ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการใช้ ถุงยางอนามัยของนักศึกษาชาย ในสถานศึกษาแห่งหนึ่ง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • กันยา มหาหงษ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • สมฤทัย มีใจซื่อ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • สุภาพร บุญศิริลักษณ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ปัญจรัตน์ ไล้สุวรรณชาติ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ธานินทร์ สุธีประเสริฐ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, นักศึกษาชาย, พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัย

บทคัดย่อ

บทนำ: การพัฒนาทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยในวัยรุ่นมีความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์ วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการใช้ถุงยางอนามัยและพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของนักศึกษาชายในสถานศึกษาแห่งหนึ่ง จังหวัดสุพรรณบุรี ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชายที่มีอายุ 18-23 ปี ในสถานศึกษาแห่งหนึ่ง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ จำนวน 260 คน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 ด้วยวิธีการตอบแบบสอบถามรูปแบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติไคสแควร์ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย: นักศึกษาชายส่วนใหญ่มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 75.39 เมื่อจำแนกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็น 6 ด้าน พบว่า 1) มีความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพในระดับสูง ร้อยละ 57.31 2) การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพในระดับสูง ร้อยละ 80.77 3) การรู้เท่าทันสื่อในระดับสูง ร้อยละ 82.69 4) การจัดการตนเองในระดับสูง ร้อยละ 90.77 5) ทักษะการสื่อสารในระดับสูง ร้อยละ 86.54 และ 6) ทักษะการตัดสินใจในระดับสูง ร้อยละ 77.69 โดยในด้านพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของนักศึกษาชายส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 93.85 ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของนักศึกษา พบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพทั้ง 6 ด้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (x^2=38.72, p-value .001) สรุปผล: การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่านักศึกษาชายส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการใช้ถุงยางอนามัยภาพรวมอยู่ในระดับสูง และมีความสัมพันธ์กับการมีพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้: การดำเนินการติดตามโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพในวัยรุ่นไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง จะสามารถป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

Manochanphen N. The World Health Organization warns that sexually transmitted diseases spread rapidly. Meet 1 million new patients a day [Internet]. 2019 [cited 2020 January 27]. Available from: https://thestandard.co/alarmed-std-era-dating-apps/ (in Thai).

Thai Health Promotion Foundation Office. The situation of the sexually transmitted diseases (STDs) [Internet]. 2018 [cited 2020 Feb 27]. Available from: https://resourcecenter.thaihealth.or.th/thaihealthwatch/ (in Thai).

DʼAnna LH, Korosteleva O, Warner L, Douglas J, Paul S, Metcalf C, et al. Factors associated with condom use problems during vaginal sex with main and non-main partners. Sex Transm Dis 2012;39(9):687-93.

Suphanburi Public Health Office. Annual report 2019 for HIV/AIDs prevention and alleviation in Suphanburi province; 2019 (in Thai).

Ministry of Public Health. National condom strategy 2020–2030 under Thailand national strategy to end AIDS 2017–2030 [Internet]. 2020 [cited 2020 Oct 25]. Available from:

http://e-lib.ddc.moph.go.th/pdf/material_872/material_872.pdf (in Thai).

Ekakoon T. Research methodology in behavioral sciences and social sciences. 1st ed. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani Rajabhat University; 2009 (in Thai).

Tumchueo S. Sexual behaviors and factors correlation with the intention of protection. Nursing Journal of Ministry of Public Health 2015;25(1):97-109. (in Thai).

Tachavijitjaru Ch. Health Literacy: A key Indicator towards Good Health Behavior and Health Outcomes. JORDAN 2018;19 (Supplement):1-11. (in Thai)

Saechee Ph, Thato R. Factors Predicting Condom Use Behavior of Myanmar Male Workers in Industrial Factories, the Upper Southern Region of Thailand. PNUJ 2018;9(2):26-37. (in Thai).

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement 1970;30:607-10

Buapan C, Rutchanagul P, Buaboon N. Factors predicting condom use behavior among men who have sex with men in Bangkok. JHNR 2018;34(2):62-73. (in Thai).

Pariwatcharakul P. Trace the brain Look at the gambling effects [Internet]. 2018 [cited 2020 Oct 20]. Available from: www.thainhf.org/icgp

Laisuwannachart P, Auemaneekul N, Powwattana A. Factors predicting HIV preventive behaviors among male youths who have sex with men in Bangkok. JHNR 2020;36(2):177-189. (in Thai).

Tipwareerom W, Jalayondeja CH, Hanrungcharotorn U. Predicting factors of condom use among high school boys. JHNR 2020;36(3): 69-79. (in Thai).

Muksing W, Tohyusoh N, Punriddum J. Factors related to health care behavior among school children in Nakhon Si Thammarat municipality. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2017;3(3): 65-76. (in Thai).

Auevittayasuporn K, Pomuantip A. Teenage knowledge about and attitudes towards sexual risk behavior in Muang district, Nakhon Ratchasima province. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima 2012;17(2): 1-12. (in Thai).

Sookrak N, Srisuriyawate R, Homsin P. Predicting factors of consistent condom use among men who have sex with men (MSM) undergraduate students in higher education institutions Chonburi province. Journal of Public Health Nursing 2018;32(3): 83-100. (in Thai).

Srisuriyawet R, Homsin P. Relationship between sexual communication and condom use behavior among young Thai men who have sex with men (MSM) in Chonburi province. JNSCH 2017;29(2): 62-77. (in Thai).

Suwannaphant K, Khottarin S, Kansin S, Vonok L. Homsin P. Health literacy factors associated with risk behaviours in HIV infection among high school male students, Bueng Kan province. Journal of The Office of ODPC7 Khon Kaen 2019;26(2): 71-82. (in Thai).

Vongxay V, Albers F, Thongmixay S, Thongsombath M, Broerse JEW, Sychareun V, et al. Sexual and reproductive health literacy of school adolescents in Lao PDR [Internet]. 2019 [cited 2020 Jul 21]. Available from: https://doi.org/10.1371/journal.pone.0209675

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-26