ผลของโปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดการปรับความคิดและพฤติกรรม ร่วมกับการฝึกสมาธิบำบัดต่อความเครียดในนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ที่เรียนวิชาการสร้างเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ผู้แต่ง

  • อันธิฌา สายบุญศรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ศิริพร นันทเสนีย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • อริยา ดีประเสริฐ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

ความเครียด, การบำบัดตามแนวคิดการปรับความคิดและพฤติกรรม , สมาธิบำบัด SKT 1

บทคัดย่อ

 บทนำ: การจัดการความเครียดที่เหมาะสมของนักศึกษาพยาบาล จะช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถปรับตัวกับการเรียนรู้และการใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดการปรับความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกสมาธิบำบัดต่อความเครียดในนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3

ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 42 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการสร้างเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ 1) โปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดการปรับความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกสมาธิบำบัด 6 สัปดาห์  2) แบบประเมินความเครียดของโรงพยาบาลสวนปรุง (SPST-20) เก็บรวบรวมข้อมูล 20 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความเครียดของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติ paired sample t-test

ผลการวิจัย: คะแนนความเครียดของกลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกสมาธิบำบัด ก่อนเข้ารับโปรแกรมฯ มีค่าเฉลี่ย 57.06±13.36 หลังสิ้นสุดโปรแกรมฯทันที มีค่าเฉลี่ย 53.44±12.80 และหลังสิ้นสุดโปรแกรมฯ เดือนที่ 3 มีค่าเฉลี่ย 40.60±11.45 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความเครียดของกลุ่มตัวอย่างทางสถิติ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดหลังเข้ารับโปรแกรมฯ เดือนที่ 3 ต่ำกว่าก่อนเข้ารับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05)

สรุปผล: โปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกสมาธิบำบัด ช่วยลดความเครียดของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3  ที่เรียนวิชาการสร้างเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชได้

ข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกสมาธิบำบัด เป็นวิธีหนึ่งที่เหมาะสมในการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล และสามารถนำไปปรับใช้ในรายวิชาอื่น ๆ ได้

References

Folkman S, Lazarus R. Stress, appraisal, and coping. New York: Springer Publishing Company;1984.

Phraibueng D. Stress and Coping in Older Adults with Diabetes: Case Study. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok 2020;36(2):286-98. (in Thai).

Tantalanukul S, Wongsawat P. Stress and stress management in nursing students. Uttaradit Journal 2017; 9(1): 81-92. (in Thai).

Saetan C, Kampun S. Stress and coping strategies of nursing students in clinical practice preparation of maternal and child health nursing and midwifery. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok 2014;30(3):54-63. (in Thai).

Sattayatham C, Chansuk P, Chareonsuk S. Psychiatric nursing and mental health. Bangkok: Academic Welfare Program Royal Institute of Thailand; 2013. p. 121-33. (in Thai).

Sitthimongkol Y, Kaesornsamut P, Vongsirimas N. Psychiatric nursing (2nd edition). In: Pornchaikate A, editors. Bangkok: Scanart Publishing; 2016. p. 4-6. (in Thai).

Wichairam N, Sirikanchanatas V. Nursing students’ stress condition. Chalermkarnchana Journal 2017;4(2):107-16. (in Thai).

Khanthakhuarn N. Stress and related-factors of the first year undergraduate students of Chulalongkorn University [Master of Science Program in Mental Health Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2015. (in Thai).

Beck AT. Cognitive Therapy: Basics and beyond. New York: Guilford; 1995.

Rakmaneewong Y, Pansuwan K, Danyuthasilpe C, Pothimas N. Effects of group cognitive behavioral therapy program combining with breathing meditation on nursing students’anxiety. Phitsanulok: Naresuan University; 2011. (in Thai).

Kritsanaprakornkit T, Hrongbutsri S, Krissanarakornkit P. Meditation therapy in psychiatric

and mental health. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2009. p. 132-133. (in Thai).

Triamchaisri SK. Meditation for health. Bangkok: Punyachon Publishing; 2011. p.56-69. (in Thai).

Tanupabrungsun S, Lertsakornsiri M. The Effects of Meditation Practice Approaches by Integrating Satipatthana 4 and SKT1 on Mental Ability, Self-awareness and Academic Achievement of Nursing Students. Songklanagarind Journal of Nursing, Songkla 2016;36(4):13-8. (in Thai).

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970;30(3):607-10.

Thapinta D, Kulachai S, Skulphan S, Srimongkontaratorn G, Boonyasiwapong S, Sukjit P. The effect of cognitive behavior therapy multi-channel program for declining depression. The Journal of Psychiatric nursing and mental health 2013;27(3) 1-15. (in Thai).

Mahutnirankul S, Phumpisan W, Tapanya P. Research report on the construction of Suanprung stress test. Chiang Mai: Suanprung hospital; 1997. (in Thai).

Tanupabrungsun S, Lertsakornsiri M. The Effects of Meditation Practice Approaches by Integrating Satipatthana 4 and SKT 1 on Mental Ability, Self-awareness and Academic Achievement of Nursing Students. Songklanagarind Journal of Nursing, Songkhla 2016;36(4): 13-28. (in Thai).

Thiammok M, Apisitwasana N. Effectiveness of World Café Instructional Model on Learning Achievement and Happiness in Learning of Nursing Students. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok 2020;36(2): 243-54. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-01