ผลของโปรแกรมพัฒนาความสามารถอาสาสมัครสาธารณสุขต่อทักษะในการฟื้นฟูสภาวะ ทางกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนเขตเมืองกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • รสยา ยุวพรพาณิชย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วีณา เที่ยงธรรม ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อาภาพร เผ่าวัฒนา ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ทักษะในการฟื้นฟู, อาสาสมัครสาธารณสุข, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่เป็นสาเหตุของความพิการและเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลกในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ซึ่งในกรุงเทพมหานครพบว่ามีอุบัติการณ์เกิดโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นทุกปี และส่งผลให้เป็นผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงต้องการการดูแล ฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง นอกจากญาติแล้วอาสาสมัครสาธารณสุขยังเป็นกำลังสำคัญในการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเหล่านี้ วัตถุประสงค์การวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองนี้เป็นแบบสองกลุ่มวัดก่อน และหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความสามารถอาสาสมัครสาธารณสุขต่อทักษะในการฟื้นฟูสภาวะทางกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนเขตเมืองกรุงเทพมหานคร ระเบียบวิธีวิจัย: กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีอายุ 30-70 ปี โดยกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยวิธีการเลือกศูนย์บริการสาธารณสุขแบบเฉพาะเจาะจง 2 แห่งที่มีบริบทที่คล้ายคลึงกันในกลุ่มกรุงธนเหนือ เขตธนบุรี และแบบสุ่มง่ายในแต่ละแห่ง ได้กลุ่มละ 30 คน ระยะเวลาศึกษาทั้งสิ้น 4 สัปดาห์ แบ่งเป็นระยะทดลอง 2 สัปดาห์ และระยะติดตามผล 2 สัปดาห์ เครื่องมือประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมพัฒนาความสามารถอาสาสมัครสาธารณสุขในด้านทักษะการฟื้นฟูสภาวะทางกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi-square, Repeated Measure ANOVA และ Independent t-test ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่าก่อนการทดลองทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องทักษะการฟื้นฟูสภาวะทางกายโรคหลอดเลือดสมอง แต่ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการฟื้นฟูสภาวะทางกายโรคหลอดเลือดสมอง ในด้านการป้องกันแผลกดทับ การป้องกันการหกล้ม การเคลื่อนไหว เคลื่อนย้ายและพลิกตะแคงตัว การป้องกันข้อยึดติด การฝึกการทรงตัวและการส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผล: ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า โปรแกรมพัฒนาความสามารถอาสาสมัครสาธารณสุขต่อทักษะในการฟื้นฟูสภาวะทางกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สามารถทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขสามารถฟื้นฟูสภาวะทางกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ดี ข้อเสนอแนะ: สามารถนำผลการวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการอบรมด้านทักษะการฟื้นฟูสภาวะทางกายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของอสส.กรุงเทพมหานครเพื่อพัฒนาคุณภาพระบบบริการทางสุขภาพอย่างมีศักยภาพเป็นระบบและต่อเนื่องในระยะยาว

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. World Stroke Organization. Up again after stroke 2018; Retrieved from http://www.worldstrokecampaign.org/International Journal of Stroke: WSO; 2018.
2. Sungsawang S, Rungnak N. Nursing of Stroke Patients: Strategies for Patient-centered care. Journal of Nursing 2016;34(3):10-8. (in Thai).

3. Division of Public Health Nursing, Bureau of Health, Bangkok. BMA Home Ward Report Referral Center. Bangkok: Division; 2561. (in Thai).

4. Bureau of Policy and Strategy, Ministry of Public Health. Public Health Statistics A.D. 2015. Nonthaburi; 2015. (in Thai).

5. Institute of Neurology, Department of Medical Services, Ministry of Public Health. Rehabilitation guidelines for disease patients. Clinical Practice Guidelines for Stroke Rehabilitation, 3rd edition. Bangkok: Thana Press; 2016. (in Thai).

6. Sirindhorn Institute for National Rehabilitation of Medicine Ministry of Public Health. Guide for patients and families Rehabilitation after hemiplegia from a stroke. Nonthaburi: Department; 2561.(in Thai).

7. Health Promotion Division, Bureau of Health, Bangkok Public Health Volunteer Handbook. Bangkok: Division; 2014. (in Thai).

8. Techartwat P, Thirawutwong N. The effectiveness of the volunteer training program Village health in caring for stroke patients in the community by learning management using Context-based. Journal of Nursing and Health Care. 2014;32(1):87-96. (in Thai).

9. Bandura A. Self-efficacy the exercise of control. W.H. Freeman and company; 1997.

10. Cherdsuntia V, Phichayapinyo P, Laamphun S. Skills Development for Family Volunteers in Taking Care of People Dependency. Master of Nursing Thesis (Community Practice Nursing). Graduate School, Mahidol University; 2019. (in Thai).

11. Cohen, J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. NY: Lawrence Erlbaum Associates;1998.

12. Pitthayapong S, Tiangtam W, Powwattana A, Leelacharas S, Waters CMA. Community Based Program for Family Caregivers for Post Stroke Survivors in Thailand. Asian Nurs Res. 2017;11:150-7.

13. Suwintrakorn J, Kampakorn S, Rawiworrakul T. The Effect of Self-efficacy Enhancement Program for Health Volunteers on Stroke Surveillance and prevention. Thai Journal of Nursing 2019; 68(1):39-48. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-09