ทางเลือกใหม่ในการวางแผนการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน : โมเดล MATCH
คำสำคัญ:
การวางแผนการส่งเสริมสุขภาพ, ชุมชน, โมเดล Matchบทคัดย่อ
บทนำ: แบบจำลองการวางแผนการส่งเสริมสุขภาพเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่ได้รับการออกแบบไว้อย่างมีระบบและสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิดทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์และหลักฐานเชิงประจักษ์ของข้อมูล เพื่อการนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
วัตถุประสงค์: เพื่อนำเสนอแนวคิดและการประยุกต์ใช้โมเดล MATCH ในการวางแผนการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน
ประเด็นสำคัญ: การวางแผนการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนตามโมเดล MATCH เป็นหลักการวางแผนและออกแบบโปรแกรม ตามหลักนิเวศวิทยาในการส่งเสริมสุขภาพโดยพิจารณาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของพฤติกรรมทุกระดับ ประกอบด้วย ระดับบุคคล ระดับระหว่างบุคคล ระดับองค์กร ระดับชุมชน และระดับสังคม โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการ 5 ระยะ ดังนี้ 1) ระยะเลือกเป้าหมายพฤติกรรมและภาวะสุขภาพ 2) ระยะการวางแผนโปรแกรมการพัฒนา 3) ระยะการพัฒนาโปรแกรม 4) ระยะการวางแผนนำโปรแกรมการพัฒนาไปใช้ และ 5) ระยะประเมินผล เมื่อดำเนินการทั้ง 5 ระยะ ผลที่ได้คือแม่แบบที่พร้อมใช้ในการส่งเสริมสุขภาพตามพฤติกรรมที่ค้นพบ กลุ่มเป้าหมาย และบริบทที่แตกต่างกัน
สรุป: โมเดล MATCH เป็นแบบจำลองในการวางแผนและออกแบบโปรแกรมทางส่งเสริมสุขภาพที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่ภายใต้ปัญหา กลุ่มเป้าหมาย และบริบท เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโปรแกรมนั้นมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์และนำมาสู่การมีสุขภาพที่ดีต่อไป
ข้อเสนอแนะ: แนวทางที่นำเสนอสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดภายใต้กระบวนการวิจัยหรือนำไปประยุกต์ใช้ในชุมชนที่มีบริบทและปัญหาสุขภาพเช่นกัน
Downloads
References
World Health Organization. The Ottawa charter for health promotion [Internet]. [cited 2021 Oct 30]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/ottawa-charter-for-health-promotion
Kumar S, Preetha G. Health promotion: an effective tool for global health. Indian Journal Community Medicine 2012;37(1):5-12.
The Royal Society. Dictionary of communication arts: Royal Thai council. Bangkok, Office of the royal society. 2020. (in Thai)
Fernandez ME, Ruiter RAC, Markham CM, Kok G. Intervention mapping: theory- and evidence-based health promotion program planning: perspective and examples. Frontier of Public Health 2019;7:209.
Simons-Morton BG, McLeroy KR, Wendel ML. Behavior theory in health promotion practice and research. Burlington, MA: Jones & Bartlett Learning; 2012.
Dever GE. Improving outcomes in public health practice: strategy and methods. Gaithersburg, MD: Aspen; 1997.
McKenzie JF, Smeltzer JL. Planning, implementing, and evaluating health promotion programs: a primer. 3rd ed. Boston: Allyn & Bacon; 2001.
Kettner P, Moroney R, Martin L. Designing and managing programs: an effectiveness-based approach. Newbury Park, CA: Sage; 1990.
Bartholomew LK, Parcel GS, Kok G, Gottlieb NH. Intervention mapping: designing theory-based and evidence-based health promotion programs. Mountain View, CA: Mayfield Publishing; 2001.
Simons-Morton BG, Greene WH, Gottlieb NH. Introduction to health education and health promotion. 2nd ed. Waveland: Prospect Heights, IL; 1995.
Wurzbach ME. Community health education and promotion: a guide to program design and evaluation. 2nd ed. Gaithersburg, MD: Aspen; 2002.
Green L, Kreuter M. Health promotion planning: an educational and ecological approach. 3rd ed. Mountain View, CA: Mayfield Publishing; 1999.
Simons-Morton BG, Greene WH, Gottlieb NH. Introduction to health education and health promotion. Prospect Heights, IL: Waveland Press; 1995.
McLeroy KR, Bibeau D, Steckler A. Glanz K. An ecological perspective on health promotion programs. Health Education Quarterly 1988;15:351–377.
Simons-Morton, D G et al. Influencing personal and environmental conditions for community health: a multilevel intervention model. Family & community health 1988;11(2): 25-35.
Simons-Morton DG, Simons-Morton BG., Parcel GS, Bunker JF. Influencing personal and environmental conditions for community health: a multilevel intervention model. Family and Community Health 1988;11(2):25–35.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น