ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของประชาชนอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19
คำสำคัญ:
โควิด-19, ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม, ภาวะสุขภาพจิตบทคัดย่อ
บทนำ: ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาการระบาดอย่างรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆทั่วโลก การปฏิบัติตามคำแนะนำด้านสาธารณสุขมีบทบาทที่สำคัญมากในการรับมือกับการระบาดใหญ่ของโรคนี้ และความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ เป็นปัจจัยที่สำคัญและมีผลต่อภาวะสุขภาพจิตของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กับภาวะสุขภาพจิต (ความวิตกกังวลและความกลัวเกี่ยวกับโรคติดเชื้อโควิด-19) จากการระบาดในประชาชนอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ในช่วงที่มีการระบาด ระเบียบวิจัย: การวิจัยเชิงพยากรณ์นี้เก็บข้อมูลโดยใช้กูเกิ้ลฟอร์มทางแอพพลิเคชั่นไลน์ โดยใช้แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 16 ข้อ แบบสอบถามที่ใช้ประเมินภาวะสุขภาพจิตประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามประเมินความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 5 ข้อและแบบสอบถามประเมินความกลัวเกี่ยวกับโรคติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 7 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย: มีกลุ่มตัวอย่าง 445 คน ส่วนใหญ่มีอายุ 30-49 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 46.10 และมีความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อโควิด-19 ในระดับมาก มีทัศนคติดี ร้อยละ 80.70 มีความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะเอาชนะโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ และร้อยละ 83.40 มั่นใจว่าในที่สุดแล้วโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะถูกควบคุมได้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 98.70 มีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ถูกต้อง นอกจากนี้ พบว่าคะแนนเฉลี่ยของภาวะสุขภาพจิตเท่ากับ 36.21 (SD=9.05) โดยคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลเท่ากับ 4.26 (SD=3.33) ส่วนคะแนนเฉลี่ยความกลัวเท่ากับ 8.42 (SD =3.43) และยังพบว่า ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r =0.08) และความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r=0.16) และทั้งระดับการศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสามารถร่วมกันทำนายภาวะสุขภาพจิตได้ร้อยละ 4.50 สรุปผล: ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างมีภาวะสุขภาพจิตดี ไม่มีความวิตกกังวลและความกลัวเกี่ยวกับโรคติดเชื้อโควิด-19 และระดับการศึกษา ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการปฏิบัติตัว มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิต ข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษามีประโยชน์กับวิชาชีพด้านสุขภาพ ในการบริการและการศึกษาด้านสุขภาพนั้นผลการวิจัยเหล่านี้มีประโยชน์ในการส่งเสริมความรู้ และก่อให้เกิดทัศนคติที่ดี และมีการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งผลที่สุดแล้วย่อมจะส่งผลดีต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพจิตของประชาชน
Downloads
References
Dong E, Du H, Gardner L. An interactive web-based dashboard to track COVID-19 in real time.The Lancet Infectious Diseases. 2020 May;20(5):533-4.
Department of Disease Control Ministry of Public Health. Coronavirus Disease 2019(COVID-19) [Internet]. 2020[cited 2021 Jan 5]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php
Zhang Y, Ma ZF. Impact of the COVID-19 Pandemic on Mental Health and Quality of Life among Local Residents in Liaoning Province, China: A Cross-Sectional Study. IJERPH. 2020 Mar 31;17(7):2381.
Harkness A, Behar-Zusman V, Safren SA. Understanding the Impact of COVID-19 on Latino
Sexual Minority Men in a US HIV Hot Spot. AIDS Behav. 2020 07;24(7):2017-23.
SuphanburiPublic Health Office. Covid 19 situation in Suphanburi[Internet]. 2020 [cited 2021 Jan 5]Available from: http://www.spo.moph.go.th/spo/
Su Y, Xue J, Liu X, Wu P, Chen J, Chen C, et al. Examining the Impact of COVID-19 Lockdown in Wuhan and Lombardy: A Psycholinguistic Analysis on Weibo and Twitter. IJERPH. 2020 Jun 24;17(12):4552.
Li S, Wang Y, Xue J, Zhao N, Zhu T. The Impact of COVID-19 Epidemic Declaration on Psychological Consequences: A Study on Active Weibo Users. IJERPH. 2020 Mar 19;17(6):2032.
Spielberger, C.D. Manual for the State-Trait Anxiety Inventory (STAI). Palo Alto, CA: Consulting Psychologists Press; 1983.
Faul F, Erdfelder E, Buchner A, Lang AG. Statistical power analyses using G*Power 3.1: tests for correlation and regression analyses. Behav Res Methods. 2009 Nov;41(4):1149-60.
Zhang M, Zhou M, Tang F, Wang Y, Nie H, Zhang L, et al. Knowledge, attitude, and practice regarding COVID-19 among healthcare workers in Henan, China. Journal of Hospital Infection. 2020 Jun; 105(2):183-7.
Zhong B, Luo W, Li H, Zhang Q, Liu X, Li W, et al. Knowledge, attitudes, and practices towards COVID-19 among Chinese residents during the rapid rise period of the COVID-19 outbreak: a quick online cross-sectional survey. Int J Biol Sci. 2020;16(10):1745-52.
Lee SA. Coronavirus Anxiety Scale: A brief mental health screener for COVID-19 related anxiety. Death Studies. 2020 Jul 2;44(7):393-401.
Ahorsu DK, Lin C, Imani V, Saffari M, Griffiths MD, Pakpour AH. The Fear of COVID-19 Scale: Development and Initial Validation. Int J Ment Health Addiction. 2020 Mar 27;1-9.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. Multivariate Data Analysis,
(7th Edition).Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall; 2010.
Azlan AA, Hamzah MR, Sern TJ, Ayub SH, Mohamad E. Public knowledge, attitudes and practices towards COVID-19: A cross-sectional study in Malaysia. PLoS ONE. 2020 May 21;15(5):e0233668.
Huang Y, Zhao N. Generalized anxiety disorder, depressive symptoms and sleep quality during COVID-19 outbreak in China: a web-based cross-sectional survey. Psychiatry Research. 2020 Jun;288:112954.
Fitzpatrick KM, Harris C, Drawve G. Fear of COVID-19 and the mental health consequences in America. Psychological Trauma: Theory, Research, Practice, and Policy. 2020 Aug;12(S1):S17-S21.
Liang L, Ren H, Cao R, Hu Y, Qin Z, Li C, et al. The Effect of COVID-19 on Youth Mental Health.Psychiatr Q. 2020 Sep;91(3):841-52.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์ซ้ำในวารสารฉบับอื่น