การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • อนัญญา คูอาริยะกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • อลิษา ทรัพย์สังข์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • สืบตระกูล ตันตลานุกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • สิริวดี พรหมน้อย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • ฉลองรัตน์ มีศรี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าเซ่า

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การดูแลสุขภาพตนเอง, โรคความดันโลหิตสูง, โรคไตเรื้อรัง, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมและการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง การดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเฉพาะโรคไตเรื้อรังจึงมีความสำคัญ วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาสถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรัง โดยการระดมสมองจากผู้เกี่ยวข้องในชุมชน 3) ทดลองใช้รูปแบบ และ 4) ประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนและรับยาอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าเซ่า จำนวน 29 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง การรับรู้ของผู้ป่วยในการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังจากโรคความดันโลหิตสูง ค่าอัตราการกรองของไต (Estimated Glomerular filtration rate : eGFR) และค่าการทำงานของไต (Creatinine : Cr) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Paired t-test) ผลการวิจัย: รูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ 1) องค์ประกอบที่เป็นปัจจัยนำเข้า มี 4 ระดับคือ ระดับบุคคล ได้แก่ ตัวผู้ป่วย ระดับครอบครัว ได้แก่ ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย ระดับชุมชน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐในชุมชน: เทศบาล ผู้ใหญ่บ้าน และแกนนำชุมชน และระดับหน่วยบริการทางสุขภาพ ได้แก่ บุคลากรสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุข 2) องค์ประกอบที่เป็นกระบวนการ ประกอบด้วย การพัฒนาความรู้และทักษะการดูแลตนเอง การกระตุ้นเตือนความจำ การจัดระบบติดตามช่วยเหลือผู้ป่วยโดยการติดตามต่อเนื่องที่บ้าน การติดตามประเมินการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ และการจัดระบบการติดต่อประสานงาน 3) องค์ประกอบที่เป็นผลผลิต ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังจากโรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วย การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ค่าการทำงานของไตและระดับความพึงพอใจของผู้ป่วย และ 4) องค์ประกอบที่เป็นผลลัพธ์ ได้แก่ การเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงลดลง ผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และการรับรู้ของผู้ป่วยในการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังจากโรคความดันโลหิตสูง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, .01 และ .05 ตามลำดับ ค่าอัตราการกรองของไต (eGFR) เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และค่าการทำงานของไต (Creatinine) ลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อรูปแบบในระดับมากที่สุด สรุปผล: รูปแบบที่พัฒนาขึ้นช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรู้ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และการรับรู้ในการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังจากโรคความดันโลหิตสูง รวมถึงค่าอัตราการกรองของไตและค่าการทำงานของไตดีขึ้น ข้อเสนอแนะ: หน่วยงานด้านสุขภาพควรนำรูปแบบนี้ไปใช้ เพื่อช่วยป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยก่อนการนำไปใช้ต้องมีการประสานความร่วมมือและสร้างความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องในชุมชนทุกคน เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในการดูแลผู้ป่วย

Downloads

Download data is not yet available.

References

DeWit SC, Stromberg H, Dallred C. Medical-surgical nursing: Concepts & practice. Elsevier Health Sciences; 2017.

Urden LD, Stacy KM, Lough ME. Critical Care Nursing: Diagnosis and Management. Elsevier Health Sciences; 2014.

Punmung N, Yulertlob A, Lathi S. World hypertension day campaign message 2019. [Internet]. 2019 [cited 2020 May 14]. Available from http://www.thaincd.com/document/hot%20news.

Ministry of Public Health. HDC Database Year 2017-2019. [Internet]. 2020 [cited 2020 June 2]. Available from https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source.

Bureau of non-communicable disease. 13 millions of Thai people had hypertension, nearly a half of those people not realize that had hypertension. [Internet]. 2015 [cited 2020 June 2]. Available from https://www.hfocus. org/content/2016/ 05/12191.

Srimoragot P. Medical-surgical nursing : Clinical Management for Positive Outcomes. 7th edition. Bangkok: Igroup Press; 2010. (in Thai).

Kooariyakul A, Meesri C. Knowledge and self - care behaviors of patients with hypertension at Tambon Pasao health promoting hospital, Amphur Mueang, Uttaradit Province. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal 2017;9(2):28-40. (in Thai).

Sindhu S, Wongrot P. Case management for clients with Diabetes Mellitus and Hypertension. Bangkok: Watthana Printing House; 2015. (in Thai).

Apinya T. Practice guideline for action to reduce chronic kidney disease (CKD) among diabetes and hypertension patients. Bangkok: Printing office War Veterans Organization; 2016. (in Thai).

Deepae P, Khungtumneam K, Chumpathat N. Factors related to health promoting behaviors for cardiovascular disease prevention among diabetes with hypertension patients in Muang District, Chachoengsao Province. Journal of Health and Nursing Research 2019;35(5):46-9. (in Thai).

Palitnonkert A , Sriarun J, Chadlee N, Jantong T, Janpurm A, Chaisunan C, Pumpothong S, et al. Health belief model related to self-care behavior of patients with hypertension at Bangsamak sub-district health promoting hospital, Bangpakong district, Chachoengsao province. APHEIT Journals 2018;7(2):43-2. (in Thai).

Unaphak P, Rattanamanee K. The correlation factors of self-care behaviors to prevent complications among patients with chronic kidney disease at Somdetphraphutthalertla hospital in Samutsongkhram province. The Public Health Journal of Burapha University 2015;10(2):44-4. (in Thai).

Uttaradit Provincial Public Health Office. HDC Database Year 2017-2019: Uttaradit. [Internet]. 2020 [cited 2020 June 2]. Available from https://hdcservice.moph.go.th/ hdc/reports/report.php?source.

Pa Sao Health Promoting Hospital. Annual Fiscal Year 2017-2020 performance report of Pa Sao Health Promoting Hospital, Uttaradit: Pa Sao health promoting hospital, Muang, Uttaradit Province 2020.

Rittakananon P. Human Development. Bangkok: Thammada Press; 2007. (in Thai).

Kamwicha P, Santayopas P, Srisaeng P, Kiriyangam K. Development of self-care behaviors for people with hypertension in soi joke community Bangsue district Bangkok metropolitan. Kuakarun Journal of Nursing 2014;21(2):83-96.

Prakeetavatin J, Moolsart S, Tipkanjanaraykha K. The development of care management for hypertension patients with chronic kidney disease in a community. Journal of Health and Nursing Research 2018;34(1):1-13. (in Thai).

Kummak S. Self-care behaviors among hypertension patients in Tambon Nanglao Health Promoting Hospital, Amphur Satingpha, Songkhla Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2016;3(3):153-69. (in Thai).

Terathongkum S, Prasatkaew N, Maneesriwongul W. Effects of a home visit and telephone follow-up program on health behaviors and health status in persons with uncontrolled hypertension. Rama Nurs J 2014;20(3):356-71. (in Thai).

Maleewan S, Chamusri S, Wongpiriyayothar A. Effects of home visit program on health beliefs, behaviors and blood pressure among patients with hypertension in community. Journal of Nursing and Health Care 2016;34(4):63-2. (in Thai).

Chopsiang L. Exercise for slow progression in patients with kidney disease. Nursing Public Health and Education Journal 2018;19(3):25-5. (in Thai).

Porramatikul M, Sriwattana A. Exercise in patients with chronic kidney disease. In Teeronthanakul K, Srisuwan K, Ophascharoensuk V, editors. Essentials in Hemodialysis. Bangkok: Text and Journal Publication Cmpany Limited; 2019. p. 184-05. (in Thai).

Kongtong N. The development of self-care to reduce chronic renal failure in patients with type 2 diabetes, Klangyai Tambon Health Promoting Hospital, Ban Phue District, Udon Thani Province [master thesis]. Maha Sarakham : Maha Sarakham University; 2014. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-29