ประสบการณ์อุบัติเหตุ และพฤติกรรมความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน กับรถพยาบาล : การวิจัยเชิงคุณภาพ

ผู้แต่ง

  • รัตติยากร ถือวัน สาขาการส่งเสริมสุขภาพและสุขศึกษา ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สมคิด ปราบภัย สาขาการส่งเสริมสุขภาพและสุขศึกษา ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ประสบการณ์อุบัติเหตุ, พฤติกรรมความปลอดภัย, ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

บทนำ: อุบัติเหตุทางถนนเป็นสาเหตุการบาดเจ็บ ทุพพลภาพและเสียชีวิต ส่งผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตอย่างมหาศาล นำไปสู่ปัญหาสำคัญของประเทศต่างๆ ทั่วโลก วัตถุประสงค์การวิจัย: การวิจัยนี้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์อุบัติเหตุ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผลกระทบจากอุบัติเหตุ และพฤติกรรมความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินกับรถพยาบาล ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยนี้ครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ใช้ระเบียบการวิจัยปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological method) เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 40 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินกับรถพยาบาล เคยประสบอุบัติเหตุในขณะปฏิบัติงานทั้งจากอุบัติเหตุจากรถพยาบาลถูกชนและชนคันอื่น ชนฟุตบาท เสียหลักลงข้างทาง ตกสะพาน และอุบัติเหตุจากอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เข็มทิ่มตำ ผลกระทบจากอุบัติเหตุส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับบาดเจ็บ (เช่น แขนขาฟกช้ำ ฟันแตก เจ็บหน้าอก อวัยวะบางส่วนถูกตัดจนพิการ และบางรายเสียชีวิต) ปัจจัยเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เกิดจากการขาดพฤติกรรมความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉินเป็นสำคัญ โดยพนักงานขับรถพยาบาลมีสภาพร่างกายอ่อนเพลีย ขับรถด้วยความเร็วมากกว่า 80 กม./ชม. และฝ่าสัญญาณจราจร ส่วนบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่นั่งในที่เหมาะสม มีการทำหัตถการขณะรถพยาบาลเคลื่อนที่ และไม่เก็บอุปกรณ์ด้านการแพทย์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ส่วนปัจจัยด้านพาหนะที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมความไม่ปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน เช่น ภายในห้องพยาบาลมีเข็มขัดนิรภัยไม่ครบทุกที่นั่ง นอกจากนี้ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น บริเวณทางแยก ทางหลวงชนบท ถนน 2 เลนสวนทางกันและไม่มีไฟส่องสว่างข้างทาง ถนนเขตชุมชนเมืองที่สภาพการจราจรติดขัด เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินจำเป็นต้องเพิ่มพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้มากขึ้นสรุปผล จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติการฉุกเฉินในรถพยาบาล ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านด้านพาหนะและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยปัจจัยด้านบุคคล เช่น การขาดพฤติกรรมความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉินเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดอุบัติเหตุของรถพยาบาล ข้อเสนอแนะ การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุรถพยาบาล ควรมุ่งเน้นข้อเสนอแนะเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน เช่น ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินกับรถพยาบาลควรปฏิบัติตามกฎหมาย/มาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัด อบรมหลักสูตรการขับรถพยาบาลและหลักสูตรอื่นๆ ที่จำเป็น ศึกษา ติดตาม ประเมินผลและถอดบทเรียนกรณีอุบัติเหตุที่เกิดและฝึกซ้อมแผนรองรับการเกิดอุบัติเหตุเป็นระยะ

References

1. National Institute for Emergency Medical. Emergency Medical Act B.E.2551 [Internet]. 2020 [cited 2020 May 30]. Available from : https://www.niems.go.th/1/upload/ migrate/file/255601101636362435_c2ps85DUy7tpW0yp.pdf

2. National Institute for Emergency Medical. National Emergency Medical Master Plan 2019-2021 [Internet]. 2020 [cited 2020 May 30]. Available from : https://www.niems.go.th/1/upload/migrate/file/256112221455115037_GWJdMn5ejp3gVAdc.pdf

3. World Health Organization. Global status report on road safety 2015. Geneva: World Health Organization; 2015.

4. Ministry of Transport. Road accident situations [Internet]. 2019 [cited 2019 May 1]. Available from: http://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/PDF/2561-07/25610726-analyze.pdf.

5. National Institute for Emergency Medicine. Strengthen the system Annual Report 2018. Nonthaburee: National Institute for Emergency Medicine; 2019. (in Thai).

6. Bangkok Emergency Medical Service Center. Annual Report 2017 [Internet]. 2019 [cited 2019 August 18]. Available from: http://www.bangkokems.bangkok.go.th/ wpcontent/uploads/2020/03/Annual-report.pdf

7. Sethasathien A, Sirisamutr T, Wachiradilok P, Dairoob S, Nimma S. Situation and Causes of Ambulance Crash in Thailand. Journal of Health Systems Research 2015;9(3):279-93. (in Thai).

8. LoBiondo-Wood G, Haber J. Nursing Research: Methods and critical appraisal for evidence-based practice. Mosby Elsevier 2020;5:93-105.

9. Sutheewasinnon P and Pasunon P. Sampling Strategies for Qualitative Research. Parichart Journal of Thaksin University 2016;29(2):31-48. (in Thai).

10. Patcharatanasan N, Ekburanawat W, Kanoungkid R, Punyaratabandhu M. Health hazards and traffic accidents during the operations of emergency vehicle drivers. Disease Control Journal 2016;42(4):304-14. (in Thai).

11. Hsiao H, Chang J, Simeonov P. Preventing emergency vehicle crashes: status and challenges of human factors issues. Human factors 2018;60(7):1048-72.

12. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Ambulance crash-related injuries among Emergency Medical Services workers - United States, 1991-2002. Morbidity and mortality weekly report 2003;52(8):154.

13. Koski A, Sumanen H. The risk factors Finnish paramedics recognize when performing emergency response driving. Accident Analysis & Prevention 2019;125:40-8.

14. Losunthorn P. Epidemiology. Bangkok: Chulalongkorn University; 2010. (in Thai).

15. Khampor K. The Study of the Relationship between Personal Health Care Behaviors and Quality of Working Life of Ambulance Drivers in Maha Sarakham province. Mahasarakham Hospital Journal 2019;16(1):44-52. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-09