การศึกษาการพัฒนาบุคลากรวิสัญญีพยาบาล ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • จิรพรรณ โพธิ์ทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
  • สุภาภรณ์ วรอรุณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
  • ขวัญฤทัย พันธุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
  • ประภา รัตนไชย รองประธานราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย
  • ลักษมี ทองโกมล บริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

พัฒนาบุคลากร, วิสัญญีพยาบาล, กระทรวงสาธารณสุข

บทคัดย่อ

     วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัญหาและความต้องการในการฝึกอบรมฟื้นฟูวิสัญญีพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง คือวิสัญญีพยาบาลในโรงพยาบาลแม่ข่าย (M2) สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน  ดำเนินการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 160 คน รวบรวมจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 6 คน ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง นำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

     ผลการวิจัยพบว่า วิสัญญีพยาบาลส่วนใหญ่มีความต้องการเข้ารับการอบรมด้านวิสัญญีพยาบาล ร้อยละ 93.10 และภายใน 3 ปี ที่ผ่านมาส่วนใหญ่เคยได้รับการอบรมด้านวิสัญญีพยาบาล ร้อยละ 81.90  มีความรู้และทักษะด้านวิสัญญีพยาบาลในระดับที่เหมาะสม ร้อยละ 94.60 และ 91.90 ตามลำดับ รูปแบบของการอบรมที่เป็นประโยชน์มากที่สุด ได้แก่ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ต้องการความรู้และทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพ ในเรื่องการพยาบาลระยะก่อนให้บริการทางวิสัญญีมากที่สุด  ร้อยละ 49.20  ความรู้และทักษะเฉพาะทางในเรื่องการดมยาในเด็ก มากที่สุด ร้อยละ 58.70 และ เทคโนโลยีสารสนเทศ ในเรื่อง R2R มากที่สุด ร้อยละ 59.90 ด้านโครงสร้าง กระบวนการและผลลัพธ์ในการพัฒนาวิสัญญีพยาบาล พบว่า วิสัยทัศน์ พันธกิจในการพัฒนาวิสัญญีพยาบาลมีความชัดเจน ในระดับมาก (Mean = 3.90, SD. = 0.93) ผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยของผู้รับบริการ ในระดับมากที่สุด (Mean= 4.24, SD. =0.67)  ปัญหาอุปสรรคการเข้ารับการอบรม ได้แก่ ขาดอัตรากำลังวิสัญญีทดแทน งบประมาณไม่เพียงพอ ระยะเวลานานเกินไป และสถานที่อบรมไกลจากสถานที่ปฏิบัติงาน   

      ข้อเสนอแนะ การพัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลากรวิสัญญีพยาบาลควรให้สอดคล้องกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เช่น การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ การจัดหลักสูตรในรูปแบบ MODULE เพื่อให้มีการเข้าถึงการพัฒนาด้วยตนเองได้มากขึ้น และการฝึกปฏิบัติด้วย Simulation based learning จะช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการคิดนอกเหนือจากด้านความรู้  

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. Cheunjaroensuk K, et al. Service plan act 2018- 2022. Bangkok. Agricultural Cooperative Federation of Thailand; 2017. (in Thai).

2. Kumpan S, Kumpan P. The perceived of practical in Advanced Practice Nurse (APN) competency in anesthesia of nursing anesthesiology. Journal of Nursing Division 2010; 37(2):109-26. (in Thai).

3. Thongkomol L. The meeting report consultation on the development of nursing anesthetists under the ministry of public health. report on August 31, 2017; Praboromarajchanok Institute; 2017. (in Thai).

4. Donabedian A. An Introduction to quality assurance in health care. Oxford: Oxford University Press; 2003.

5. Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale NJ: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.

6. Ministry of Education. The promotion of non-formal and Informal education act 2008. Bangkok: Office of the Promotion of Non-Formal and Non-Formal Education; 2008. (in Thai).

7. Dhabpol-on R. The study of the quality of nursing anesthetist work in sakon nakhon hospital according to perceptions of clients [Master of Nursing Thesis]. Chonburi: Burapha University; 2011. (in Thai).

8. Thongkomol L. The study of the development of a auota allocation model training in nursing anesthetists for fair distribution. Region 11 Medical Journal. 2016;30(3):217-24. (in Thai).

9. Marthis RL, Jackson JH. Human Resource Management. JONA. 2006;3(6):292-7.

10. Thongkao S, Kangsanan K. Quality of work life of professional nurses Rajavithi Hospital. Journal of Health and Nursing Research 2020;36(1):225-37. (in Thai).

11. Apidechakul P, Vichitvejpaisal P, Jirativanont T, Yokubol B, Suthon P, Udompandurak S. A comparison of learning process between problem-based and simulation-based method in difficult airway management workshop. Thai Journal Anesthesia 2019;45(3):111-16. (in Thai).

12. Saeyup P. Simulation enhancing anesthetists’ non-technical skills (ANTS) Teaching. Thai Journal Anesthesia 2019;45(1):39-44. (in Thai).

13. Aaron MO, Suzanne M, John OD. Development of a training program in peripherally inserted central catheter placement for certified registered nurse anesthetists using an n-of-1 method. AANA Journal 2019;87(1):11-8.

14. Shawn BC. Model for a reproducible curriculum infrastructure to provide international nurse anesthesia continuing education. AANA Journal. 2011;79(6):490-96.

15. Indrakamhang A. The influence of factors of adult learning. Personal background and environmental organizations on the performance of healthcare providers [dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2005. (in Thai).

16. Williamson SN. Development of a self-rating scale of self-directed learning. Nurse Researcher 2007;14:66-83.

17. Wadyim N, Wangchom S, Mano A. Teaching and learning management in nursing using electronic learning. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. 2017;33(3): 146-57.(in Thai).

18. Mukmayom W. A study of the development of professional nurses into nurses higher position, tertiary hospital [Master of Nursing Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2018. (in Thai).

19. Jessica P, John B, Louise AC. Impact of education on professional involvement for student registered nurse anesthetists’ political activism: does education play a role. AANA Journal 2019;87(2):138-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-28