ความพึงพอใจของผู้ใช้ผู้สำเร็จการศึกษา ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิของเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ ของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อุ่นใจ เครือสถิตย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • อัจฉรา กิตติวงศ์วิสุทธิ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ผู้ใช้ผู้สำเร็จการศึกษา, กรอบมาตรฐานอาชีวศึกษา, เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์, หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

บทคัดย่อ

บทนำ: ความพึงพอใจของผู้ใช้ผู้สำเร็จการศึกษาเป็นข้อมูลที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ปีการศึกษา 2561 โดย ใช้กรอบแนวคิดการประเมินผลหลักสูตร และสมรรถนะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติศึกษา ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษานี้ เป็นเชิงสำรวจ ผู้สำเร็จการศึกษามาจากทุกวิทยาลัย ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ประชากรคือ ผู้ใช้ผู้สำเร็จการศึกษา ในหน่วยแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บังคับบัญชาเบื้องต้นของผู้สำเร็จการศึกษา โรงพยาบาล ๆ ละ 1 คน ที่เป็นผู้ประเมินผู้สำเร็จการศึกษาที่มาปฏิบัติงาน อย่างน้อย 6 เดือน แบบสอบถาม เป็นมาตรวัด 5 ระดับ ผ่านการตรวจสอบหาดัชนีความสอดคล้อง IOC จากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.93 รวบรวมข้อมูลโดยใช้ไปรษณีย์ อัตราการตอบกลับ ร้อยละ 76.92 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย จำนวน ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย: พบว่า พยาบาลรวม 50 คน มีประสบการณ์ทำงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินเฉลี่ย 15.26 ปี โดยพบว่าความพึงพอใจของผู้ใช้ผู้สำเร็จการศึกษาภาพรวม อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน (Mean= 3.68, SD.=0.61) เรียงลำดับค่าเฉลี่ย คะแนน ดังนี้ สมรรถนะทั่วไป (Mean = 4.13, SD.=0.73) ทักษะชีวิต (Mean = 3.96, SD.=0.79) สมรรถนะวิชาชีพ (Mean= 3.66,SD.=0.67) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ (Mean = 3.65, SD.=0.71) การบรรลุจุดประสงค์ตามหลักสูตร (Mean = 3.51, SD.=0.66) และสมรรถนะหลัก (Mean= 3.50, SD.=0.58) ตามลำดับ สรุปผล: ผู้ใช้ผู้สำเร็จการศึกษามีความพึงพอใจต่อผู้สำเร็จการศึกษา ตามสมรรถนะและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ ของหลักสูตร ในระดับมากทุกด้าน ข้อเสนอแนะ: สถาบันที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรนี้ควรปรับการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นการพัฒนา สมรรถนะหลัก และพัฒนาผู้สอน เพื่อให้สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้พัฒนาสมรรถนะหลัก ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ผู้สำเร็จการศึกษา

References

1. The AEMT developed curriculum committee of PBRI. Diploma of science program in Emergency Medical Operation curriculum: 2016 edition. PBRI; 2016. p. 1-67. (in Thai).

2. Office of the higher Education Commission: OHEC. Work manual of internal education quality assurance for high education. 2015. (in Thai).

3. Fan Y, Li Q, yang S, Guo Y, yang l, Zhao S. Developing tools for identifying employer and employee satisfaction of nursing new graduates in China. The Scientific World Journal 2014;2014:1-7.

4. Kijpreedaborisut B, Serikajornkitchareon P. Research method in Public Health: Case study on relationship among variables. Faculty of Public Health, Burapha University; 2017. (in Thai).

5. Sangsanguan W, Wanakul T. The stakeholders satisfaction and expectations toward bachelor degree of nursing, Eastern Asia University in academic year 2015. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2018; 19 (May-Aug):213-21. (in Thai).

6. Harnyut O, Ratanathaworn R. Quality and identity of graduated nurse of school of nursing, Eastern Asia University in academic year 2010. EAU Heritage Journal 2013;7(2):99-107. (in Thai).

7. Dhabhimsri V, Kemkhan P, Vanich W, Huengwattanakul P. The desired characteristics of graduate for Thailand qualifications framework and identities of graduates in bachelor of nuesing science program from Boromarajonani college of nursing, Bangkok as Perspectived by supervisors. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok 2019;35(1):252-63. (in Thai).

8. Sa-nguansaj S, Surin-arbhorn M, Tangwongkit T, Jadpum J, Kerdmuang S. Satisfaction of the quality and identity of graduated nurses, Boromarajonani college of nursing, Chainat in academic year 2015. Chandrakasem Rajabhat University of Graduate School 2019;14(2):81-90. (in Thai).

9. Karbmanee N, Khornyang W, Kitkuandee B, Auichareon S. Satisfaction of the employers toward competencies for graduate nurse, Boromarajonani College of Nursing, Udonthani 2017;4(1):366-75. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-09