ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในครอบครัวชุมชนเมือง

ผู้แต่ง

  • สุสารี ประคินกิจ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • นฐมน บุญล้อม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • ลัญชนา พิมพ์พันธ์ชัยยบูลย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • นฤมล อังศิริศักดิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • ศุภารัญ ผาสุข คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • รสยา ยุวพรพาณิชย์ ศูนย์บริการสาธารณสุข 36 บุคคโล

คำสำคัญ:

ความเครียด, การเผชิญความเครียด , ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          บทนำ: โรคจิตเภทเป็นโรคจิตเวชเรื้อรังที่พบมากในชุมชน ส่งผลกระทบต่อครอบครัวโดยเฉพาะผู้ดูแลต้องเผชิญกับอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยตลอดเวลาทำให้เกิดความเครียด

          วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในครอบครัวชุมชนเมือง

          ระเบียบวิธีวิจัย: งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรยามาเน (Yamane)  ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยคำนวณจากประชากร 120 คน ได้จำนวน 93 ราย เก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและผู้ดูแล การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อารมณ์ ความคิดของผู้ป่วย แบบวัดความเครียด และการเผชิญความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติบรรยาย และหาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านผู้ป่วย การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อารมณ์ ความคิดของผู้ป่วย และปัจจัยด้านผู้ดูแล กับความเครียดและการเผชิญความเครียด ด้วยสหสัมพันธ์เพียร์สัน

          ผลการวิจัย: ความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 59.6) ผู้ดูแลมีการเผชิญปัญหากับความเครียด ด้วยวิธีการจัดการกับปัญหาแบบทางอ้อมเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 62.8) ปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ความเครียดของผู้ดูแล และการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลแบบการจัดการกับปัญหาแบบทางอ้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05  ส่วนปัจจัยด้านผู้ดูแลไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียดแต่ อายุ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเผชิญหน้ากับปัญหาและการจัดการกับปัญหาแบบทางอ้อมของผู้ดูแล

          สรุปผล: ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมของผู้ป่วยจิตเภทสัมพันธ์ทางบวกกับความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแล

          ข้อเสนอแนะ: การดูแลสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมทักษะการเผชิญกับความเครียดที่เหมาะสมเป็นรายบุคคล และให้การสนับสนุนช่วยเหลือที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ดูแล       

Downloads

Download data is not yet available.

References

Kwansanit P. and Srisurapanont M. The parameters for calculating the burden of schizophrenia in Thailand. Journal of Mental Health of Thailand. 2018; 26(1):50-62. (In Thai)

Damruk P. and Thongprapai P. Medication adherence in home patients with schizophrenia: a care scheme developed in community in Yala province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2019;6: 29-42. (In Thai)

Juntapim S., Nuntaboot K. Care of schizophrenia patients by the community. Journal of Nursing and Health Care. 2018; 36(2): 68-76. (in Thai)

Samuthrsindh P., Wilakarat J., Chomchern R., Kittipongpisan S. The development of functional ability assessment tool for chronic schizophrenia. Journal of Mental Health. 2017; 24:189-201. (In Thai)

Parnichsan L., Uthis P. The effects of family intervention program on family functions of schizophrenic patients in community. The Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health. 2018; 32: 90-103. (In Thai)

Sanprakhon P., Chusri O., Wongwiseskul S. Effects of family caregiving support on caregiving burden among family caregivers of older person with dementia. Journal of Health and Nursing Research. 2020; 36(3): 45-56. (In Thai)

Namlao W., Nabkasorn C., Vatanasin D. Factors affecting burden among caregivers of patients with schizophrenia in Sakaeo Rajanagarindra psychiatric hospital. Journal of Phrapokklao Nursing College. 2018; 29:24-35. (In Thai)

Dhandapani M, Gupta S. Specific health effects of care-giving stress and its management. Indian Journal of Psychiatric Nursing. 2018; 15(2):53.

Kongnirundon S., Vatanasin D., and Nabkasorn C. Factors influencing burden among caregivers of patients with schizophrenia. The Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health. 2018; 32(3):118-32. (In Thai)

Limthongkul M., Aree S. Sources of stress, coping strategies, and outcomes among nursing students during their initial practice. Rama Nurs J. 2019; 15:193-205. (In Thai)

Smithnaraseth A. Coping and adaptation of family caregivers with Schizophrenia Patients. EAU Heritage Journal Science and Technology. 2017; 11(3):43-56. (In Thai)

Pearlin LI, Mullan JT, Semple SJ., Skaff MM. Caregiving and the stress process: An overview of concepts and their measures. Gerontologist. 1990; 25: 32-6.

Patsadu P. Family caregiver’s stress, coping, and management of behavioral and emotional problems following traumatic brain injury [graduate’s thesis]. Nakhonpathom: Mahidol University; 2013. (In Thai)

Mahatnirunkul S., Pumpaisanchai V., Tapunya P. Developmental Suanprung stress test. Changmai: Suanprung; 1997. (In Thai)

Sutayakorn N. Relationship between family coping behavior and confidence in dependent care of stroke patients [graduate’s thesis]. Nakhonpathom: Mahidol University; 1988. (In Thai)

Choksomngam Y., Jiraporncharoen W., Angkurawaranon C. Pinyopornpanish K. and Narkpongphun A. The prevalence and factors associated with stress in caregivers of children with Attention-Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD). Academic Psychiatry and Psychology Journal. 2019; 35(2): 121-32. (In Thai)

Inta J., Teaktong T. The effects of the stress therapy program for caregivers of patients with schizophrenia in community hospitals, Pathumthani. Academic Psychiatry and Psychology Journal. 2019; 15(1): 223-34. (In Thai)

Pothiban L., Khampolsiri T. Stress and stress-coping behaviour in caregivers of older adults having parkinson’s disease. Thai Journal of Nursing Council. 2019; 34(2) 62-75. (In Thai)

Akpan-Idiok PA, Ehiemere IO, Asuquo EF, Ukeunim Chabo JA, Osuchukwu EC. Assessment of burden and coping strategies among caregivers of cancer patients in sub-Saharan Africa. World J Clin Oncol. 2020; 11(12): 1045–63.

Yongpattanajit S., MonKong S. and Sutti N. Caregivers’ stress and coping with stress from caring for terminally Ill patients in a palliative care unit. ournal of Thailand Nursing and Midwifery Council. 2020; 35(2) 116-31. (In Thai)

เผยแพร่แล้ว

2022-04-01