 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน Spearman’s Rho correlation

ผลการวิจัย: ความรอบรู้ด้านสุขภาพตามพฤติกรรม 3อ.2ส. โดยรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 56.0 และความรอบรู้ด้านสุขภาพรายด้านพบว่าความรู้ ความเข้าใจทางสุขภาพอยู่ในระดับถูกต้องที่สุด ร้อยละ 45.3 การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การจัดการตนเอง การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง อยู่ในระดับดีมากร้อยละ 65.3, 51.3, 70.7 และ 78.0 ตามลำดับ ส่วนการสื่อสารสุขภาพ อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 56.0 สำหรับพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 49.3 ความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3อ.2ส. โดยรวม การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การสื่อสารสุขภาพ ด้านการจัดการตนเอง และด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง สัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =.263, p = .001, r =.227, p = .005, r =.233, p = .004, r =.242, p = .003, r =.292, p < .001 ตามลำดับ) ส่วนด้านความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ และการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศสัมพันธ์สัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (r =.158, p = .054, r =-.060, p = .464 ตามลำดับ)

สรุปผล: ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการดูแลหรือโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้ความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยเฉพาะด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การสื่อสารสุขภาพ การจัดการตนเอง และการตัดสินใจเลือกการปฏิบัติที่ถูกต้อง

 ข้อเสนอแนะ: บุคลากรด้านสุขภาพ ควรให้ผู้ป่วยเบาหวานร่วมกับความโลหิตสูง มีช่องทางลากหลายในการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การสื่อสารสุขภาพ การจัดการตนเอง และการตัดสินใจเลือกการปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก เพื่อจะได้นำไปสู่การมีพฤติกรรมที่ดีมากขึ้น

References

Division of Non-Communicable Disease, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. World Diabetes Day 2019 [Internet]. 2019 [cited 2021 Feb 17] Available from: https://drive.google.com/file/d/17Au73KLx1tukhJ6. (in Thai)

Phanmung N, Yuloetlop A, Latthi S. World Hypertension Day 2019 [Internet]. 2019 [cited 2021 Feb 14] Available from: http://110.164.147.155/kmhealth_new/Documment/blood/knowlage/ 14.pdf (in Thai)

Sowers JR. Diabetes mellitus and vascular disease. Hypertension. 2013; 61(5):943-947. DOI: 10.1161/HYPERTENSION AHA.111.00612.

Tsimihodimos V, Gonzalez-Villapando C, Meirs JB, Ferrannini E. Hypertension and Diabetes mellitus: Copredication and time trajectories. Hypertension. 2018; 71(3):422-8.DOI:10.1161/HYPERTENSION AHA.117.10546

Tiptaradol S, Aekplakron W. Prevalence, awareness, treatment and control of coexistence of diabetes and hypertension in Thai population. Int J Hypertens. 2012; 2012:386-453. DOI:10.1155/2012/386453

Petrie JR, Guzik TJ, Touyz RM. Diabetes, Hypertension, and cardiovascular disease: Clinical insights and vascular mechanisms. Can J Cardiol. 2018; 34(5):575-584. DOI:10.1016/j.cjca.2017.12.005

Shah A, Afzal M. Prevalence of diabetes and hypertension and association with various risk factors among different Muslim populations of Manipur, India. J Diabetes Metab Disord.2013;12(52):1-10. DOIi:10.1186/2251-6581-12-52

Health Education Division, Department of health service support, Ministry of Public Health. Enhancing and assessing health literacy and health behaviors Children and youth aged 7-14 years and people aged 15 years and over, updated version 2018 [Internet]. 2018 [cited 2021 Feb 14] Available from: https://www.govesite.com/uploads/20190315161535CpzInTs/store/202011121106257gyZ8MR.pdf. (in Thai)

Division of Non-Communicable Disease, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Assessment of cardiovascular risk among patients with diabetes and hypertension [Internet]. 2018 [cited 2021 Feb 14] Available from: http://e-lib.ddc.moph.go.th /pdf/material%20224/material%20224.pdf (in Thai)

Deepae P, Khungtumneam K, Chumpathat N. Factors related to health-promoting behaviors for cardiovascular disease prevention among diabetes with hypertension patients in Muang District, Chachoengsao Province. Journal of Health and Nursing Research 2019 Dec.2;35(3):46-59. (in Thai)

Bawornthip P, Aungwattana S. Situation of health literacy among the working people in YangNeeng Subdistrict, Saraphi District, Chiang Mai Province. Journal of Health and NursingResearch 2021 Aug.13; 37(2):170-81. (in Thai)

Samutprakarn Provincial Public Health Office. Annual report 2019 [Internet]. 2019 [cited 2021 Feb 18] Available from: https://drive.google.com/drive/folders/14Ah6X-bTJAa40oNR8t9aGAA- GCHn_jk0a (in Thai)

Akoglu H. User’s guide to correlation coefficients. Turk J Emerg Med. 2018; 18 (3):91-93. DOI: 10.1016/j.tjem.2018.08.001

Suka M, Odajima T, Okamoto M, et al. Relationship between health literacy, health infor mation access, health behavior, and health status in Japanese people. Patient Educ Couns. 2015; 98(5):660-668. DOI:10.1016/j.pec.2015.02.013

Norasing M. Health literacy and health behavior in patients with uncontrolled blood sugar level or blood pressure: A case study of Nakornping Hospital, Chang Mai. Journal of Nakornping Hospital 2019 Apr.9; 10(1):35-50. (in Thai)

Chumpathat N, Kangchai W, Rattanajarana S.Factors related to preventive behaviors regarding coronary artery disease among elderly with metabolic syndrome. HCU Journal of Health Science 2018 Dec.21; 22(43-44):114-29. (in Thai)

Paibulsiri P. Health literacy and health behaviors 3E 2S of public sector executives, Phra Nakhon Si Ayutthaya province. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand 2018 Jun.1; 8(1):97-107. (in Thai)

Koson N, Ubonkan P, Limvijitwong C, Sirikaew N. The working-age group’s health literacy and health behavior 3E 2S for health management village: A case study of Baan Wanghin, Thungyai District, Nakhon Si Thammarat Province [Internet]. 2019 [cited 2021 Feb 19] Available from: http://ird.skru.ac.th/RMS/file/AYDFH.pdf (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-01