การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ในเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ชยพล ศิรินิยมชัย คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่
  • พิมผกา ปัญโญใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชุมชน, การเสริมสร้างสุขภาวะ, ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน

บทคัดย่อ

บทนำ ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านเป็นผู้ที่มีปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวันและปัญหาด้านสุขภาวะ ซึ่งควรได้รับการดูแลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านที่สร้างความมีคุณค่าในตนเองและและดำรงชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรี วัตถุประสงค์การวิจัย การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์สุขภาวะของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน 2) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านที่พัฒนาขึ้น ระเบียบวิธีวิจัย กลุ่มตัวอย่างแบ่งตามระยะดำเนินการวิจัย 2 ระยะ โดย ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์สุขภาวะของผู้สูงอายุติดบ้านและการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุติดบ้านในเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านจำนวน 181 คนสำหรับตอบแบบสอบถามสุขภาวะผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 21 คนประกอบด้วย ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน 7 คน ผู้ดูแล 7 คน และเครือข่ายในชุมชน 7 คน เพื่อสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 2 แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และขั้นตอนที่ 2 ประเมินผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 47 คนประกอบผู้สูงอายุติดบ้าน 21 คน ผู้ดูแล 15 คน และเครือข่ายในชุมชน 11 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก แนวคำถามในการสัมภาษณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านในเทศบาลตำบลหนองป่าครั่งมีปัญหาและความต้องการการดูแลสุขภาวะทางกาย จิตใจ สังคม ปัญญา และการมีส่วนร่วมชองชุมชนไม่มีความต่อเนื่อง 2) รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ประกอบด้วย 1. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ 2. กิจกรรมการนันทนาการ และ 3. กิจกรรมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและผู้ดูแลให้ความเห็นว่ารูปแบบกิจกรรมสามารถสนองตอบต่อสุขภาวะทั้งทางกาย ใจ สังคม และปัญญาได้ และเครือข่ายในชุมชนมีความคิดเห็นว่ารูปแบบกิจกรรมมีความเหมาะสมและมีความพร้อมต่อการดำเนินงานตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การดำเนินงานของเครือข่ายในชุมชนที่เข้มแข็งจนเกิดการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป สรุปผล ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านจะมีภาวะสุขภาพทางกาย จิต สังคมและความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวันที่มีปัญหาเฉพาะ รวมถึงมีปัญหาการเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน การพัฒนารูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมโดยใช้ชุมชนมีส่วนร่วมจะช่วยสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป ข้อเสนอแนะ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางให้องค์กรส่วนท้องถิ่นและทีมสุขภาพจัดทำกิจกรรมในการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และขยายไปยังผู้สูงอายุกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป

References

1. Department of Older Persons. Statistics of the elderly in Thailand from 77 provinces, data at 31st of December 2018 [Internet]. 2017 [cited 2021 Jan 31]. Available from: http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/335

2. Committee on System Reform for Access to the Elderly Society of Thailand. System reform report for the aging society [Internet]. 2015 [cited 2021 Jan 31]. Available from: https://www.parliament. go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/parcy/057.pdf

3. National Heath Security Office. Handbook of long-term care systems in public health for Elderly people with long term dependence in the National Health Security System financial year 2016. Bangkok: National Heath Security Office; 2018. (in Thai).

4. National Heath Security Office. A Guide to Supporting the Management of the Long-Term Care System for the Dependent Elderly In the national health insurance system. Bangkok: National Heath Security Office; 2018. (in Thai).

5. Sriphuwong W, Sriphuwong C, Thiabrithi S. Long term care model development for the dependency elderly in Thakhonyang Sub-district, Kantharawichai District, Mahasarakham Province. Academic Journal of Community Public Health 2020;6(2):13-28. (in Thai).

6. Nongpakrang Subdistrict Municipality. Nongpakrang Subdistrict Municipality Journal: Annual report 2018. Chiang Mai; 2018. (in Thai).

7. Department of Older Persons, Ministry of Social Development and Human Security. Measures to drive the national agenda on aging society (revised version). 2nd ed. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited; 2019. (in Thai).

8. Rojanadhamkul N, Klommek J, Sriratanaprapat J. Social Activities Participation of Elder Persons in Muak Lek Subdistrict, Muak Lek District, Saraburi Province. Journal of Health and Nursing Research 2020; 36(1):15-25. (in Thai).

9. Pankong O, khrabiad S, Amphawa K, Sangsee P. Effectiveness of care in older adults with chronic illness by community participation. Journal of Health and Nursing Research 2020;36(3):94-104. (in Thai).

10. Chumdaeng s, Sukcharoen P, Polruk J. Wellbeing and wellbeing promotion pattern of older adults in Suratthani province, Thailand: mixed methods research. Thai Journal of Public Health 2020;50(3): 323-37. (in Thai).

11. Cohen JM, Uphoff N. Participation's place in rural development: seeking clarity throughspecificity. World development. 1980; 8:213-35.

12. Milincharoonpong N, Srisuphanun M, Chanthamolee S, Suwan P. Development of a health care model for home bound elder by community participation in Ubon Ratchathani, Thailand. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2018;19 Supplement:173-84. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-09