ผลการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานในการใช้สื่อการสอนมัลติมีเดีย เรื่องกลไก การคลอดสำหรับนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • สุภัสสรา โคมินทร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
  • วรัญญา แสงพิทักษ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
  • สุพางค์พรรณ พาดกลาง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

คำสำคัญ:

สื่อมัลติมีเดีย, กลไกการคลอด, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

บทนำ: การใช้สื่อแบบมัลติมีเดียในการจัดเรียนการสอน ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้เวลากับการเรียนได้มากเท่าที่ต้องการ ประกอบกับมีความตั้งใจ จุดมุ่งหมาย และแรงจูงใจที่สูงขึ้น จึงทำให้สามารถเรียนรู้ได้ดีและยาวนาน ดังนั้นครูผู้สอนจึงต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนโดยเพิ่มนวัตกรรมสื่อการสอนที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดความสนใจผู้เรียน วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานในการใช้สื่อมัลติมีเดียเรื่องกลไกการคลอด ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มที่ใช้วิธีการจับคู่โดยมีการประเมินก่อนและหลังการทดลอง มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 จำนวน 72 คน แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 36 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อมัลติมีเดียเรื่องกลไกการคลอด มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ .67 2) แบบประเมินความรู้เรื่องกลไกการคลอด จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .70 ซึ่งเก็บข้อมูลจำนวน 3 ครั้ง คือก่อนเรียน หลังเรียนโดยครูสอน และหลังเรียนในชั้นเรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียกลไกการคลอด 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อสื่อมัลติมีเดียเรื่องกลไกการคลอด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 เก็บข้อมูลเฉพาะกลุ่มที่ใช้สื่อกลไกการคลอดหลังสิ้นสุดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน และ 4) แบบประเมินการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 ซึ่งเก็บข้อมูลหลังเรียนโดยครูผู้สอน และหลังเรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดีย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภายในกลุ่ม แบบ pair t-test และระหว่างกลุ่มใช้แบบ Independent t-test และสถิติ Multi-way ANOVA ผลการวิจัย: พบว่า 1) ประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียเรื่องกลไกการคลอด (การประเมินผลกระบวนการ/การประเมินพฤติกรรมขั้นสุดท้าย; E1/E2) เท่ากับ 83.83/67.17 2) ความรู้ของผู้เรียนกลุ่มทดลอง (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5.12) และกลุ่มควบคุม (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5.43) ไม่แตกต่างกัน (p > .05) ในระยะก่อนเรียน และหลังเรียนในชั้นเรียนโดยครูสอนความรู้ของผู้เรียนกลุ่มทดลอง (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.83) และกลุ่มควบคุม (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.26) ไม่แตกต่างกัน (p > .05) ภายหลังการเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียผู้เรียนกลุ่มทดลอง (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.43) มีคะแนนความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุม (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.06) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.01) 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนกลุ่มทดลองต่อสื่อมัลติมีเดียเรื่องกลไกการคลอด อยู่ในระดับดีมาก (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53) 4) คะแนนการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองโดยใช้สื่อมัลติมีเดียของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .05) สรุปผล: การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานมีประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้เรื่องกลไกการคลอดของนักศึกษาพยาบาล ข้อเสนอแนะ: ควรมีการศึกษาความคงอยู่ของผลการเรียนรู้ ก่อนผู้เรียนขึ้นฝึกภาคปฏิบัติ และสังเกตพฤติกรรมหรือความสามารถขณะให้การพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล

References

Cheablam, B. 21st century learning [Internet]. 2016 [cited 18 May 2018]. Available from: http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail (in Thai)

Dejakup, P. & Yindeesuk, P. Management 21st centurylearning. Bangkok: Chulalong korn University; 2016. (in Thai)

Laohajaratsang, T. Design e-learning.: principle of designing and website creation for teaching. Bangkok: Urun Printing; 2006. (in Thai)

Suttipong, R. A new paradigm in education and development of Thailand teacher in the digital age. Journal of Education Naresuan University 2017;19(2), 344–355. [in Thai]

Mantiri, F. Multimedia and technology in learning. Universal Journal of Education Research 2014; 2(9): 589-592.

Knowles, Malcolm. S. Self – directed Learning: a guide for learners and teachers. New York: Association Press; 1975.

Teerawatskull S, Suttineam U, Buathongjun J. Effect of lecture on nursing care of person with neurological problem delivered by a teacher and online computer on knowledge, learning behaviors, and satisfaction of nursing students. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok 2017;33(3), 101-111. (in Thai)

Komindr S, Sangpitak W, Keanoppakun M, Srisomphan K. Development of multimedia on mechanisms of labour for nursing students. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2020;30(2): 136-149. (in Thai)

Lamchang S, Kiatwattanacharoen S. Effects of self-learning by using multimedia on knowledge and self-confidence in nursing practice for children with acute respiratory tract infection among nursing students. Nursing Journal 2014;41(2):107-116. (In Thai)

Thanomsieng N. Population and sampling sample size: random sampling, randomization of research and sample size [Internet] 2017 [cited 11 Jan 2019] Available from: https://home.kku.ac.th/nikom/population_AND_sample2560.pdf (in Thai)

Sinjindawong, S. Item analysis method. Sripatum Journal 2018; 4(1):21-33. (In Thai)

Vanichbuncha K, Vanichbuncha T. Using SPSS for Windows to analyze the data, 27th ed. Bangkok: Samlad; 2015. (In Thai)

Watthanawong S. Research and evaluation in adult education. Bangkok: Chulalong korn University; 2006. (in Thai)

Brahmawong, C. Developmental testing of media and instructional package. Silapakorn. Journal of Research Sciences 2013;5(1):7-20 (In Thai)

Boonyapom T, Jantarasiew B, Thongsai S. The comparative study of teaching with and without E-Learning on Maternal and Newborn Nursing and Midwifery II. Journal of Nursing Division 2015; 42(2): 36-46 (in Thai)

Booranarak S, Kunlaka S, Yeujaiyen M, Kansri J. Development of ‘self-learning package: basic knowledge of Mental Health and Psychiatric Nursing’ for nursing students. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2020; 94-108. (in Thai)

Raksatham S, Wattabachai, Noothong J. The development of video lesson on oxygen therapy in children for nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. Journal of Health and Nursing Research 2019;35(3):185-198. (in Thai)

Sethabouppha H, Skulphan S, Inthong S. Development of the integrated E-learning Course for undergraduate nursing students. Journal of Education Naresuan University 2016;18(3):1-11. (In Thai)

Kaveevivitchai C, Detprapon M, Kosittapiwat C, Ruenwongsa P, Panipan B. Development of a multimedia computer-assisted learning with integrated content of anatomy and physiology for enhancing nursing students’ skills on physical examination in adults: head and neck examination. Ramathibodi Nursing Journal 2013; 19(3):428-443. (In Thai)

Merriam SB, Caffarella RS, Baumgartner LM. Learning in adulthood: a

comprehensive guide. 3rd ed. San Francisco, CA: John Wiley & Sons, Inc; 2007.

Puengchompoo W, Panuthai S. Developing of the learning and teaching with E-Learning Model for undergraduate nursing students in a Gerontological Nursing Course. Nursing Journal 2014; 41(Supplement November): 11-25. (In Thai)

Knowles MS. The modern practice of adult education: andragogy versus pedagogy. New York: Association Press; 1970.

Chunggis, J. The development of instructional video on physical examination in Health Assessment Course based on Flipped Classroom concept. Pathum Thani province [Master’s thesis]. Pathum Thani: Raja Mangala University; 2016. (In Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09