ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนและการมีเพศสัมพันธ์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ
  • เทพไทย โชติชัย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การป้องกันการตั้งครรภ์, การมีเพศสัมพันธ์, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

บทนำ: สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยเรียนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในการป้องกันปัญหาดังกล่าวแนวทางหนึ่งที่มีความสำคัญคือความรอบรู้ด้านสุขภาพ วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดขอนแก่น ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 235 คน สุ่มตัวอย่างโดยการแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหา มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นในภาพรวม เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป นำเสนอด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด สถิติ Pearson correlation coefficient และ Spearman rank correlation coefficient ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.6 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนอยู่ในระดับต่ำ รองลงมาร้อยละ 41.7 อยู่ในระดับปานกลาง และร้อยละ 4.7 อยู่ในระดับสูง ตามลำดับ เคยมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 17.9 มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุ 16 ปี ร้อยละ 38.1 โดยอายุที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกต่ำสุดคือ 12 ปี คู่นอนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกส่วนใหญ่เป็นแฟน ร้อยละ 73.8 โดยมีการป้องกัน ร้อยละ 88.1 ในการมีเพศสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าเคยติดโรคทางเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 7.1 และผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน พบว่า ความสะดวกใจในการสื่อสารเรื่องเพศกับบิดามารดา และ/หรือผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rxy= 0.513, p-value= 0.003) ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rxy= 0.451, p-value= 0.007) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rxy= 0.421, p-value= 0.008) สรุปผล: ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนมีความสำคัญในการเพิ่มความเชี่ยวชาญทางสุขภาพให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การเข้าถึงข้อมูลและการบริการ และการรู้เท่าทันสื่อ ข้อเสนอแนะ: ควรส่งเสริมวัยรุ่นที่อยู่ในวัยเรียนให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ควรเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อการคุมกำเนิดควบคู่กับการส่งเสริมทักษะการสื่อสารระหว่างบิดามารดา และ/หรือผู้ปกครองและวัยรุ่นเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ

References

1. Bureau of Reproductive Health, Ministry of Public Health. Adolescent pregnancy policy, guidelines and evaluation. Nonthaburi: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand, Limited. 2019. (in Thai).

2. Chiengta P, Tumchea S, Maneechot M, Lorhhana S, Pumprayool P, Yingrengreung S. Effects of a Sexual Health Promotion Program on Pregnancy Prevention of Teenage in Saraburi Municipal. Journal of Boromrajanani College of Nursing, Bangkok. 2018;34(2):101-11. (in Thai).

3. Nutbeam D. The evolving concept of health Literacy. Socl Sci & Med 2018; 67(2): 2072-78.

4. Health Education Division, Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. Assessment and Enhancement of Health Literacy; 2018. [cited 2019 Sep 20] Available from: http://www.hed.go.th/vdoEvents/index. (in Thai).

5. Pupunhong W, Wuttisin K, Traitip T. Factors Related to Sexual Behavior of Teenagers in Amphoe Meuang Kalasin Province. Prae-wa Kalasin Journal of Kalasin University. 2016; 3(2): 54-72. (in Thai).

6. Sripol, R. Factors Related to Sexual Behavior among Youth in Loei Province. Journal of the Office of DPC 7 Khonkaen 2019; 23(2): 101-11. (in Thai).

7. Ngomsangad, Y, Srisuriyawet, R, Homsin, P. Factors Influencing Health Literacy Related Pregnancy Prevention among Female Adolescent Students in Si Sa Ket Province. The Public Health Journal of Burapha University 2019;14(2):37-51. (in Thai).

8. Kaewviengdach, C, Hirunwatthanakul, P. Factors Associated with Sexual Risk Behaviors Among Secondary School Students in Nakhom Phanom Province. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2016; 17(3):163-77. (in Thai).

9. Thiammok, M, Saranrittichai, K. The Developmental Guidelines to Prevent Adolescent Sexual Risk Behaviors in Community. Journal of Boromarajanani College of Nursing, Bangkok. 2017; 33(3): 38-46. (in Thai).

10. Green LW, Kreuter MV, Deeds S, Partridge K. Health education planning: a diagnostion approach. California. 1980, Mayfield.

11. Chirawatkul, A. Statistics in research; appropriate selection. Bangkok: Witthayaphat; 2014. (in Thai).

12. Intarakamhang, U, Khumthong, T. Measurement development of health literacy and unwanted pregnancy prevention behavior for Thai female adolescents. Journal of Public Health Nursing 2017;31(3):82-91. (in Thai).

13. Senate committee. Documents for the preparation of the National Health Reform Plan Health literacy issues; 2016. [cited 2018 Sep 22] Available from: http://dohhl.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=57.

14. Maturachon, T. A Situation analysis of sexual risk behavior, sexual health protection and assessing sexual health service system of young adult. Community Nursing Program, Faculty of Nursing, Suranaree University of Technology. 2018. (in Thai).

15. Edwards M., Wood F. Davies M. & Edwards A. Distributed health literacy: Longitudinal qualitative analysis of the roles of health literacy mediators and social networks of people living with a long term health condition. Health Expect 2015; 8(5):1180-93.

16. Wagner C.V., Steptoe A., Wolf M.S., & Wardle J. (2009). Health Literacy and health actions A review and framework from health psychology. Health Educ & Behav 2009;36(5):860-77.

17. Srimuang S, Powwattana A, Lagampan S. The Effects of health literacy promotion program on teenage pregnancy prevention among early adolescent girls in school under Bangkok Metropolitan Administration. Journal of Health and Nursing Research 2019;35(3):74-85. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-09