รูปแบบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนในระบบการศึกษาทางไกล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
คำสำคัญ:
รูปแบบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน, การศึกษาทางไกล, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชบทคัดย่อ
บทนำ: การพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต สำหรับเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน (จพ.) ด้วยระบบการศึกษาทางไกล เป็นอีกคำตอบที่สามารถสร้างพยาบาลวิชาชีพ ที่มีภูมิลำเนาเกิดในอยู่ในชุมชนและเข้าใจบริบทของชุมชนได้เป็นอย่างดี วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนในระบบการศึกษาทางไกล เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านการปฏิบัติการพยาบาลที่พึงประสงค์ ระเบียบวิธีวิจัย: ผู้วิจัยใช้ AUN-QA ระดับหลักสูตรเป็นกรอบแนวคิด ผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาลอนามัยชุมชนและระบบการศึกษาทางไกล จำนวน 6 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ตามแนวคำถามหลักที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ใช้เวลาสัมภาษณ์ 45-60 นาทีต่อครั้ง ผู้วิจัยถอดเทปแบบคำต่อคำ วิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้ Content analysis และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา ผลการวิจัย: พบว่า 1) ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับชุดวิชาอนามัยชุมชน ของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สำหรับเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ 3 ข้อ 2) รูปแบบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลในระบบการศึกษาทางไกลมี 3 รูปแบบ คือ (1) การฝึกปฏิบัติการพยาบาลประจำชุดวิชา (2) การฝึกปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะกรณี และ(3) การฝึกปฏิบัติการพยาบาลแบบเข้ม สรุปผล: รูปแบบการฝึกปฏิบัติทั้ง 3 รูปแบบ เป็นรูปแบบที่เหมาะสมต่อระบบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลในระบบการเรียนการสอนทางไกล เพราะผู้เรียนได้ฝึกทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติการพยาบาลชุดวิชาการพยาบาลชุมชนจากรูปแบบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลประจำชุดวิชา และได้ฝึกปฏิบัติการพยาบาลรายกรณีตามกิจกรรมและการพยาบาลที่กำหนดจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากรูปแบบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะกรณี และ ได้ฝึกปฏิบัติจนเกิดความรู้และทักษะทางการพยาบาลตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์ตามที่ชุดวิชาการพยาบาลชุมชนกำหนด โดยมีการประมวลความรู้และทักษะที่ได้รับจากการเรียนตลอดภาคการศึกษามาใช้ในการพยาบาลชุมชนและการตรวจรักษาโรคเบื้องต้นจากรูปแบบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลแบบเข้มข้อเสนอแนะ: รูปแบบต่าง ๆ ของการฝึกปฏิบัติการพยาบาลในระบบการศึกษาทางไกลทั้ง 3 รูปแบบ ต้องร่วมมือกับอาจารย์สอนเสริมปฏิบัติการพยาบาลและพยาบาลพี่เลี้ยงในการถ่ายทอดความรู้และความสามารถทางการพยาบาลสู่นักศึกษา จึงควรจัดระบบที่ทำให้ผู้ร่วมสอนและผู้เรียนเกิดความมั่นใจในการฝึกปฏิบัติ เช่น หลักสูตรอบรมและสัมมนาผู้ร่วมสอน เป็นต้น
Downloads
References
2. Nursing Council. Public health technical officer meets with the president of the nursing council on the experience-based credit transfer program bachelor of nursing for public health officers. 2018. [cited 2020 Oct 1]; Available from: https://www.tnmc.or.th/news/67.
3. ASEAN University Network (AUN). Guide to AUN-Qa assessment at programme level version 3.0. Bangkok; ASEAN Univsrsity Network: 2015.
4. Lowery B, Spector N. Regulatory implications and recommendations for distance education in prelicensure nursing programs. Journal of Nursing Regulation 2014;5(3): 24-33.
5. Belita E, Carter N, Bryant-Lukosius D. Stakeholder engagement in nursing curriculum development and renewal initiatives: A review of the literature. Quality Advancement in Nursing Education 2020;6(1): 1-17.
6. Government Gazette. Announcement of the Ministry of Education Re: announcement of bachelor's degree qualifications nursing science 2017 (2017, January 3rd) [Internet].2017 [cited 2020 May 10]; 135. ; Available from: http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/data6/ประกาศ-ศธ-NQF-2560-พยาบาลศาสตร์ ป-ตรี.PDF.
7. Dhabdhimsri V, Kemkhan P, Vanich W, Huengwattanakul P. The Desired Characteristics of Graduate for Thailand Qualifications Framework and Identities of Graduates in Bachelor of Nursing Science Program from Boromarajonani College of Nursing, Bangkok as Perceived by their Supervisors. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. 2019: 35(1):252-263. (in Thai).
8. Hanyut O, Ratanathavorn R. Quality and Identity of Graduated Nurses of School of Nursing, Eastern Asia University in Academic Year 2010. J EAU Heritage. 2013;7(2):99-107. (in Thai).
9. Phosri N, Kusoom W. Identity of Nursing Students Suan Sunandha Rajabhat University. Journal Research and Development Suan Sunandha Rajabhat University 2017;9(1):135-45. (in Thai).
10. Jantacumma N, Moolsart S, Iemsawasdikul W, Nuysri M, Pinchaleaw D. A follow-up study of graduates in the distance learning system of master of nursing science program in community health nurse pactitioner, academic year 2017. Journal of the Royal Thai Army Nurse 2020; 21(1):262-273. (in Thai).
11. Tithiphontumrong S. The integration of health promotion concepts in teaching and learning of community health nursing and heath promoting competencies of nursing students. Thai Red Cross Nursing Journal 2017; 9(2): 49-72. (in Thai).
12. Bvumbwe TH, Mtshali NG. Transforming nursing education to strengthen health system in Malawi: An exploratory study. The Open Nursing Journal 2018;12:93-105.
13. Plodpluang U. Competencies of Preceptor. Princess of Naradhiwas University Journal. 2016; 8(3):168-174.
14. Nantsupawat A, Sngounsiritham U. Mentoring System and Nursing Professional Development. Nursing Journal. 2019; 46(3): 232-8.
15. Natee K, Ratchanee T, Phunsee P, Luangwilai I. Clinical Teaching of Preceptors and Directions for Preceptorship Development, Faculty of Nursing, Huachiew Chalermprakiet University. HCU Journal. 2015;19(37):71-88.
16. Chuencham J, Kittiboonthawal P, Ubolyaem D. Effects of using interactive e-learning lessons in students’ health examination topic among nursing students’ learning achievement. Journal of Health and Nursing Research 2020; 36(2): 234-242. (In Thai).
17. Puengchompoo W, Panuthai S. Developing of the Learning and Teaching with E-Learning Model for Undergraduate Nursing Students in a Gerontological Nursing Course. Nursing Journal Volume. 2014;41 Supplement:11-25.
18. Duangchan C, Siritharungsri B, Soranasathaporn S, Pinyopasakul W. The Development of Nursing Handoff Communication Competency by Online Lesson for Nursing Students. Songklanagarind Journal of Nursing. 2019;39(2):98-112.
19. Raksatham S, Wattanachai P, Noothong J. The development of video lesson on oxygen therapy in children for nursing students at Boromarajonani college of nursing, Bangkok. Journal of Health and Nursing Research 2019;35(3):185-98. (in Thai).
20. Science Education Resource Center, Carleton College [Internet]. 2016. [cited 2020 Oct 10]; Available from: https://serc.carleton.edu/StemEdCenters/profiles/72131.html.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น